เลขาฯ สภาพัฒน์ มั่นใจศก.ไทยปีนี้โตกว่า 3% จับตาปัจจัยเสี่ยงปีหน้าใกล้ชิด : อินโฟเควสท์

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

เลขาฯ สภาพัฒน์ มั่นใจศก.ไทยปีนี้โตกว่า 3% จับตาปัจจัยเสี่ยงปีหน้าใกล้ชิด : อินโฟเควสท์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 InfoQuestNews
  • ⏱ Reading Time:
  • 68 sec. here
  • 3 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 31%
  • Publisher: 68%

เลขาฯ สภาพัฒน์ มั่นใจศก.ไทยปีนี้โตกว่า 3% จับตาปัจจัยเสี่ยงปีหน้าใกล้ชิด นักท่องเที่ยวต่างชาติ สภาพัฒน์ เศรษฐกิจไทย อินโฟเควสท์

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวในงาน Bangkok Post Forum 2022:Accelerating Thailand ว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นหลังผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 โดยปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตได้ 3% กว่าๆ ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง แม้จะมองว่าล่าช้ากว่าประเทศอื่น แต่เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจมีข้อจำกัดจึงไม่สามารถเติบโตได้ 6-7% ซึ่งถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการปรับโครงสร้างขณะที่การลงทุนจากต่างประเทศยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง...

“การฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยว ทำให้เกิดปัญหาใหม่ คือการขาดแคลนแรงงานท่องเที่ยว หลังจากเดินทางกลับภูมิลำเนาตัวเองแล้วไปทำอาชีพอื่น เลยไม่ยอมกลับมา”ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศมีจำนวนสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกือบ 3 เท่า สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ 60% กว่าๆ ภายใต้กรอบ 70% ของจีดีพี และสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศ มีสัดส่วนอยู่ที่ 1.

ส่ำหรับกรณีที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น ยังไม่เป็นอันตรายเหมือนช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 40 ฐานะการเงินการคลังยังมีความแข็งแรง เนื่องจากมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 220 พันล้านดอลลาร์ ส่วนข้อกังวลเรื่องต่างประเทศมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วจะทำให้เงินทุนต่างชาติไหลออกนั้น ขณะนี้ปริมาณเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามามีปริมาณมากกว่าไหลออก...

“ขอยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยขณะนี้มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และค่อนข้างจะแข็งแรง ปีนี้ตัวเลขน่าจะอยู่ฝั่ง High Side”เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับในปี 66 หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงจากหลายปัจจัย เช่น ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาราคาพลังงานสูง ซึ่งสภาพัฒน์ ร่วมกับ ธปท.

ทั้งนี้ ในปีหน้าจะต้องเร่งช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง เร่งดึงการลงทุนจากต่างประเทศในบางอุตสาหกรรม เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องห่วงโซ่อุปทาน, การปรับปรุงมาตรการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษประเภทผู้พำนักระยะยาว ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม, การขออนุญาตผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์, การผลักดันตามแผนฯ 13 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

InfoQuestNews /  🏆 7. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

สภาพัฒน์ แจงข้อเท็จจริงหลังธนาคารโลกชี้ไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงด้านรายได้ : อินโฟเควสท์สภาพัฒน์ แจงข้อเท็จจริงหลังธนาคารโลกชี้ไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงด้านรายได้ : อินโฟเควสท์นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ตามรายงานของธนาคารโลก “Thailand Rural Income Diagnostic: Challenges and Opportunities for Rural Farmers” เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 65 ที่ระบุถึงความยากจน ความแตกต่างกันของความยากจนระหว่างพื้นที่ และสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทยนั้น สภาพัฒน์ ขอชี้แจงถึงข้อเท็จจริงตามประเด็นต่างๆ ที่รายงานฉบับนี้ได้รายงานไว้ โดยสรุปดังนี้ 1. สถานการณ์ความยากจนและผลกระทบของโควิด-19 สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยหดตัวอย่างรุนแรง โดยในปี 63 หดตัวถึง 6.2% และส่งผลให้ผู้ว่างงานมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 6.5 แสนคน หรือเพิ่มขึ้น 74.4% (อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นจาก 1.0% เป็น 1.69%) ส่งผลให้สัดส่วนคนจนเพิ่มขึ้นจาก 6.26% ในปี 62 (จำนวนคนจน 4.3 ล้านคน) เป็น 6.83% ในปี 63 …
อ่านเพิ่มเติม »

เผยไทย'เหลื่อมล้ำด้านรายได้'สูงอันดับ 4 ในเอเชียตะวันออก-แปซิฟิก ปี 64 คนจน 4.4 ล้านเผยไทย'เหลื่อมล้ำด้านรายได้'สูงอันดับ 4 ในเอเชียตะวันออก-แปซิฟิก ปี 64 คนจน 4.4 ล้าน‘สภาพัฒน์’ เผยสถานการณ์ความยากจนของไทยดีขึ้น หลังเศรษฐกิจฟื้นตัวจากโควิด ล่าสุดจำนวน ‘คนจน’ ลดเหลือ 4.4 ล้านคน พร้อมยกข้อมูล 'ธนาคารโลก' ระบุไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้สูงเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-แปซิฟิก
อ่านเพิ่มเติม »

ธปท.ผลักดันระบบชำระเงินดิจิทัลทางเลือกหลักคนไทยยกระดับคุณภาพชีวิต-ลดต้นทุนธุรกิจ : อินโฟเควสท์ธปท.ผลักดันระบบชำระเงินดิจิทัลทางเลือกหลักคนไทยยกระดับคุณภาพชีวิต-ลดต้นทุนธุรกิจ : อินโฟเควสท์นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงทิศทางการพัฒนาระบบชำระเงินดิจิทัลของไทยว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ก.ย.65 ธปท.ได้มีการประกาศทิศทางการพัฒนาระบบการชำระเงินภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์การพัฒนาระบบการชำระเงินในระยะ 3 ปี (2565-2567) เพื่อให้ระบบการชำระเงินดิจิทัล ทำหน้าที่เป็นกลไกสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของภาคการเงิน ไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ที่ผ่านมา ระบบการชำระเงินดิจิทัลของไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แผนการพัฒนาระบบการชำระเงิน 4 ฉบับ ทั้งในเรื่องการวางรากฐาน การพัฒนาบริการใหม่ ซึ่งพร้อมเพย์ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 59 ถึงปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนถึง 71 ล้านหมายเลข มีปริมาณธุรกรรมวันละ 38 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าถึง 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการต่อยอดบริการที่หลากหลาย ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นบริการชำระเงินผ่าน QR Code, การคืนภาษีเงินได้ผ่านพร้อมเพย์, การจ่ายเงินช่วยเหลือจากผลกระทบโควิด และเงินสวัสดิการต่างๆ จากภาครัฐ, การบริจาคผ่าน E Donation และการเชื่อมโยงระบบการชำระเงิน-โอนเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น โดยระบบพร้อมเพย์ของไทย มีการเชื่อมโยงกับระบบ …
อ่านเพิ่มเติม »

นายกฯ ดัน 3 แกนหลักพัฒนาชาติ ชูระบบรางสู้โตเกียว-ลอนดอน,ยอมแข็งกร้าวแล้วต้องเสียเพื่อน : อินโฟเควสท์นายกฯ ดัน 3 แกนหลักพัฒนาชาติ ชูระบบรางสู้โตเกียว-ลอนดอน,ยอมแข็งกร้าวแล้วต้องเสียเพื่อน : อินโฟเควสท์พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Accelerating Thailand (พลิกโฉมประเทศไทย) ว่า หลักการสำคัญที่ใช้เป็นแนวทางการทำงาน คือ “ทำให้สำเร็จ” เพื่อให้สิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นจริง เตรียมความพร้อมให้ประเทศสำหรับอนาคตเพื่อคนรุ่นใหม่ ซึ่งต้องวางรากฐานตั้งแต่วันนี้ ทั้งนี้ เมื่อย้อนไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีปัญหามากคือ เรื่องปัญหาทางการเมือง ซึ่งทำให้รัฐบาลหลายยุคหลายสมัยมีความยากลำบากในการทำเรื่องสำคัญที่จำเป็นต่อการเดินหน้าประเทศ ผลที่ตามมา คือ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีระดับโลกค่อยๆลดลง คนไทยกว่า 70 ล้านคนเสียโอกาสมากมาย ทั้งๆที่เราอยู่ในประเทศที่พร้อมทุกอย่าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้มีเป้าหมายให้ประเทศเดินไปข้างหน้าบนเส้นทางเติบโตและเจริญรุ่งเรืองทุกหย่อมหญ้า และต้องยั่งยืน และเป็นเส้นทางที่คนไทยทุกคนต้องจับมือไปด้วยกันและจับมือกับประเทศเพื่อนบ้านและสังคมโลกด้วย รัฐบาลจึงให้ความสำคัญพุ่งเป้าไปที่การยกระดับความมั่งคั่งของประเทศ กระจายความเจริญรุ่งเรืองไปทุกพื้นที่ ทุกระดับในสังคม สร้างพื้นฐานที่ทำให้แข็งแรง และเดินหน้าไปสู่การปรับแก้ประเด็นทางสังคม ทั้งเรื่องความยุติธรรม ความเท่าเทียม และโอกาสในการเข้าถึงการทำมาหากิน สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานทำให้สังคมอยู่ด้วยความสงบสุขและมั่นคง เป็นหนทางที่ดีที่สุดที่นำพาประเทศไปข้างหน้า รัฐบาลได้ขับเคลื่อนกลยุทธ์ 3 แกน ประกอบด้วย แกนที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ จะทำให้เพิ่มมูลค่าสินค้า และสามารถนำนักท่องเที่ยวไปยังพื้นที่ต่างๆได้มากขึ้น …
อ่านเพิ่มเติม »

สุพัฒนพงษ์ มั่นใจเศรษฐกิจไทยแกร่ง ลุยเปิดประตูการค้า-ลงทุนหนุนฟื้นตัวต่อเนื่อง : อินโฟเควสท์สุพัฒนพงษ์ มั่นใจเศรษฐกิจไทยแกร่ง ลุยเปิดประตูการค้า-ลงทุนหนุนฟื้นตัวต่อเนื่อง : อินโฟเควสท์นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน Bangkok Post Forum 2022:Accelerating Thailand (พลิกโฉมประเทศไทย) ว่า ภาวะเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด-19 คลี่คลายไม่ได้เป็นไปตามที่มีการคาดการณ์ไว้ เพราะแทนที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องกลับมีปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่เป็นปัจจัยใหม่เข้ามาอย่างคาดไม่ถึง เช่น ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจโลกเกิดภาวะถดถอย อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของไทยเองยังมีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ เพราะสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบมีความรุนแรงน้อยกว่าวิกฤติโควิด-19 ทำให้มั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวเชิงบวกได้ดีกว่าที่เคยมีการคาดการณ์เอาไว้ ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเตรียมความพร้อมสนับสนุนให้ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีด้วยการเปิดประตูการค้าการลงทุน โดยขณะนี้มีการวางโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงทุกภูมิภาค ในฝั่งตะวันออกมีโครงสร้างถนนไปถึงประเทศกัมพูชา ส่วนฝั่งตะวันตกมีโครงข่ายถนนไปจ่อที่ชายแดนเพื่อเข้าสู่เมียนมา หากอีก 2 ปีไม่มีปัญหาความขัดแย้งภายในก็จะเชื่อมโยงเข้าไปได้ ส่วนทางเหนือก็มีโครงข่ายถนนและรถไฟเชื่อมถึงจีนตอนใต้ และทางใต้มีโครงข่ายถนนและรถไฟไปถึงสิงคโปร์ แม้การลงทุนดังกล่าวจะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นก็ตาม “ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เราพยายามทำงานตาม 3 pillar ชี้แจงให้นักลงทุนเชื่อว่าประเทศไทยมีความพร้อม ซึ่งเป็นเรื่องยากเพราะต้องทำงานท่ามกลางวิกฤตโควิด-19” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว อนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้นำเสนอกลยุทธ์ 3แกนสำคัญ (pillar) ในการสร้างอนาคตประเทศ ได้แก่ …
อ่านเพิ่มเติม »

'เจย์ วาย. ลี' ขึ้นแท่นประธานกรรมการบริหาร 'ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์' ตามโผ : อินโฟเควสท์'เจย์ วาย. ลี' ขึ้นแท่นประธานกรรมการบริหาร 'ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์' ตามโผ : อินโฟเควสท์นายเจย์ วาย. ลี หรือนายลีแจยง ผู้นำโดยพฤตินัยของบริษัทซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของบริษัทในวันนี้ (27 ต.ค.) ซึ่งนับเป็นความเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ที่ยืนยันว่า ทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลผู้ก่อตั้งจะทำหน้าที่บริหารซัมซุงอย่างเป็นทางการ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทที่นายลีมีมา นับตั้งแต่นายลี คุน ฮี ประธานซัมซุง กรุ๊ป ซึ่งเป็นบิดาของเขาเข้ารับการรักษาอาการป่วยในโรงพยาบาลในปี 2557 และเสียชีวิตเมื่อปี 2563 โดยนายลี วัย 54 ปี ดำรงตำแหน่งรองประธานของซัมซุง อิเลคโทรนิคส์มานับตั้งแต่ปี 2555 นายลีได้ถูกจำคุกเป็นเวลา 7 เดือนในคดีติดสินบนคนสนิทของอดีตประธานาธิบดีปาร์ค กึน เฮ เพื่อให้รัฐบาลสนับสนุนแผนการสืบทอดอำนาจในซัมซุง กรุ๊ป โดยนายลีได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนดแบบมีทัณฑ์บนเมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา ซัมซุงระบุในแถลงการณ์ว่า “คณะกรรมการได้ระบุถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั่วโลกที่ไม่แน่นอนในปัจจุบัน และความจำเป็นเร่งด่วนในด้านความรับผิดชอบที่แข็งแกร่งขึ้นและเสถียรภาพทางธุรกิจในการอนุมัติคำแนะนำในการแต่งตั้งนายลี” การแต่งตั้งนายลีมีขึ้นในขณะที่ซัมซุง ผู้ผลิตชิปหน่วยความจำและโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ เผชิญกับปัญหาทางธุรกิจเพิ่มขึ้น ท่ามกลางความต้องการด้านเทคโนโลยีทั่วโลกที่ตกต่ำลงอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่ซบเซา ทั้งนี้ ซัมซุงเปิดเผยผลกำไรไตรมาส 3/2565 ทรุดตัวลงรุนแรงถึง 23.6% …
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-27 00:42:09