เลือกตั้ง'66: เพื่อไทย ตั้งศูนย์ป้องกันทุจริต จับตากระบวนการ-จนท.รัฐ จี้กกต.แจงพิมพ์บัตรเกินจำเป็น กกต บัตรเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย ศูนย์ป้องกันทุจริต เลือกตั้ง66 อินโฟเควสท์
ในการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พ.ค.นี้ พรรคตระหนักดีว่าเป็นการเลือกตั้งที่ต้องเป็นสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนจึงได้ตั้งศูนย์ป้องกันการทุจริตเลือกตั้งขึ้น โดยมี 3 ภารกิจหลัก ได้แก่
1.ป้องกัน ปราบปราม ไม่ให้การเลือกตั้งส่อไปในทางทุจริต ให้ประโยชน์ แจกเงิน ซื้อเสียง ฝ่าฝืน กฎหมาย และระเบียบของ กกต.3.การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งฝ่ายปกครอง ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่อื่นๆ เป็นไปโดยถูกต้อง วางตนเป็นกลางหรือไม่ วางตนเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่ โดยเฉพาะเข้าข้างเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้อำนาจในขณะนี้
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรค และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง ส.ส. กล่าวว่า กระบวนการดำเนินการการเลือกตั้งที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ กกต.ต้องใช้ความระมัดระวัง ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องรอบคอบ แต่ที่ผ่านมาปรากฏว่ายังพบความบกพร่องผิดพลาดอยู่หลายประการ เช่น การส่งข้อมูลสำหรับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรเกิดความผิดพลาด การสลับรูปผู้สมัคร ส.ส.
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตุว่า มีการพิมพ์บัตรเลือกตั้งจำนวนที่สูงกว่าความเป็นจริงหรือไม่ เนื่องจากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในปี 2566 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ที่ 52,287,045 คน แต่จัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง 57 ล้านใบ และมีการพิมพ์เพิ่มสำรองอีก 5% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพิ่มอีก 2.6 ล้านใบ รวมพิมพ์บัตรเลือกตั้งเพิ่มเติมทั้งสิ้น 7.
“ขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อความบริสุทธิ์ยุติธรรม พรรคเพื่อไทยได้จับตาอยู่ทุกขั้นตอนของกระบวนการ ตั้งแต่การพิมพ์บัตร การลงคะแนน วันนี้พรรคเพื่อไทยอยากเห็นการเลือกตั้งที่มีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม เสียงที่พี่น้องประชาชนได้ลงคะแนนมา ต้องเป็นคะแนนที่เป็นการใช้สิทธิของพี่น้องประชาชน ไม่มีการเล่นแร่แปรธาตุ”
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เลือกตั้ง'66: รทสช.ย้ำ 'บัตรลุงตู่พลัส' ทำได้จริง-ช่วยตรงจุด หนุนเชียร์ 'ลุงตู่' อีกสมัยสานต่อภารกิจ : อินโฟเควสท์นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวว่า ผลงานที่ผ่านมาของรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ หลายอย่างกำลังจะสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงินให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมไร้เงินสด การสร้างรถไฟฟ้าทั่ว กทม. คมนาคมขนส่งทั่วประเทศ และความตั้งใจสานงานต่อที่ทำมาแล้ว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน สำหรับนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐพลัส หรือบัตรลุงตู่พลัส ที่ฝ่ายตรงข้ามมักจะวิจารณ์นั้น โครงการนี้รัฐบาลดำเนินการมาแล้วเป็นระยะเวลานาน ตรงไปยังกลุ่มเปราะบาง การเพิ่มวงเงินสิทธิประโยชน์ที่เป็นไปตามการสำรวจความต้องการของประชาชนกลุ่มนี้ แตกต่างจากนโยบายของบางพรรคที่ประกาศจะให้เงินทุกคน โดยใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในคราวเดียว นโยบายเช่นนี้ไม่มีใครมั่นใจว่าจะทำได้จริง แม้ย้ำแล้วย้ำอีกว่าสามารถดำเนินการได้ แต่หากดูตัวเลขงบประมาณในปี 2567 ซึ่งกำหนดกรอบไว้แล้วจะเหลืออยู่เพียง 2 แสนล้านบาท ไม่เพียงพอต่อการดำเนินนโยบายที่ต้องใช้เม็ดเงินถึงมากกว่า 5 แสนล้านบาทอย่างแน่นอน “ไม่ต้องให้นักเศรษฐศาสตร์ที่ไหนมาวิเคราะห์ แค่คนทั่วไปก็มองออกว่า โครงการที่ใช้เงินถึงมากกว่า 5 แสนล้านบาท ถ้าไม่กู้เงินไม่สามาถเกิดขึ้นได้จริง ก็อยากให้ประชาชนพิจารณาตัดสินใจเลือกพรรคที่นำเสนอนนโยบายที่จับต้องได้จริง และไม่กระทบวินัยการเงินการคลัง มากกว่าพรรคการเมืองที่ขายฝัน ที่สำคัญ ยังเป็นฝันที่อาจเข้ามาหาประโยชน์จากโครงการเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เพราะไม่ว่าจะดำเนินโครงการอะไร คนกลุ่มนี้ก็มีช่องทางหาประโชนน์ให้พวกพ้องได้ทุกครั้ง” นายเอกนัฏ กล่าว คำถามที่หลายคนออกมาวิจารณ์ว่าทำมาแล้ว 8 ปี อีก 2 […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: กกต.ชี้ หนังสือแจ้งเจ้าบ้านข้อมูลพรรค-เบอร์ไม่ครบ เป็นเฟคนิวส์ : อินโฟเควสท์นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีที่สังคมออนไลน์โพสต์เอกสารแจ้งเจ้าบ้านผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีข้อมูลเฉพาะบางพรรค และบางหมายเลขหายไปจากเล่มของเอกสารดังกล่าวว่า สำนักงาน กกต. ได้มีการตรวจสอบแล้ว ไม่พบว่ามีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น เบื้องต้นน่าจะเป็นเฟคนิวส์ และจะมีการตรวจสอบว่าผู้โพสต์ข้อความนั้นคือใคร มีเจตนาอย่างไร พร้อมกันนี้ ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดตรวจสอบเอกสารแจ้งเจ้าบ้านว่าครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์หรือไม่ เนื่องจากในขั้นตอนการจัดพิมพ์ อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ ซึ่ง กกต.ไม่อยากให้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นรายวัน อย่างไรก็ดี สำหรับเรื่องร้องเรียนทุจริตเลือกตั้ง มีข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 26 เม.ย.66 พบว่ามีเรื่องร้องเรียน 43 เรื่อง ส่วนมากเป็นการทำลายป้ายหาเสียง ลืมพกบัตรประชาชน เปิดแอป ThaiD แสดงตัวตนได้ เลขาธิการ กกต. ยังกล่าวถึงกรณีการใช้บัตรประชาชนแสดงตัวตนก่อนลงคะแนนเลือกตั้งว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ประชาสัมพันธ์กับประชาชนว่าหากไม่ได้นำบัตรประชาชนตัวจริงมาในวันเลือกตั้ง สามารถเปิดแอปพลิเคชั่น ThaiD ยืนยันตัวตนได้ ซึ่งแอปพลิเคชั่น ThaiD ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะแสดงตัวตนในวันเลือกตั้ง แต่ทั้งนี้ จะต้องเป็นการเปิดจากแอปฯ เท่านั้น ไม่สามารถใช้วิธีการแคปหน้าจอโทรศัพท์มาแสดงได้ ซึ่งในประเด็นนี้ กกต. […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: พปชร. ชูปุ๋ยคนละครึ่ง-กองทุนปุ๋ยประชารัฐ ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตกร : อินโฟเควสท์นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ โฆษกคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า จากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาปุ๋ยขยับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าปัจจุบัน ปัญหาราคาปุ๋ยแพงจะคลี่คลายลงบ้าง จากราคาวัตถุดิบในตลาดโลกที่เริ่มทยอยปรับลดลง แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกษตรกรเกิดความไม่มั่นใจ และเป็นห่วงว่าราคาปุ๋ยเคมีที่แพงและผันผวนมาก จะกระทบต่อต้นทุนการเพาะปลูก รวมถึงรายได้ของเกษตรกรอาจไม่เพียงพอต่อภาระค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ที่สำคัญ ปีนี้มีแนวโน้มว่า สถานการณ์ “ผลผลิตเกษตร” ของโลกลดลง จากปัญหา “ร้อน-แล้ง” และยังมีความ “ต้องการ” เพิ่มขึ้น ดังนั้นพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ให้ความสำคัญกับเกษตรกรทุกกลุ่ม มีนโยบายด้านการเกษตรออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อหวังแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ โดยรัฐบาลต้องเข้ามาช่วยดูแลให้เกษตรกรมีต้นทุนการเพาะปลูกที่ต่ำ อีกทั้งจำหน่ายผลผลิตเกษตรให้ได้ในราคาสูง พรรคพลังประชารัฐ จึงมีนโยบาย “ปุ๋ยคนละครึ่ง” ออกมาเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกร ทำให้สามารถซื้อปุ๋ยได้ในราคาถูก เนื่องจากรัฐบาลจะช่วยอุดหนุน 50% พร้อมกับจัดตั้งกองทุนปุ๋ยประชารัฐ เพื่อรักษาเสถียรภาพ ซึ่งจะครอบคลุมเกษตรกร จำนวน 8 ล้านครัวเรือน เพื่อลดต้นทุนการเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (28 เม.ย. 66) Facebook […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: พปชร.จี้ กกต.เร่งสอบปมเงินดิจิทัลผิดกฎหมายหรือไม่ : อินโฟเควสท์นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจกรรมและการปราศรัยหาเสียง กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ประกาศนโยบายแจกเงินดิจิทัลว่า ตอนนี้หลายฝ่ายได้ไปยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวแล้ว เนื่องจากมีประเด็นทางข้อกฎหมายอีกหลายข้อ ซึ่งสอดคล้องกับที่นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาระบุว่า เงินดิจิทัลภาคประชาชนยังอยู่ในช่วงทดลองศึกษา โดยไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบ ขณะที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายพรรค ให้ความเห็นว่า นโยบายนี้จะเข้าข่าย พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ.2501 ซึ่ง ธปท.เป็นองค์เดียวที่มีอำนาจในการออกเงินตราได้ นอกจากนี้เหรียญดิจิทัลจะออกแบบให้เป็นบล็อกเชน โดยมีการเก็บข้อมูลในการใช้จ่ายของผู้ใช้จำนวนมากถึง 54 ล้านคน โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อน จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล และถ้าเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นจริงจะเป็นอันตรายต่อประชาชน นายวิรัช กล่าวว่า กกต.ต้องเร่งรับเรื่องร้องเรียน เพราะเงินดิจิทัลที่พรรคเพื่อไทยจะแจกนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเข้าข่ายฝ่าฝืน พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ.2501 มาตรา 6 มาตรา 9 และมีโทษตามมาตรา 35 หรือไม่ โดย กกต.ต้องเร่งรับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวโดยด่วนและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป การประกาศนโยบายดังกล่าวควรคำนึงถึงความเป็นไปได้ในข้อกฎหมายด้วย เพราะเงินดิจิทัลจะถูกนำไปตีความไว้ใน พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ.2501 […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: กกต.ย้ำเลือกตั้งนอกปท.ยึดตามสถานทูตกำหนด ชี้แต่ละที่แนวทางต่างกัน : อินโฟเควสท์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ย้ำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรติดตามข้อมูลข่าวสาร รายละเอียด และวิธีการลงคะแนนเสียงนอกราชอาณาจักรในแต่ละประเทศที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งอย่างใกล้ชิด เนื่องจากแต่ละประเทศอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งแตกต่างกันไป เช่น บางประเทศเปิดให้ลงคะแนนผ่านทางไปรษณีย์ได้ทางเดียว หรือบางประเทศมีการเปิดคูหาที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ และสถานที่อื่นๆ ได้แก่ แคมป์คนงาน ดังนั้นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารว่าประเทศที่ตนพำนักอยู่นั้นเปิดให้ลงคะแนนเสียงด้วยวิธีใด นอกจากนี้ ในแต่ละประเทศยังกำหนดระยะเวลาการลงคะแนนเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรที่ตนพำนักอยู่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่เอกอัครราชทูตหรือกงสุลใหญ่กำหนด พร้อมทั้งตรวจรหัสเขตเลือกตั้ง 5 ตัวซึ่งไม่ใช่รหัสไปรษณีย์ให้ถูกต้องครบถ้วน โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้รับซอง 2 แบบ คือ 1.ซองใส่บัตรเลือกตั้ง หรือ ส.ส. 5/2 ซึ่งเป็นซองขนาดเล็ก สำหรับใส่บัตรเลือกตั้ง โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศได้จ่าหน้าซองให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องนำบัตรเลือกตั้งที่กากบาทลงคะแนนเลือกตั้งแล้วพับใส่ในซอง และซองดังกล่าวจะมีช่องให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเป็นผู้เซ็นชื่อกำกับตรงรอยปิดผนึกเพื่อยืนยันว่าผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ใส่บัตรเลือกตั้งทั้ง 2 แบบเรียบร้อยแล้ว 2.ซองใส่เอกสาร หรือ ส.ส. 5/21 (นร) ซึ่งเป็นซองขนาดใหญ่ สำหรับใส่ซองบัตรเลือกตั้งที่กากบาทลงคะแนนเลือกคั้งแล้ว และใส่สำเนาหลักฐานที่ใช้ประกอบการลงคะแนนเลือกตั้งที่ได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง เช่น สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น บรรจุในซองใส่เอกสาร พร้อมกับปิดผนึกลงลายมือชื่อกำกับตรงรอยต่อผนึกแล้วส่งคืนแก่เอกอัครราชทูตภายในเวลาที่กำหนด หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ได้ที่สถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ ของแต่ละประเทศที่ตนพำนักอยู่ต่อไป โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: เพื่อไทยลุยหาเสียงโค้งสุดท้ายภาคอีสาน 4 จังหวัด 7 เวที : อินโฟเควสท์นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย กล่าวว่า แกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) เตรียมลงพื้นที่ปราศรัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 29-30 เม.ย.66 ที่จังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ มหาสารคาม และบุรีรัมย์ นำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดทนายกรัฐมนตรี และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย, นายจาตุรนต์ ฉายแสง ผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ, นายสุทิน คลังแสง รองหัวหน้าพรรค และผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พร้อมด้วยผู้สมัคร ส.ส.ในแต่ละพื้นที่ โดยวันที่ 29 เม.ย.66 เริ่มเปิดเวทีแรกในเวลา 10.00 น.ที่อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ จากนั้นไปเปิดเวทีปราศรัยที่ 2 ในเวลา 13.00 น.ที่อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เวทีที่ 3 ในเวลา 15.00 น.ที่อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และช่วงเย็นที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในเวลา 17.00 น. รวม […]
อ่านเพิ่มเติม »