เมื่อมังกรพลิกโฉมอาชีวะสู่ระดับโลก (ตอนจบ) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร TNN TNNONLINE TNNThailand TNNช่อง16
หากไม่มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือที่เหมาะสม คุณภาพของแรงงานจะไม่สามารถใช้กับเครื่องจักรเครื่องมือในอนาคตได้ งานวิจัยหนึ่งเคยประเมินไว้ว่า ราว 50% ของแรงงานจีนจะตกงานภายในปี 2030 รัฐบาลจีนก็ตระหนักดีถึงข้อห่วงใยดังกล่าว และไม่ต้องการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าเหล่านั้นไป
และจีนยังจะเดินหน้าดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยจนถึงปี 2025 จีนวางแผนจะจัดกิจกรรมฝึกอบรมแก่บุคลากรของภาคธุรกิจและกลุ่มการจ้างงานหลักรวมมากกว่า 20 ล้านกิจกรรม และพัฒนาทักษะฝีมือระดับสูงแก่บุคลากรมากกว่า 2 ล้านคน!!! เทียนจินถือเป็นหนึ่งในจุดกำเนิดของอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่และการศึกษาทันสมัยของจีน รวมทั้งยังเป็นพื้นที่การปฏิรูปอาชีวศึกษา การสาธิตนวัตกรรม และเจ้าภาพการแข่งขันทักษะฝีมือระดับชาติมาหลายครั้งจีนยังสร้างเวทีการแข่งขันด้านอาชีวศึกษาระดับชาติและนานาชาติ และให้ความสำคัญกับการยกระดับการจัดการด้านครูอาจารย์และตำราอย่างจริงจัง โดยจัดตั้งรางวัลพิเศษระดับชาติขึ้นมากมายเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ครูอาจารย์ อาทิ การแข่งขันด้านเครื่องมืออุปกรณ์ดิจิตัล และการพิมพ์ 3 มิติ...
นี่ถือเป็นการปรับปรุงสาระของกฎหมายฉบับปี 1996 หรือครั้งแรกในรอบ 26 ปีเลยทีเดียว ทั้งนี้ สาระสำคัญของกฎหมายฉบับใหม่นี้มุ่งสร้าง “ความเท่าเทียม” ระหว่างการศึกษาระหว่างมัธยมปลายกับ ปวช. และอนุปริญญาตรีกับ ปวส. ผ่านระบบ “กาลักน้ำ” ให้การพัฒนาคนในสองระบบไหลลื่นระหว่างกันมากขึ้น ขณะเดียวกัน ระบบการศึกษาของจีนก็ใกล้เปิดเสรีแก่เอกชนและต่างชาติมากขึ้น ในด้านหนึ่งเพื่อหวังเอาประโยชน์จากระบบการบริหารจัดการและการเรียนการสอนที่ทันสมัย คณาจารย์ที่มีความรู้และประสบการณ์ และอื่นๆ จากต่างประเทศแต่ในอีกด้านหนึ่ง ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนและต่างชาติจะเป็นไปอย่างเหมาะสม กล่าวคือ ค่าเล่าเรียนไม่แพง หรือสร้างภาระทางการเงินแก่พ่อแม่ผู้ปกครองจีนมากเกินไป สอดคล้องกับแคมเปญ “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ที่เป็นเสมือน “ร่มใหญ่”...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เมื่อมังกรพลิกโฉมอาชีวะสู่ระดับโลก (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสารเมื่อหลายวันก่อนผมได้มีโอกาสร่วมเสวนาในเรื่องการสร้างคนอาชีวะเพื่อรองรับความต้องการของโลกในอนาคต และหนึ่งในคำถามของผู้ดำเนินรายการก็คือ จีนประสบปัญหาการพัฒนาคนในด้านนี้หรือไม่ ถ้าม
อ่านเพิ่มเติม »
Commonsense is not Common ฉากที่ 10Commonsense is not Common ฉากที่ 10 : คอลัมน์เปิดมุกปลุกหมอง โดย...ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3821
อ่านเพิ่มเติม »
นโยบายการกำกับดูแลและภาษี'บุหรี่ไฟฟ้า'ในต่างประเทศ (1)นโยบายการกำกับดูแลและภาษีของ'บุหรี่ไฟฟ้า'ในต่างประเทศ (1) : คอลัมน์แก้เกมเศรษฐกิจการเมือง โดย ศ.ดร.อรรถกฤต ปัจฉิมนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,821 หน้า 10 วันที่ 25 - 28 กันยายน 2565
อ่านเพิ่มเติม »
เกินจินตนาการ! เฟดเขย่าตลาดพันธบัตรโลกดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ไม่มีที่หลบภัย !!!
อ่านเพิ่มเติม »
ตรึงเงินบาท ทำไมเป็นสิ่งที่แบงก์ชาติไม่ควรทำ? นักเศรษฐศาสตร์เผยแนวทางแก้บาทอ่อนดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) เปิดเผยผ่านทาง Blockdit ชื่อ Pipat Luengnaruemitchai เปิดเผยถึงเหตุผลที่แบงก์ชาติไม่ควรตรึงค่าเงินบาท
อ่านเพิ่มเติม »