สมรภูมิการเลือกตั้งในโซเชียลมีความเข้มข้นมาตั้งการเลือกตั้งปี 62 จนมาถึงการเลือกตั้งปี 66 ที่ต้องยอมรับว่าช่องทางโซเชียลถูกใช้เป็นเครื่องมือ
ในการหาเสียงของทุกพรรค แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกใช้เป็นพื้นที่โจมตีคู่แข่งด้วยเช่นกัน ซึ่งการโจมตีทางโซเชียลเหล่านี้ถูกพัฒนาและวางแผนให้ซับซ้อนมากขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
จากการสำรวจพฤติกรรมเครือข่ายพรรคการเมือง 3 พรรคโดยไม่ระบุชื่อจริงของพรรค พบว่า กลุ่มบัญชีที่เกี่ยวข้องกับพรรค A และ พรรค C มักจะมีการโต้ตอบกันอย่างคึกคัก แต่พรรค B จะโต้ตอบกันเองภายในกลุ่มเท่านั้น และแยกตัวออกจากบัญชีของพรรค A และ C ตามรูปตัวอย่าง พรรค A : บัญชีที่น่าสงสัยของพรรค A มีพฤติกรรมที่ผิดจากการใช้งานทั่วไปของ Twitter คือ มีลักษณะเป็นบัญชีทีไม่พักผ่อนโดยมีการโพสต์, รีโพสต์และตอบกลับตลอดเวลา บางบัญชีโพสต์แบบไม่มีช่วงพักตลอด 24 ชั่วโมง มากกวา 300 โพสต์ เฉลี่ย 5 โพสต์ใน 1 นาที ซึ่งโดยทั่วไปถ้าเป็นบัญชีปกติต้องมีการนอนหรือพักบ้าง
พรรค B : มีเครือข่ายใน Twitter ที่น้อยกว่าอีก 2 พรรค และผู้ใช้ค่อนข้างกระจายตัวอาจเป็นไปได้ว่า ฐานเสียงของพรรค B ไม่ได้อยู่ใน Twitter โดยพฤติกรรมของบัญชีในช่วงการหาเสียงค่อนข้างมีความเฉื่อยช้า ซึ่งต่างจากพฤติกรรมปกติของคนใช้ Twitter รุ่นใหม่ที่ชอบการโต้ตอบไปมา
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
6 ข้อเสนอ 'นโยบายสิ่งแวดล้อม' จาก 'กรีนพีซ' ถึงผู้นำคนใหม่กรีนพีซ ประเทศไทย เผย 6 ข้อเสนอต่อพรรคการเมือง เลือกตั้ง 66 ในประเด็นสิ่งแวดล้อม ชี้ เรื่องเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการได้ทันที คือ การผลักดันเรื่องของกฎหมายฯ ค่าไฟเป็นธรรม และเดินหน้าเศรษฐกิจควบคู่สิ่งแวดล้อม กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: ส.ว.ประภาศรี ประกาศจุดยืนเห็นชอบ 'พิธา' เป็นนายกฯ : อินโฟเควสท์นางประภาศรี สุฉันทบุตร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ประกาศผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงจุดยืนที่เคารพมติของประชาชน และเห็นชอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้ ส.ส.เคารพเสียงข้างมากของประชาชน โดยเฉพาะ 64 ส.ว.ที่เคยโหวตเห็นชอบมาตรา 272 ปิดสวิตซ์ตัวเองว่า ขอยืนยันว่าตน และ ส.ว.เคารพเสียงข้างมาก พร้อมสนับสนุน แต่พรรคไหนก็ตามที่เสนอแก้ไขมาตรา 112 ตนไม่เห็นด้วย “ก่อนอื่น ต้องเข้าใจว่าเป็นคนละเรื่องกัน การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นคนละเรื่อง คนละเวลา และสถานการณ์กับกรณีมาตรา 272 อีกทั้งต้องไม่ชี้นำให้สังคมเข้าใจผิด ว่าส.ว.ไม่เคารพเสียงข้างมาก” นายเสรี กล่าว ส่วนหากพรรคก้าวไกล และพรรคร่วมรัฐบาล จะยอมถอยในเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 บางประเด็น พร้อมจะสนับสนุนหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า ต้องประกาศให้ชัดเจนว่าจะไม่แก้ไขเลย และจะไม่นำเรื่องเหล่านี้ มาเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ ต้องแถลงให้ชัดเจน ส่วนหากต้องการจะช่วยเหลือเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี ก็มีทางออกด้วยการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมได้ ไม่ใช่การแก้ไขกฎหมายแล้วไปเปิดพื้นที่ให้สามารถวิจารณ์ได้อิสระ อย่างนั้นไม่ถูกต้อง เพราะต้นตอที่เด็กกระทำความผิด […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: 'เพื่อไทย' ปล่อย 'ก้าวไกล' โชว์ฝีมือตั้งรัฐบาล ขอรอดูเงื่อนไขพรรคแกนนำ : อินโฟเควสท์นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการหารือเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลในช่วงเย็นวันนี้ว่า ประเด็นในข้อหารือ หรือกระบวนการวิธีการต่างๆ เราให้สิทธิและให้เกียรติกับพรรคก้าวไกลในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเป็นผู้กำหนด ฉะนั้นประเด็นที่จะพูดคุยกัน ทางพรรคก้าวไกลจะเป็นผู้กำหนดว่าเขาต้องการอะไร หรือลงลึกขนาดไหน เพราะถือว่าเป็นการประชุมอย่างเป็นทางการในระดับพรรคเป็นครั้งแรก โดยพรรคเพื่อไทยไม่มีเงื่อนไขใดๆ “ประเด็นข้อหารือ หรือเงื่อนไขต่างๆ เป็นหน้าที่หลักของพรรคแกนนำจัดตั้ง เราไม่มีเงื่อนไขเก็บไว้เพื่อต่อรอง เอาข้อเสนอที่พรรคแกนนำจัดทำเป็นตัวตั้ง ส่วนรายละเอียดที่เราจะรับได้หรือไม่นั้น เป็นรายละเอียดเชิงลึกที่ต้องพูดคุยกัน…ไม่มีเงื่อนไขใดๆ แม้เราจะเป็นเจ้าสาวสวยๆ แต่เราไม่เคยกำหนดว่าจะต้องเอาสินสอดทองหมั้น จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เราไม่เคยเสนอก่อน เราเพียงแค่บอกว่าคุณก็เสนอมาสิ เราจะดูว่าเหมาะสมกับเราหรือไม่เท่านั้นเอง” นพ.ชลน่าน กล่าว ส่วนกรณีที่สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นตัวแปรในการเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น นพ.ชลน่าน มองว่า เป็นความเห็นส่วนตัว จะไปเหมารวมว่าเป็น ส.ว.ทั้งหมดไม่ได้ เพราะความเห็นบุคคลก็หลากหลาย แต่สิ่งที่สำคัญและตนเห็นด้วยคือสิ่งที่นายพิธาแถลงว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นฉันทามติ และอาณัติจากประชาชนที่มอบหมายให้ฝ่ายประชาธิปไตยจำนวน 300 กว่าเสียง ซึ่งขณะนี้ 310 เสียงก็ถือว่าเป็นเสียงข้างมาก ฉะนั้นก็ควรเป็นไปตามหลักการ นั่นหมายความว่า ส.ว.เห็นควรจะต้องยอมรับเสียงข้างมากของประชาชน นพ.ชลน่าน กล่าวว่า หากพรรคก้าวไกลรวบรวมเสียงไม่ได้พรรคเพื่อไทยจะช่วยพรรคก้าวไกลในการเดินขอคะแนนเสียงหรือไม่ว่า หากเราตัดสินใจเข้าร่วมแล้วก็ต้องช่วยกัน ทำให้งานแต่งในครั้งนี้สัมฤทธิ์ผล ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยเจรจากับ ส.ว.หรือ […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง 66 : “บิ๊กตู่” บอก โหวตเลือกนายกฯ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 “บิ๊กตู่” บอก โหวตเลือกนายกฯ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ อ่านต่อ : ประยุทธ์ พิธา ก้าวไกล นายกรัฐมนตรี ไทยรัฐทีวี32
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: ปชป.โวยถูกปล่อยเฟคนิวส์โร่ขอเจรจาร่วมรัฐบาลก้าวไกล : อินโฟเควสท์นายอลงกรณ์ พลบุตร รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ออกมาปฏิเสธข่าวแกนนำพรรคเตรียมนำ ส.ส.ในสังกัดไปติดต่อเจรจากับพรรคก้าวไกล (ก.ก.) และพรรคเพื่อไทย (พท.) เพื่อขอเข้าร่วมรัฐบาลนั้นไม่เป็นความจริง “ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง ขอให้สื่อมวลชนตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนนำเสนอ โดยเฉพาะการอ้างแหล่งข่าวที่ไม่ระบุตัวตน เพราะอาจตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองดิสเครดิตพรรคประชาธิปัตย์โดยไม่รู้ตัว” นายอลงกรณ์ กล่าวหลังจากมีรายงานข่าวว่า ว่าที่ ส.ส.พรรค ปชป.ในกลุ่มของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการเลขาธิการพรรค พยายามติดต่อไปยังทั้งสองพรรคแกนนำเพื่อขอเข้าร่วมรัฐบาล นายอลงกรณ์ ยืนยันว่า แม้มีแนวคิดที่จะเสนอให้พรรคประชาธิปัตย์โหวตสนับสนุนหัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่มีเงื่อนไขนั้น เป็นเพียงการสนับสนุนหลักการเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรต้องได้เป็นรัฐบาล แต่พรรคประชาธิปัตย์พร้อมเป็นฝ่ายค้านเพื่อตรวจสอบรัฐบาลพรรคก้าวไกล และยังยืนยันจุดยืนของพรรคอีกครั้งว่าไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมวด 1 หมวด 2 และกฎหมายอาญา มาตรา 112 “ทันทีที่เห็นข่าวดังกล่าวได้สอบถามไปยังนายเฉลิมชัยแล้ว ได้รับการยืนยันว่าไม่เป็นความจริง” นายอลงกรณ์ กล่าว ด้านนายชัยชนะ เดชเดโช ว่าที่ ส.ส.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า กระแสข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง แต่เข้าใจว่าที่มีข่าวนี้ออกมาเพราะประชาชนอยากทราบถึงจุดยืนของพรรคฯ เพราะกำลังมีกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลอยู่ และมีบางพรรคได้แสดงจุดยืนไปแล้ว การที่ ปชป.ได้ ส.ส.เพียง 24-25 คน แสดงให้เห็นถึงคำตอบของประชาชนที่อยากให้ ปชป.เดินไปทางไหน […]
อ่านเพิ่มเติม »