เลือกตั้ง'66: พปชร.เอาใจชาวนาชู 3 นโยบายด้านเกษตร เติมเงินช่วยลดต้นทุน 30,000 บาท พรรคพลังประชารัฐ พลังประชารัฐ เลือกตั้ง66 เลือกตั้ง2566 อินโฟเควสท์
นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ โฆษกคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า พล.อ.
พรรคพลังประชารัฐจึงออกนโยบายเฉพาะเพื่อเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของชาติ โดยเริ่มจากนโยบายที่ 1 นโยบายเติมเงินทุนช่วยเหลือเกษตรกร ครัวเรือนละ 30,000 บาท นโยบายที่ 2 นโยบายปุ๋ยคนละครึ่ง ซึ่งภาครัฐจะช่วยเหลือค่าปุ๋ย 50% และล่าสุด นโยบายที่ 3 นโยบายเพิ่มเงินช่วยเหลือต้นทุนค่าเก็บเกี่ยวข้าวให้ชาวนา อัตราไร่ละ 2,000 บาท จำนวนไม่เกิน 15 ไร่ เป็นเงิน 30,000 บาทต่อราย
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน รัฐบาลให้การสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อัตราไร่ละ 1,000 บาท จำนวนไม่เกิน 20 ไร่ เป็นเงิน 20,000 บาทต่อราย ซึ่งการปรับลดจำนวนพื้นที่เหลือ 15 ไร่ ไม่ได้ทำให้ชาวนาเสียประโยชน์ ในทางกลับกัน ชาวนาจะได้รับเงินช่วยเหลือต้นทุนค่าเก็บเกี่ยวข้าวที่มากขึ้น อีกทั้ง รัฐบาลจะสามารถให้ความช่วยเหลือชาวนารายย่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงมากกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจ และจูงใจให้ชาวนาเพาะปลูกข้าวสายพันธุ์คุณภาพ...
“ทั้ง 3 นโยบายด้านการเกษตร ที่พรรคพลังประชารัฐประกาศออกมา ทางดรีมทีมเศรษฐกิจของพรรคฯ มั่นใจว่า จะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับกลุ่มเกษตรกรแบบ 360 องศา อาทิ ช่วยเติมทุนการเพาะปลูก ช่วยลดต้นทุนการผลิต ช่วยเพิ่มผลผลิตเกษตร และช่วยให้จำหน่ายในราคาสูง ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน เพราะเกษตรกรจะมีรายได้สูงขึ้น หลุดพ้นกับดักความยากจน ไม่เป็นหนี้สิน...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เลือกตั้ง'66: พปชร.จี้ กกต.เร่งสอบปมเงินดิจิทัลผิดกฎหมายหรือไม่ : อินโฟเควสท์นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจกรรมและการปราศรัยหาเสียง กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ประกาศนโยบายแจกเงินดิจิทัลว่า ตอนนี้หลายฝ่ายได้ไปยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวแล้ว เนื่องจากมีประเด็นทางข้อกฎหมายอีกหลายข้อ ซึ่งสอดคล้องกับที่นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาระบุว่า เงินดิจิทัลภาคประชาชนยังอยู่ในช่วงทดลองศึกษา โดยไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบ ขณะที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายพรรค ให้ความเห็นว่า นโยบายนี้จะเข้าข่าย พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ.2501 ซึ่ง ธปท.เป็นองค์เดียวที่มีอำนาจในการออกเงินตราได้ นอกจากนี้เหรียญดิจิทัลจะออกแบบให้เป็นบล็อกเชน โดยมีการเก็บข้อมูลในการใช้จ่ายของผู้ใช้จำนวนมากถึง 54 ล้านคน โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อน จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล และถ้าเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นจริงจะเป็นอันตรายต่อประชาชน นายวิรัช กล่าวว่า กกต.ต้องเร่งรับเรื่องร้องเรียน เพราะเงินดิจิทัลที่พรรคเพื่อไทยจะแจกนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเข้าข่ายฝ่าฝืน พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ.2501 มาตรา 6 มาตรา 9 และมีโทษตามมาตรา 35 หรือไม่ โดย กกต.ต้องเร่งรับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวโดยด่วนและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป การประกาศนโยบายดังกล่าวควรคำนึงถึงความเป็นไปได้ในข้อกฎหมายด้วย เพราะเงินดิจิทัลจะถูกนำไปตีความไว้ใน พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ.2501 […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: พปชร. จี้ กกต.เร่งทำความเข้าใจเรื่องบัตรเลือกตั้ง : อินโฟเควสท์นายสกลธี ภัททิยกุล กรรมการบริหาร และหัวหน้าทีมผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ลงพื้นที่สวนพฤกษชาติคลองจั่น ถนนนวมินทร์ เขตบางกะปิ กรุงเทพ ร่วมกับนางนฤมล รัตนาภิบาล ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขต 14 (บางกะปิ-วังทองหลาง) หมายเลข 5 เพื่อพบปะประชาชน นายสกลธี กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ทุกวันพบว่า ประชาชนยังสับสนกับการเปลี่ยนมาใช้บัตร 2 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ รวมถึงการที่บัตรเลือก ส.ส.เขตไม่มีชื่อผู้สมัคร ตนมองว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำงานแบบเน้นความสะดวกของตนเอง เพราะต้องการพิมพ์บัตรแบบเดียวเพื่อใช้ได้ทั่วประเทศ แต่สร้างความลำบากให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เสี่ยงที่จะมีการกาผิดไม่ได้เลือกคนที่อยากได้จริงๆ ซึ่งการทำงานของราชการควรปรับเข้าหาประชาชนมากกว่านี้ ตนจึงจะขอให้ กกต.เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเรื่องบัตรเลือกตั้งให้มากขึ้น ด้านนางนฤมล กล่าวว่า ตนเป็น ส.ก.มา 3 สมัย จึงรู้ปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่ดี เขตบางกะปิเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่น จึงมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ขาดพื้นที่สีเขียว และปัญหาน้ำท่วมเพราะท่อตัน อีกทั้งยังมีการจราจรหนาแน่น ซึ่งแม้จะมีรถไฟฟ้าเข้ามา 2 เส้นทางคือสายสีส้มและสายสีเหลือง แต่ยังขาดการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกมากอย่างที่ควร “ปัญหาเหล่านี้จะหวังพึ่งท้องถิ่นอย่าง […]
อ่านเพิ่มเติม »
'พปชร.' รับรอง 20 นโยบายหาเสียง'เลือกตั้ง 66' ชูนโยบายลดภาระประชาชน'พรรคพลังประชารัฐ' รับรอง 20 นโยบายใช้หาเสียง ชู 3 นโยบายลดค่าใช้จ่าย และ 7 นโยบายเพิ่มเม็ดเงินในบัญชี ทำทันทีหาก 'ลุงป้อม' เป็นนายกฯ
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: กกต.ย้ำเลือกตั้งนอกปท.ยึดตามสถานทูตกำหนด ชี้แต่ละที่แนวทางต่างกัน : อินโฟเควสท์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ย้ำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรติดตามข้อมูลข่าวสาร รายละเอียด และวิธีการลงคะแนนเสียงนอกราชอาณาจักรในแต่ละประเทศที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งอย่างใกล้ชิด เนื่องจากแต่ละประเทศอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งแตกต่างกันไป เช่น บางประเทศเปิดให้ลงคะแนนผ่านทางไปรษณีย์ได้ทางเดียว หรือบางประเทศมีการเปิดคูหาที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ และสถานที่อื่นๆ ได้แก่ แคมป์คนงาน ดังนั้นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารว่าประเทศที่ตนพำนักอยู่นั้นเปิดให้ลงคะแนนเสียงด้วยวิธีใด นอกจากนี้ ในแต่ละประเทศยังกำหนดระยะเวลาการลงคะแนนเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรที่ตนพำนักอยู่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่เอกอัครราชทูตหรือกงสุลใหญ่กำหนด พร้อมทั้งตรวจรหัสเขตเลือกตั้ง 5 ตัวซึ่งไม่ใช่รหัสไปรษณีย์ให้ถูกต้องครบถ้วน โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้รับซอง 2 แบบ คือ 1.ซองใส่บัตรเลือกตั้ง หรือ ส.ส. 5/2 ซึ่งเป็นซองขนาดเล็ก สำหรับใส่บัตรเลือกตั้ง โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศได้จ่าหน้าซองให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องนำบัตรเลือกตั้งที่กากบาทลงคะแนนเลือกตั้งแล้วพับใส่ในซอง และซองดังกล่าวจะมีช่องให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเป็นผู้เซ็นชื่อกำกับตรงรอยปิดผนึกเพื่อยืนยันว่าผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ใส่บัตรเลือกตั้งทั้ง 2 แบบเรียบร้อยแล้ว 2.ซองใส่เอกสาร หรือ ส.ส. 5/21 (นร) ซึ่งเป็นซองขนาดใหญ่ สำหรับใส่ซองบัตรเลือกตั้งที่กากบาทลงคะแนนเลือกคั้งแล้ว และใส่สำเนาหลักฐานที่ใช้ประกอบการลงคะแนนเลือกตั้งที่ได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง เช่น สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น บรรจุในซองใส่เอกสาร พร้อมกับปิดผนึกลงลายมือชื่อกำกับตรงรอยต่อผนึกแล้วส่งคืนแก่เอกอัครราชทูตภายในเวลาที่กำหนด หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ได้ที่สถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ ของแต่ละประเทศที่ตนพำนักอยู่ต่อไป โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: เปิดคะแนนนิยมก่อนเลือกตั้ง เพื่อไทยนำโด่งอันดับ 1 เกือบทุกภาค : อินโฟเควสท์“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี “คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด (ก่อนเลือกตั้ง)” ระหว่างวันที่ 10-20 เมษายน 2566 เก็บข้อมูลทางภาคสนาม จำนวน 162,454 คน เป็นเพศชาย จำนวน 74,073 คน ร้อยละ 45.60 เพศหญิง จำนวน 88,381 คน ร้อยละ 54.40 โดยมีอายุระหว่าง 18 – 30 ปี จำนวน 31,627 คน (19.47%) อายุ 31 – 50 ปี จำนวน 72,808 คน (44.82%) และอายุ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 58,019 คน (35.71%) โดยสำรวจในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 13,368 คน (8.23%) […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: กกต. เร่งถกให้คนไทยอพยพจากซูดานได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง : อินโฟเควสท์คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นัดประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพิจารณาลงมติว่า ชาวไทยที่อพยพกลับจากประเทศซูดานเมื่อ 27 เม.ย. และได้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักรไว้เมื่อครั้งยังอยู่ในซูดาน จะสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งตามกฏหมายในวันที่ 14 พ.ค.นี้ได้หรือไม่ นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. เปิดเผยว่า ในวันนี้กกต. จะพิจารณาลงมติว่า คนไทยที่อพยพกลับจากซูดานที่ลงขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไว้ จะได้ใช้สิทธิในวันที่ 14 พ.ค.หรือไม่ นายอิทธิพร กล่าวว่า ในช่วงนี้อยู่ระหว่างการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 24 เม.ย.- 5 พ.ค. สำหรับวันสุดท้ายที่บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจะมาถึงไทยคือวันที่ 9 พ.ค. หรือในบางประเทศส่งเพิ่มเติมไม่เกินวันที่ 12 พฤษภาคม เพื่อให้ส่งกลับทันไปยังจุดต่างๆ 400 เขตทั่วประเทศ โดยเมื่อวานนี้ (28 เม.ย.) บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร จากกรุงปราก สาธารณรัฐเช็คและกาฐมาณฑุ เนปาล มาถึงประเทศไทยแล้ว ส่วนของแอลเอ สหรัฐอมเริกา จะมาถึงในวันนี้ 29 เม.ย. ทั้งนี้มีการปรับแผนความเข้มงวดการติดตั้งถุงเมล์ บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร หลังมีบทเรียนการเลือกตั้งปี 2562 […]
อ่านเพิ่มเติม »