เรื่องใหญ่ร้อนๆที่กำลังเผชิญระหว่าง จีน VS สหรัฐฯ จีน สหรัฐฯ
ไต้หวันซึ่งมีจำนวนประชากรอาศัยอยู่แค่ 23 ล้านคน และมีอาณาเขตอยู่ชิดติดกับจีนแผ่นดินใหญ่เพียง 80 ไมล์ แม้ไต้หวันจะเป็นประเทศเล็กๆก็ตาม แต่ขณะนี้ได้กลายเป็นชนวนสร้างความตึงเครียดที่อาจจะทำให้เกิดวิกฤติอันล่อแหลมอีกครั้งบนโลกกลมๆใบนี้
และถึงแม้ว่าบทบาทของไต้หวันส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแค่เพียงในระดับภูมิภาค อาทิเช่น ไต้หวันเข้าไปเป็นสมาชิกร่วมกับธนาคารเพื่อพัฒนาแห่งเอเชีย และฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก รวมไปถึง องค์การการค้าโลก แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในระดับเวทีโลกแทบทั้งสิ้น และเมื่อประธานาธิบดีโจ ไบเดน เข้าสู่ทำเนียบขาว ปรากฏว่าเขาเข้ามาดำเนินนโยบายที่มีความคล้ายคลึงกับอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ โดยยังดำเนินการขายอาวุธให้แก่ไต้หวันอย่างต่อเนื่อง และยังปรากฏอีกด้วยว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดนคือประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐฯที่ได้ส่งเทียบเชิญให้ตัวแทนของไต้หวันไปร่วมในพิธีรับตำแหน่งของตน
อนึ่งจากการพูดคุยเจรจาสนทนากันระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2022ที่เพิ่งผ่านมาเป็นเวลานานกว่าสองชั่วโมง โดยการสนทนาตอนหนึ่งของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้ออกมากล่าวคำเตือนอย่างค่อนข้างรุนแรงต่อประธานาธิบดีโจ ไบเดนว่า “ห้ามสหรัฐฯเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของจีนโดยเด็ดขาด”
เป็นที่น่าสังเกตอีกเช่นกันว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม2022ที่ผ่านมาประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ส่ง “นายพลเว่ย เฟิงเหอ” รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเข้าไปร่วมประชุมระดับนานาชาติที่ประเทศสิงคโปร์ และในการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมท่านนี้ยังได้เปิดเผยออกมาว่า “หากมีความจำเป็นประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก็มีความพร้อมที่จะใช้กองกำลังทหารบุกเข้าไปยึดไต้หวัน”
อีกทั้งนักวิเคราะห์ทั่วไปต่างก็ลงความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า “หากจีนบุกจู่โจมไต้หวันจริงๆ ไต้หวันคงไม่มีขีดความสามารถในการปกป้องตนเองจากการรุกรานของจีนได้ หากไต้หวันไม่ได้รับการสนับสนุนจากภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐอเมริกา”
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
กองทัพจีน ซ้อมรบ ระดมยิงขีปนาวุธช่องแคบ จีน - ไต้หวันกองทัพจีน ซ้อมรบ ระดมยิงขีปนาวุธไปยังช่องแคบจีน - ไต้หวัน พร้อมระบุว่า ผลของการซ้อมรบเป็นไปอย่างแม่นยำและตามที่คาดไว้
อ่านเพิ่มเติม »
จีน “คว่ำบาตรการค้า” สั่งสอนไต้หวัน มีสินค้าอะไรบ้างเช็คที่นี่นอกเหนือจากการซ้อมรบใหญ่ 4 วันทั้งทางน้ำและทางอากาศ ซึ่งเท่ากับเป็นการซ้อม “ปิดล้อม” ไต้หวันแล้ว จีนยังตอบโต้กรณีนางแนนซี เพโลซี ปธ.สภาผู้แทนสหรัฐเยือนไต้หวันเมื่อวันที่ 2-3 ส.ค. ด้วย“มาตรการทางเศรษฐกิจ” ระงับนำเข้า-ส่งออกสินค้าหลากหลายรายการ มีผลทันที
อ่านเพิ่มเติม »
“ศักดิ์สยาม” ติดตามคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-ลาว-จีน สั่งทล.ศึกษาแนวทางสร้างสะพานข้ามน้ำโขงแห่งใหม่“ศักดิ์สยาม” ติดตามคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-ลาว-จีน สั่งทล.ศึกษาแนวทางสร้างสะพานข้ามน้ำโขงแห่งใหม่ via MatichonOnline
อ่านเพิ่มเติม »
จีน เตือนอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก กระทบระบบนิเวศ-พืชผลลดลงสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ว่า อุณหภูมิพื้นดินเฉลี่ยของจีนเพิ่มขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา และจะยังคงสูงขึ้นอย่างมากในอนาคต เนื่องจากความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น
อ่านเพิ่มเติม »
สื่อนอกวิเคราะห์ TSMC ถูกจับจ้องในศึกสหรัฐ-จีน จากผลพวงทริป 'เพโลซี' : อินโฟเควสท์สำนักข่าวซีเอ็นบีซีนำเสนอบทวิเคราะห์ โดยระบุว่า กรณีการเดินทางเยือนไต้หวันของนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ส่งผลให้ผู้คนหันมาสนใจบทบาทของไต้หวันในด้านซัพพลายเชนชิประดับโลก โดยเฉพาะกับบริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง คอมพานี (TSMC) ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก เซมิคอนดักเตอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในสมาร์ตโฟนไปจนถึงรถยนต์และตู้เย็น ได้กลายเป็นองค์ประกอบหลักในการหักเหลี่ยมเฉือนคมด้านเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐกับจีนในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยวิกฤตชิปขาดแคลนที่ผ่านมาเป็นตัวกระตุ้นให้สหรัฐพยายามหาหุ้นส่วนด้านเซมิคอนดักเตอร์กับชาติพันธมิตรในเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เพื่อเป็นการรับประกันว่าจะมีชิปมากพอและรักษาความเป็นผู้นำเหนือจีน ทั้งนี้ เป็นที่วิตกกันว่าหากจีนบุกไต้หวัน อาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อโครงสร้างอำนาจในตลาดชิปโลก โดยจะทำให้จีนครองอำนาจควบคุมเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นอกจากนี้ การบุกไต้หวันก็อาจทำให้เกิดภาวะชิปขาดแคลนทั่วโลกอีกด้วย นายอบิชูร์ ปรากาช ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาศูนย์นวัตกรรมแห่งอนาคตเปิดเผยกับซีเอ็นบีซีผ่านทางอีเมลว่า “เป็นไปได้สูงว่าจีนจะ ‘โอนกิจการ TSMC มาเป็นของรัฐ’ แล้วเริ่มผนวกบริษัทและเทคโนโลยีดังกล่าวเข้าในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีน” ขณะเดียวกัน TSMC ก็อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ-จีน และอาจถูกบีบให้ต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่ง “อันที่จริง บริษัทอย่าง TSMC อาจได้ ‘เลือกข้างไปแล้ว’ ด้วยซ้ำ จากการที่บริษัทกำลังลงทุนในสหรัฐเพื่อสนับสนุนการผลิตชิปของอเมริกา แถมยังเคยกล่าวว่าต้องการร่วมงานกับ ‘ฝ่ายประชาธิปไตย’ อย่างสหภาพยุโรป (EU) ในด้านการผลิตชิปอีกด้วย” นายปรากาชกล่าว “หลายบริษัทกำลังแสดงออกถึงความคิดทางการเมืองกับประเทศที่ร่วมงานด้วยมากขึ้นเรื่อย ๆ คำถามก็คือ เมื่อความตึงเครียดระหว่างไต้หวันกับจีนเพิ่มขึ้น TSMC จะยังคงรักษาจุดยืน …
อ่านเพิ่มเติม »