เลือกตั้ง 66 กกต.ออกกฏเหล็กแนวทางปฏิบัติบรรดากองเชียร์พรรการเมืองที่เข้ามาสนับสนุนในวันรับสมัคร มีข้อห้ามที่พึงปฏิบัติหลังผู้สมัครลงรายชื่อสมัครแบบแบ่งเขต และ แบบบัญชีรายชื่อ มีอะไรบ้างดูเลย เลือกตั้ง2566 ฐานเศรษฐกิจ
กำหนดวันที่ 3 – 7 เมษายน 2566 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และ ในวันที่ 4 – 7 เมษายน 2566 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และ แจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฏรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีได้แจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดขบวนแห่ในวันสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร...
พรรคการเมืองและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดขบวนแห่หรือกองเชียร์ที่แสดงการสนับสนุนเข้ามาในสถานที่สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้กำลังใจแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองในวันดังกล่าว เมื่อกระบวนการสมัครเสร็จสิ้นลงแล้วเนื่องจากเคยมีคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 และ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไว้ในทำนองเดียวกันว่าการจัดขบวนแห่และรถยนต์ติดแผ่นป้ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งภายหลังการสมัครรับเสือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วไปตามชุมชน โดยมีการแสดงดนตรีหรือการรื่นเริงใด ๆ...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เลือกตั้ง'66: ฝ่ายค้านร้อง กกต.แก้วิธีลงคะแนนเลือกตั้งต่างแดน : อินโฟเควสท์4 พรรคร่วมฝ่ายค้าน พรรคเสรีรวมไทย (สรท.) พรรคก้าวไกล (ก.ก.)พรรคประชาชาติ (ปชช.) และ พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ร่วมกันยื่นคำร้องต่อประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้แก้ไขวิธีการลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในบางประเทศ โดยขอให้ กกต.ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแก้ไขใน 5 เรื่อง 1.ขอให้ประสานสถานทูตและสถานกงสุลทุกแห่งใช้วิธีการเลือกตั้งทางไปรษณีย์เป็นหลัก 2.การจัดเลือกตั้งที่สถานทูตหรือหน่วยเคลื่อนที่ให้จัดในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ 3.ขอให้ปรับเปลี่ยนกำหนดการส่งกลับบัตรเลือกตั้งมายังสถานทูตให้มีระยะเวลาที่ไม่เร่งรับเกินไป เช่น ขยายไปถึงวันที่ 4 พ.ค.66 เพราะสถานทูตยังมีเวลาอีก 10 วันที่จะส่งบัตรกลับประเทศไทยได้ 4.ขอให้สถานทูตที่มีความพร้อมจัดให้มีการนับคะแนนได้ เพราะกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.ฉบับใหม่เปิดช่องไว้ ซึ่งก็จะแก้ไขปัญหาบัตรส่งกลับประเทศไทยไม่ทันเวลาได้ด้วย 5.ให้นำรายละเอียดการเลือกตั้งของคนไทยในต่างประเทศทั้งหมดเผยแพร่ในเว็บไซต์เพื่อให้ตรวจสอบได้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนและนโยบาย พรรคเสรีรวมไทย กล่าวว่า การไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร กฎหมายกำหนดไว้ 3 รูปแบบ 1.ใช้สิทธิที่สถานทูต 2.หน่วยเลือกตั้งเคลื่อนที่ และ 3.ไปรษณีย์ ซึ่งรูปแบบที่ประชาชนใช้สิทธิมากที่สุดคือทางไปรษณีย์ น้อยที่สุดคือสถานทูต แต่ปัญหาขณะนี้คือสถานทูตหลายๆ ประเทศมีการออกประกาศยกเลิกการเลือกตั้งทางไปรษณีย์ เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ จอร์แดน อียิปต์ […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66:เลขาฯ กกต.แจงใช้บัตรเลือกตั้งแบบมาตราฐานเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา : อินโฟเควสท์นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว ชี้แจงเรื่องบัตรเลือกตั้ง ว่าในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป พ.ศ. 2566 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้จะเป็นพรรคเดียวกันแต่เป็นคนละหมายเลข (เบอร์ )เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กกต.เป็นเพียงผู้กำหนดรูปแบบบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น โดยรูปแบบบัตรเลือกตั้งนับแต่มีการเลือกตั้งในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน มีรูปแบบบัตรที่ใช้เลือกตั้ง อยู่ 3 ประเภท คือ บัตรมาตราฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คือ บัตรที่มีเฉพาะหมายเลข(เบอร์)ผู้สมัคร หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าบัตรโหลจะไม่มีรายชื่อผู้สมัครแต่อย่างใด ทุกการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทยใช้บัตรเลือกตั้งแบบนี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งที่มีเฉพาะแบบแบ่งเขตเลือกตั้งก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือมีการเลือกตั้งแบบบัญชีราบชื่อ หลังปี 2540 ก็ตาม หมายความว่า ไม่เคยมีชื่อผู้สมัครในบัตรเลือกตั้งแต่อย่างใด ส่วนรูปแบบบัตรมาตราฐานแบบบัญชีรายชื่อคือ บัตรที่มีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) มีสัญญลักษณ์หรือเครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง เริ่มใช้บัตรเลือกตั้งรูปแบบนี้นับแต่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 เป็นต้นมา ทุกการเลือกตั้งก็จะใช้บัตรเลือกตั้งนี้มาตลอด และบัตรเลือกตั้งแบบเฉพาะ เกิดขึ้นใน ปี 2562 เพื่อรองรับระบบเลือกตั้งแบบคะแนนไม่ตกน้ำตามหลักการของรัฐธรรมนูญ […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: กกต.ประกาศให้ 3 พรรคสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง : อินโฟเควสท์คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศให้พรรคเพื่อราษฎร พรรคไทยสร้างสรรค์ และพรรคคนงานไทย สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทั้งนี้ นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่า พรรคเพื่อราษฎรไม่มีการประชุมใหญ่พรรคการเมืองเป็นระยะเวลาติดต่อกันเกินหนึ่งปีโดยมิได้มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย จึงเป็นเหตุให้พรรคเพื่อราษฎรสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ขณะที่นายธำรงค์ เรืองธุระกิจ หัวหน้าพรรคไทยสร้างสรรค์ ได้มีหนังสือแจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าในการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคไทยสร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้เลิกพรรคไทยสร้างสรรค์ ตามข้อบังคับพรรคไทยสร้างสรรค์ พ.ศ. 2564 ข้อ 123 วรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้พรรคไทยสร้างสรรค์สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (7) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ส่วนพรรคคนงานไทยนั้น นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: กกต.ย้ำเตือนวันรับสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ไม่จัดขบวนแห่ไปตามถนน-ชุมชน : อินโฟเควสท์รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้วันที่ 3 – 7 เมษายน 2566 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และในวันที่ 4 – 7 เมษายน 2566 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี นั้น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งขอแจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดขบวนแห่ในวันสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมืองและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดขบวนแห่หรือกองเชียร์ที่แสดงการสนับสนุนเข้ามาในสถานที่สมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้กำลังใจแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองในวันดังกล่าว เมื่อกระบวนการสมัครเสร็จสิ้นลงแล้วมิควรมีการจัดขบวนหรือกองเชียร์ออกจากสถานที่รับสมัครไปตามถนน ตำบล หรือหมู่บ้านในลักษณะนี้อีก เนื่องจากเคยมีคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 และคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไว้ในทำนองเดียวกันว่าการจัดขบวนแห่และรถยนต์ติดแผ่นป้ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งภายหลังการสมัครรับเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วไปตามชุมชน โดยมีการแสดงดนตรีหรือการรื่นเริงใด ๆ ถือเป็นการจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นการหาเสียงด้วยการจัดให้มีการรื่นเริงซึ่งชัดต่อกฎหมายเลือกตั้ง โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (01 เม.ย. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
‘เพื่อไทย’ ไม่วางใจสถานการณ์ จับ ‘เศรษฐา-อุ๊งอิ๊ง’ อยู่เซฟโซนหากในวันที่ 7 เมษายน ที่ศาลปกครองกลางนัดตัดสินกรณีคำร้องให้เพิกถอนประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กรณีแบ่งเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งจะยังมีขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม เหมือนเดิม
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66:นฤมล นำทัพพปชร.เจาะกทม.โซนธนบุรีเหนือ ชูสวัสดิการคนเมืองดันนโยบายกองทุน SE : อินโฟเควสท์พรรคพลังประชารัฐ จัดเวทีปราศรัยย่อยโซนธนบุรีเหนือ”พลังใหม่ พลังกรุงเทพ พลังประชารัฐ”ที่ สวนสาธารณะใต้สะพานพระราม 8 โดยมีแกนนำพรรคพลังประชารัฐ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ,นางสาวนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผู้ดูแลกำกับการเลือกตั้งพื้นที่ กทม.และนายสกลธี ภัททิยกุล หัวหน้าทีมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. พร้อมด้วยว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.ทั้ง 5 เขต ประกอบด้วย นายอนุชาญ กวางทอง เขตบางขุนเทียน (เฉพาะแขวงท่าข้าม) เขตจอมทอง (ยกเว้นแขวงบางขุนเทียน),นายศันสนะ สุริยะโยธิน เขตธนบุรี (ยกเว้นแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจีและแขวงบางยี่เรือ) เขตคลองสานเขตราษฎร์บูรณะ (เฉพาะแขวงบางปะกอก),น.ต.นิธิ บุญยรัตกลิน เขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน (ยกเว้นแขวงบางเชือกหนัง),น.ส.บุณณดา สุปิยพันธุ์ เขตบางกอกน้อย (เฉพาะแขวงศิริราช) เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ (ยกเว้นแขวงบางหว้า แขวงบางแขวงบางด้วนและแขวงคลองขวาง) เขตตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงบางเชือกหนัง) เขตธนบุรี (เฉพาะแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจีและแขวงบางยี่เรือ) และ นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล เขตบางพลัด […]
อ่านเพิ่มเติม »