แม้ว่าในชั้นอัยการสูงสุด “มีคำสั่งไม่ฟ้อง” ทำให้คดีถึงที่สุด และไม่สามารถสอบสวนจำเลยได้อีก แต่ก็มีข้อยกเว้นหากปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ สกู๊ปหน้า1 ไทยรัฐออนไลน์ บอสอยู่วิทยา
ล่าสุด คดีไม่ไปถึง “ศาล” สาเหตุเพราะ “อัยการสูงสุด” เซ็นคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาทุกคดี ทั้งยัง “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” ก็มีคำสั่งไม่โต้แย้งคำสั่งอัยการกันแบบเงียบๆ ทำให้ “ทายาทเครื่องดื่มชูกำลัง” ต้องหลุดพ้นความผิดอาญาทุกกระทง กลับคืนสู่สภาพ “ผู้บริสุทธิ์” ที่มีการขอถอนหมายจับ...
แต่ในระหว่างดำเนินคดีนี้ก็ไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหามาฟ้องคดีได้ทัน เพราะหลบหนีไปต่างประเทศ ทำให้บางข้อหาหมดอายุความลงไปคือ ข้อหาขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต คดีถูกปล่อยให้หมดอายุความตั้งแต่ 3 ก.ย.2556 และข้อหาขับรถประมาททำให้ทรัพย์สินเสียหาย ก็หมดอายุความเช่นกันดังนั้น ตำรวจจึงได้สรุปสำนวนคดีให้อัยการสั่งฟ้อง 2 ข้อหา คือ...ข้อหาไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือผู้ถูกชน มีอายุความ 5 ปี และสิ้นสุดหมดอายุความไปแล้วเมื่อวันที่ 3 ก.ย.
ตามลักษณะพฤติกรรมของการกระทำผิดที่กฎหมายกำหนดไว้ จากนั้นก็ส่งสำนวนคดี ความเห็นสั่งฟ้องคดี พร้อมพยานหลักฐาน ให้กับ “พนักงานอัยการ” ในการตรวจสำนวนและพยานหลักฐาน เพื่อใช้ดุลพินิจที่จะฟ้องผู้ต้องหาหรือไม่ก็ได้ เพราะพนักงานอัยการมีอิสระพิจารณาสั่งคดี และการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมก็มีอำนาจ มีความเห็นต่างจาก “พนักงานสอบสวน” ได้ เช่น ตำรวจมีความเห็นสั่งฟ้องคดี แต่พนักงานอัยการดูจากพยานหลักฐานแล้ว กลับมีความเห็นไม่ฟ้องคดีก็ได้...
ส่วนกรอบเวลาค้นหาพยานหลักฐาน กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้แน่ชัด แต่เป็นเรื่องระเบียบในองค์กรที่กำหนดกรอบเวลากันไว้เอง ยกเว้นเรื่อง ในกรณีนี้เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล ใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย ในฐานะเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง ย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ