เลือกตั้ง'66: 61 พรรคยื่นแจงนโยบายหาเสียงกกต.แล้ว ขาดอีก 9 พรรค การเมือง นโยบายหาเสียง พรรคการเมือง เลือกตั้ง อินโฟเควสท์
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระบุว่า ขณะนี้พรรคการเมืองส่งข้อมูลรายละเอียดชี้แจงนโยบายหาเสียงที่มีการใช้จ่ายเงินตามมาตรา 57 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มายังกกต.รวม 61 พรรคการเมืองแล้ว
โดยวานนี้มีพรรคการเมืองนำส่งรวม 58 พรรค และในช่วงเช้าวันนี้ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคไทยก้าวหน้า ได้รายงานมาเพิ่มเติม โดยยังเหลืออีก 9 พรรคการเมืองที่อาจดำเนินการส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งทางสำนักงานฯจะยึดการประทับตราไปรษณีย์เป็นหลักพิจารณาว่าได้มีการดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่
สำหรับ 9 พรรคการเมือง ประกอบด้วย พรรคความหวังใหม่ พรรคเพื่อชาติไทย พรรคแผ่นดินธรรม พรรคกรีน พรรคเพื่อไทรวมพลัง พรรคชาติรุ่งเรือง พรรครักษ์ธรรม พรรคพลังไทยรักชาติ และพรรคไทยธรรม
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
'รทสช.-ชพก.' ยื่นแจงรายละเอียดนโยบายหาเสียงต่อกกต. แล้ว ขาดอีก 9 พรรค'รทสช.-ชพก. ยื่นแจงรายละเอียดนโยบายหาเสียงต่อกกต. แล้ว ขาดอีก 9 พรรค
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: รทสช. ชูนโยบายลดค่าครองชีพ แก้น้ำมัน-ค่าไฟแพง : อินโฟเควสท์นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวถึงนโยบายการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะเรื่องการทำมาหากิน และเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนว่า พรรครวมไทยสร้างชาติ เห็นความสำคัญเรื่องความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกัน จะต้องมีการวางรากฐานเพื่อให้คนกลุ่มต่าง ๆ สามารถอยู่ต่อได้ในภาวะค่าครองชีพปัจจุบัน โดยหาแนวทางว่าทำอย่างไรจะสามารถลดค่าครองชีพให้กับประชาชนแบบเป็นไปได้ กรณีของพลังงานที่มีราคาแพง เรื่องราคาน้ำมัน พรรคมีแนวคิดว่าจะให้มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปแบบเสรีได้ จะทำให้ราคาน้ำมันในประเทศถูกลงได้ หากพรรครวมไทยสร้างชาติได้เป็นรัฐบาล หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน หรือไฟฟ้า ก็จะต้องทำตามนโยบายของรัฐอยู่แล้ว เช่น ค่าไฟฟ้า จะมีการกำหนดราคาให้กับผู้มีรายได้น้อย หรือเกษตรกร ที่ใช้ไฟในการดำเนินชีวิต หรือทำมาหากินเพื่อแบ่งเบาภาระ และช่วยลดต้นทุนให้ โดยมีการคำนวณมาแล้วจะอยู่ที่ประมาณยูนิตละ 3.90 บาท เป็นนโยบายของรัฐบาลพรรครวมไทยสร้างชาติ กรณีนำบัตรสวัสดิการ พลัส ของพรรคไปเปรียบเทียบกับนโยบายการแจกเงินดิจิทัลว่า เงินดิจิทัลที่บอกว่าจะแจก 10,000 บาท ไม่ใช่เงินจริง แต่บัตรสวัสดิการพลัส ที่ต่อยอดมาจากบัตรลุงตู่ จะได้เดือนละ 1,000 บาท 1 ปีจะได้ 12,000 บาท มากกว่าเงินดิจิทัล 2,000 บาท ถ้า 4 […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: นักวิชาการ มธ. หนุนนโยบายระบบสวัสดิการ มองไทยยังลงทุนน้อย : อินโฟเควสท์นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ มธ. มองโจทย์การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำจากนโยบายเลือกตั้ง ย้ำไม่ใช่เพียงเพิ่มสวัสดิการ แต่ยังต้องจำกัดอำนาจทุนผูกขาด สร้างความเสมอภาค รื้อมรดกรัฐบาลเดิม ชี้ประชาชนต้องช่วยกันกดดัน ส.ว. ให้ยอมรับพรรคการเมืองที่ถูกเลือกมาอย่างถูกต้อง นายธร ปีติดล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ (CRISP) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า นโยบายที่พรรคการเมืองใช้หาเสียงอยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่เน้นด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากตลอดหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤตโควิด-19 เป็นเหตุให้พรรคการเมืองต่างพยายามเสนอนโยบายเรื่องปากท้อง ซึ่งประชาชนจับต้องได้ที่สุด สำหรับนโยบายด้านสวัสดิการ ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา พบว่าพรรคการเมืองได้เน้นเรื่องการสร้างระบบสวัสดิการเพิ่มขึ้น แม้ว่าพัฒนาการของระบบสวัสดิการไทยจะชะลอตัวลงในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา แต่ในการเลือกตั้งปี 2566 นี้ พบว่าพรรคการเมืองได้กลับมาให้ความสำคัญกับการสร้างระบบสวัสดิการอีกครั้ง เนื่องจากยังมีความต้องการจากประชาชนในด้านนี้อยู่มาก นายธร กล่าวว่า นโยบายที่เกี่ยวข้องกับด้านสวัสดิการที่พรรคการเมืองใช้หาเสียงอยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การสร้างระบบบำนาญสำหรับผู้สูงอายุ และยังมีนโยบายอื่นๆ เช่น เงินช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย ตลอดจนนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพื่อยกระดับรายได้ของคนทั่วประเทศ ซึ่งโดยส่วนตัวอยากเสนอว่านโยบายเหล่านี้ ไม่ใช่เพียงแค่ต้องทำให้ครอบคลุมเท่านั้น แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับมิติเชิงคุณภาพของนโยบาย และควรบริหารจัดการอย่างเป็นระบบด้วย การใช้งบประมาณเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ถือเป็นเรื่องปกติของการจัดทำนโยบาย แต่ประเด็นที่ต้องตั้งคำถามคือสุดท้ายจะใช้ได้มากเพียงใด แนวทางการจัดสรรเงินให้นโยบายต่าง ๆ เหมาะสมหรือไม่ และถึงแม้ว่านโยบายของแต่ละพรรคการเมืองจะมีการแข่งขันกันโดยมีจำนวนเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: กกต.เตือนพรรคการเมืองหาเสียงในกรอบ หลังพบร้องเรียนแล้ว 32 เรื่อง : อินโฟเควสท์นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ขณะนี้มีเรื่องร้องเรียนการทุจริตเลือกตั้งเข้ามาแล้ว 32 เรื่อง เป็นการร้องเรียนหาเสียงหลอกลวง ใส่ร้าย 15 เรื่อง เรื่องร้องเรียนซื้อเสียง 8 เรื่อง และเรื่องอื่นๆ 9 เรื่อง ทั้งนี้ เมื่อมีเรื่องร้องเรียนเข้ามา กกต.จะพิจารณาในทันทีไม่ได้ เพราะต้องนำเข้าสู่กระบวนการตามระเบียบสืบสวนไต่สวน โดยจะดูว่าคำร้องนั้น เป็นคำร้องตามระเบียบฯหรือไม่ หากเป็นคำร้องตามระเบียบฯ ก็จะดูเนื้อหาคำร้องว่าเพียงพอหรือไม่ ถ้ามีเพียงพอ จึงจะรับคำร้อง แล้วเข้าสู่กระบวนการสืบสวนไต่สวน และส่งให้จังหวัด ก่อนส่งกลับมาขอความเห็นจากส่วนกลาง และส่งให้คณะอนุวินิจฉัยก่อนเข้าสู่ที่ประชุม กกต. “ที่ต้องใช้เวลา เพราะกระบวนการวินิจฉัยคำร้องเป็นเรื่องกระทบสิทธิกับทุกฝ่าย ต้องให้ความยุติธรรม การพิจารณาคำร้องส่วนใหญ่จะไม่ทันวันเลือกตั้ง เนื่องจากกระบวนการสืบสวนไต่สวนจะต้องมีการสอบถามพยาน ซึ่งคนที่สนใจสามารถอ่านคำวินิจฉัยของ กกต.จะทำให้ทราบกระบวนการพิจารณาคดี จนนำไปสู่การวินิจฉัยต้องใช้เวลา มิเช่นนั้น จะเป็นการเร่งรีบตัดสินใจโดยที่ข้อมูลไม่เพียงพอและไม่เป็นผลดีกับใคร” ประธาน กกต. ระบุ ส่วนกรณีที่ กกต.นราธิวาส ขอให้ผู้สมัคร ส.ส. เขต 3 นราธิวาส พรรคเป็นธรรม ปลดป้ายหาเสียงที่มีข้อความ […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: 'อนุทิน' ตั้งโฆษกส่วนตัวช่วยแจงผลงาน : อินโฟเควสท์นายอิทธิเดช สุพงษ์ ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขต 15 คันนายาว-บึงกุ่ม (เฉพาะแขวงคลองกุ่ม) พรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค ได้แต่งตั้งให้ตนทำหน้าที่เป็นโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อทำหน้าที่สื่อสารชี้แจงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวหน้าพรรค รวมถึงบางเรื่องที่เป็นงานของรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ให้สังคมได้รับรู้และเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องด้วย โดยนายอนุทินได้ย้ำให้ตนสื่อสารบนพื้นฐานของความจริงใจ ตรงไปตรงมา และไม่สร้างความขัดแย้ง ซึ่งเชื่อว่าทุกวันนี้ประชาชนมีวิจารณญาณเพียงพอในการเปิดรับข่าวสารต่างๆ ขณะที่โฆษกพรรคยังคงมีอยู่เช่นเดิม แต่เพื่อความคล่องตัวมากขึ้นจึงได้แต่งตั้งโฆษกประจำตัวขึ้นมาทำหน้าที่นี้อีกตำแหน่งหนึ่ง โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18 เม.ย. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: ปชป.ตั้ง 'ลูกหมี ซุปเปอร์โมเดล' เป็นรองโฆษกฯ เสริมทีมสื่อสารพรรค : อินโฟเควสท์นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้แต่งตั้ง น.ส.รัศมี ทองสิริไพรศรี หรือ ลูกหมี เป็นรองโฆษกพรรคฯ เพิ่มอีก 1 คน เพื่อเสริมการทำงานของทีมสื่อสารของพรรคสำหรับการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง สำหรับ น.ส.รัศมี เป็นนางแบบระดับซุปเปอร์โมเดล นักแสดง นักเขียน ซึ่งล้วนเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในหมู่คนไทย ปัจจุบันเป็นเจ้าของโรงเรียนสอนการพัฒนาบุคลิกภาพและสอนการเดินแบบชื่อ We Are Model ให้กับนายแบบและนางแบบทั่วประเทศ “ลูกหมี” จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปริญญาตรีคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังมีผลงานการแสดงทั้งละครทีวี ภาพยนตร์ และนางแบบโฆษณาหลายชิ้น น.ส.รัศมี กล่าวว่า ตนตัดสินใจเข้าร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ เพราะชื่นชอบในอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สิ่งสำคัญคือเป็นสถาบันการเมืองที่ดีไม่เคยมีประวัติด่างพร้อยเรื่องทุจริต และมีความยั่งยืนอยู่คู่กับคนไทยมานาน ด้วยเหตุนี้จึงต้องการนำความรู้ความสามารถทางด้านสังคมและการพัฒนาคนมาทำงานร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์สำหรับช่วยเหลือประชาชนต่อไป โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18 เม.ย. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »