เลือกตั้ง'66: คนไม่รู้ยอดใช้เงินประชานิยม ชี้เสียหายพรรคต้องรับผิดชอบ เลือกตั้ง66 เลือกตั้ง2566 อินโฟเควสท์
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมกับเครือข่ายการเมืองสะอาด เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบายแจกเงินหรือจัดสวัสดิการของพรรคการเมืองที่นำมาใช้หาเสียงเลือกตั้ง พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 66.72% ไม่ทราบ และ/หรือ ไม่เคยทดลองคำนวณวงเงินที่จะต้องนำมาใช้ ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างเพียง 14.81% ที่ทราบ และ/หรือ เคยคำนวณรายละเอียดไว้ ส่วนอีก 11.75% ไม่ทราบและไม่สนใจว่าต้องใช้วงเงินเท่าไหร่สำหรับแต่ละนโยบายแต่ละพรรค และ 6.
ส่วนแหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาจัดทำตามนโยบายแจกเงินหรือจัดสวัสดิการต่างๆ ของแต่ละพรรคการเมืองนั้น กลุ่มตัวอย่าง 49.62% ระบุว่าจัดเก็บภาษีประชาชน/บริษัท/ห้างร้านต่างๆ เพิ่มขึ้น รองลงมา 27.86% ระบุว่าตัดทอนงบประมาณที่ไม่จำเป็นจากกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตามด้วย 25.73% ระบุว่า กู้เงินจากต่างประเทศ, 21.15% ระบุว่าใช้เงินคงคลังและเงินสำรองระหว่างประเทศของไทย, 18.55% ระบุว่ากวาดล้างการทุจริตเพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอที่จะทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้, 14.27% ระบุว่ากู้เงินจากในประเทศ และ 3.
สำหรับผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายหากการดำเนินตามนโยบายแจกเงินหรือจัดสวัสดิการต่างๆ ของแต่ละพรรคการเมืองก่อให้เกิดปัญหาทางการคลังและหนี้สาธารณะ กลุ่มตัวอย่าง 44.35% ระบุว่า พรรคการเมืองที่คิดและดำเนินการตามนโยบายเหล่านี้ รองลงมา 41.68% ระบุว่า นักการเมืองที่คิดและดำเนินการตามนโยบายเหล่านี้ ตามด้วย 39.47% ระบุว่า ประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในคราวนี้, 14.43% ระบุว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งที่ไม่หาทางป้องกัน, 9.62% ระบุว่า ข้าราชการประจำที่ทำงานรับใช้พรรคการเมืองในการดำเนินนโยบายเหล่านี้, 6.
ทั้งนี้ นิด้าโพลได้สำรวจความคิดเห็นเรื่องดังกล่าวจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง ด้วยวิธีการโทรสัมภาษณ์จากการสุ่มตัวอย่างในบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลักช่วงวันที่ 20-24 เม.ย.ที่ผ่านมา
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เลือกตั้ง'66: กกต. เร่งถกให้คนไทยอพยพจากซูดานได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง : อินโฟเควสท์คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นัดประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพิจารณาลงมติว่า ชาวไทยที่อพยพกลับจากประเทศซูดานเมื่อ 27 เม.ย. และได้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักรไว้เมื่อครั้งยังอยู่ในซูดาน จะสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งตามกฏหมายในวันที่ 14 พ.ค.นี้ได้หรือไม่ นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. เปิดเผยว่า ในวันนี้กกต. จะพิจารณาลงมติว่า คนไทยที่อพยพกลับจากซูดานที่ลงขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไว้ จะได้ใช้สิทธิในวันที่ 14 พ.ค.หรือไม่ นายอิทธิพร กล่าวว่า ในช่วงนี้อยู่ระหว่างการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 24 เม.ย.- 5 พ.ค. สำหรับวันสุดท้ายที่บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจะมาถึงไทยคือวันที่ 9 พ.ค. หรือในบางประเทศส่งเพิ่มเติมไม่เกินวันที่ 12 พฤษภาคม เพื่อให้ส่งกลับทันไปยังจุดต่างๆ 400 เขตทั่วประเทศ โดยเมื่อวานนี้ (28 เม.ย.) บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร จากกรุงปราก สาธารณรัฐเช็คและกาฐมาณฑุ เนปาล มาถึงประเทศไทยแล้ว ส่วนของแอลเอ สหรัฐอมเริกา จะมาถึงในวันนี้ 29 เม.ย. ทั้งนี้มีการปรับแผนความเข้มงวดการติดตั้งถุงเมล์ บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร หลังมีบทเรียนการเลือกตั้งปี 2562 […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: พปชร. จี้ กกต.เร่งทำความเข้าใจเรื่องบัตรเลือกตั้ง : อินโฟเควสท์นายสกลธี ภัททิยกุล กรรมการบริหาร และหัวหน้าทีมผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ลงพื้นที่สวนพฤกษชาติคลองจั่น ถนนนวมินทร์ เขตบางกะปิ กรุงเทพ ร่วมกับนางนฤมล รัตนาภิบาล ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขต 14 (บางกะปิ-วังทองหลาง) หมายเลข 5 เพื่อพบปะประชาชน นายสกลธี กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ทุกวันพบว่า ประชาชนยังสับสนกับการเปลี่ยนมาใช้บัตร 2 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ รวมถึงการที่บัตรเลือก ส.ส.เขตไม่มีชื่อผู้สมัคร ตนมองว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำงานแบบเน้นความสะดวกของตนเอง เพราะต้องการพิมพ์บัตรแบบเดียวเพื่อใช้ได้ทั่วประเทศ แต่สร้างความลำบากให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เสี่ยงที่จะมีการกาผิดไม่ได้เลือกคนที่อยากได้จริงๆ ซึ่งการทำงานของราชการควรปรับเข้าหาประชาชนมากกว่านี้ ตนจึงจะขอให้ กกต.เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเรื่องบัตรเลือกตั้งให้มากขึ้น ด้านนางนฤมล กล่าวว่า ตนเป็น ส.ก.มา 3 สมัย จึงรู้ปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่ดี เขตบางกะปิเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่น จึงมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ขาดพื้นที่สีเขียว และปัญหาน้ำท่วมเพราะท่อตัน อีกทั้งยังมีการจราจรหนาแน่น ซึ่งแม้จะมีรถไฟฟ้าเข้ามา 2 เส้นทางคือสายสีส้มและสายสีเหลือง แต่ยังขาดการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกมากอย่างที่ควร “ปัญหาเหล่านี้จะหวังพึ่งท้องถิ่นอย่าง […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: เปิดคะแนนนิยมก่อนเลือกตั้ง เพื่อไทยนำโด่งอันดับ 1 เกือบทุกภาค : อินโฟเควสท์“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี “คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด (ก่อนเลือกตั้ง)” ระหว่างวันที่ 10-20 เมษายน 2566 เก็บข้อมูลทางภาคสนาม จำนวน 162,454 คน เป็นเพศชาย จำนวน 74,073 คน ร้อยละ 45.60 เพศหญิง จำนวน 88,381 คน ร้อยละ 54.40 โดยมีอายุระหว่าง 18 – 30 ปี จำนวน 31,627 คน (19.47%) อายุ 31 – 50 ปี จำนวน 72,808 คน (44.82%) และอายุ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 58,019 คน (35.71%) โดยสำรวจในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 13,368 คน (8.23%) […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: กกต.ยกเลิกลงทะเบียนเลือกตั้งที่ซูดาน ให้ใช้สิทธิในไทยได้ : อินโฟเควสท์คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้ยกเลิกการลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งและยกเลิกการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ณ ที่เลือกตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงคาร์ทูม สาธารณรัฐซูดาน ในวันที่ 28-29 เมษายน 66 เนื่องจากได้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกองทัพซูดานกับกลุ่มกองกำลังติดอาวุธในกรุงคาร์ทูม ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนเป็นต้นมา อันเป็นเหตุให้การออกเสียงลงคะแนนในที่เลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงคาร์ทูม สาธารณรัฐซูดาน ไม่สามารถกระทำได้ เอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร จึงประกาศให้งดการออกเสียงลงคะแนน โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 94 คน ไปใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งนั้น และมีคำสั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดำเนินการแก้ไขปรับปรุงบัญชีรายชื่อของหน่วยเลือกตั้งนั้น เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งดังกล่าวสามารถออกเสียงลงคะแนนในวันเลือกตั้งได้ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (29 เม.ย. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: เพื่อไทย เมินผลโพลก้าวไกลมาแรง มั่นใจจุดแข็งนโยบายดึงคะแนนทุกกลุ่ม : อินโฟเควสท์นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดทนายกรัฐมนตรี และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย กล่าวในระหว่างการลงพื้นที่หาเสียง จ.ศรีสะเกษถึงกรณีสวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจว่า พรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำเป็นอันดับหนึ่ง แต่ในส่วนของวัยรุ่นเยาวชนก้าวไกลมีคะแนนนำว่า โพลมีอยู่หลายโพล บางโพลออกมาเราเป็นรอง บางโพลเราก็มากกว่า ก็ต้องมาวิเคราะห์กันให้ดีว่าจุดอ่อนเราอยู่ตรงไหน จุดแข็งพรรคเพื่อไทย คือนโยบาย เราเคยทำได้มาก่อน ทุกนโยบายที่ใช้หาเสียงครั้งนี้ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สำหรับผลโพลที่ออกมาไม่มีผลกระทบอะไรทั้งสิ้น ตนไม่เคยท้อ หากโพลนำมาเราก็ไม่ได้ดีใจ ซึ่งวันที่ 14 พ.ค. หลังเวลา 22.00 น. จะเป็นเวลาที่เราดีใจ เมื่อถามว่า คิดไว้หรือยังว่าจะทำอย่างไรให้เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่น นายเศรษฐา กล่าวว่า เราก็พยายามทำต่อ พยายามพบปะและพูดคุยในเรื่องที่ถูกใจเขา เรามีนโยบายที่ชัดเจนสามารถปฏิบัติได้จริง เราไม่พูดอะไรในสิ่งที่ทำไม่ได้ มั่นใจว่าได้รับการตอบรับที่ดีทุกกลุ่มคน นายเศรษฐา กล่าวถึงปัญหายาเสพติดที่ได้เน้นย้ำเรื่องไม่เอานโยบายกัญชาเสรี ในหลายเวทีปราศรัยว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ของประชาชน หากเอากัญชาเสรีมาเสริมอีก มองว่าประชาชนรับไม่ได้ เมื่อถามว่า จะรับข้อเสนอเรื่องกัญชาเสรีพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ได้หรือไม่หากต้องร่วมรัฐบาล นายเศรษฐา กล่าวว่า ได้พูดไปแล้วว่ากัญชาเพื่อการแพทย์เป็นอย่างเดียว เรื่องนี้ต้องควบคู่ไปกับการกำจัดยาเสพติดให้สิ้นซาก ยึดทรัพย์ให้ได้โดยเร็ว บำบัดผู้เสพเป็นผู้ป่วย ยืนยันว่าไม่มีการเกี๊ยะเซี๊ยะเรื่องกัญชาแน่นอน ส่วนกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: ภูมิใจไทย พร้อมร่วมงานเพื่อไทย ขอลืมอดีตบาดหมาง : อินโฟเควสท์นายอนุทิน ชาญวีรกูล แคนดิเดทนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการโทรทัศน์ ย้ำว่า พรรคภูมิใจไทย ยังไม่ประสานเจรจาหรือเปิดดีลกับพรรคการเมืองใดในการจับมือจัดตั้งรัฐบาล โดยการพูดคุยเจรจาจะมีขึ้นหลังจากทราบผลการเลือกตั้งแล้วเท่านั้น “ยังไม่จำเป็นต้องตัดสินใจ หรือ สร้างเงื่อนไขให้เป็นข้อจำกัด เมื่อเรามั่นใจว่าจะได้ ส.ส.มากขึ้น เราควรจำกัดเงื่อนไขให้น้อยที่สุด หรือ ไม่มีเงื่อนไขเลย แล้วค่อยว่ากันหลังรู้ผลเลือกตั้ง” นายอนุทิน กล่าว นายอนุทิน ย้ำว่า พรรคภูมิใจไทย พร้อมร่วมงานกับทุกพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเดิม หรือ พรรคการเมืองต่างขั้ว และโดยหลักการพรรคการเมืองที่เป็นพรรคอันดับ 1 ควรได้สิทธิ์ในการจัดตั้งรัฐบาล และรวบรวมเสียงสนับสนุนเพื่อเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี พร้อมยืนยันว่า สนับสนุนนายกรัฐมนตรีในบัญชีที่แต่ละพรรคเสนอ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นส.ส. เพียงแต่ไม่สนับสนุนแนวทางนายกฯคนนอก นายอนุทิน ยืนยันว่า พรรคภูมิใจไทยพร้อมร่วมงานการเมืองกับพรรคเพื่อไทย และเห็นว่า ทั้ง 2 พรรคควรลืมเรื่องบาดหมางในอดีต โดยเฉพาะปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างนายเนวิน ชิดชอบ และนายทักษิณ ชินวัตร เนื่องจากเป็นเรื่องในอดีตที่เกิดขึ้นมานานแล้ว “ผมว่าคนที่มีวุฒิภาวะ เป็นผู้ใหญ่ ถ้าจมปลักอยู่กับเรื่องเดิมเมื่อ 20 ปีก่อน คิดแต่เรื่องบาดหมาง ไม่รู้จักคำว่าให้อภัยหรือลืม […]
อ่านเพิ่มเติม »