เปิดรายงานกมธ.(1) เจาะลึก 5 ปัญหาเชิงโครงสร้าง‘หนี้ครู’ ต้นตอครูอาจต้องเป็นหนี้ไปจนตาย?

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

เปิดรายงานกมธ.(1) เจาะลึก 5 ปัญหาเชิงโครงสร้าง‘หนี้ครู’ ต้นตอครูอาจต้องเป็นหนี้ไปจนตาย?
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 isranews_agency
  • ⏱ Reading Time:
  • 242 sec. here
  • 6 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 100%
  • Publisher: 53%

เปิดรายงานกมธ.(1) เจาะลึก 5 ปัญหาเชิงโครงสร้าง‘หนี้ครู’ ต้นตอครูอาจต้องเป็นหนี้ไปจนตาย? isranews สำนักข่าวอิศรา

แม้ว่าในช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลชุดต่างๆได้เดินหน้าแก้ปัญหา ‘หนี้สินครู’ อย่างจริงจัง

แน่นอนว่าการที่ครูกำลังเผชิญปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากครูมีความต้องการที่จะจับจ่ายใช้สอยจึงไปกู้ยืม แต่อีกด้านที่อาจจะไม่ถูกพูดถึงกันมากนัก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเจ้าหนี้ต่างหมายปองสินเชื่อสวัสดิการที่หักเงินเดือน เนื่องจากเห็นว่าเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำ นายจ้างหรือกระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้ทำหน้าที่ หักเงินเดือนเพื่อจ่ายหนี้แก่เจ้าหนี้เป็นประจำทุกเดือน และสินเชื่อหักเงินเดือนหน้าซองของครู ถือเป็นสินเชื่อหักเงินเดือน กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย”

ทั้งนี้ โดยหลักการแล้ว ในระบบการเงินที่มีเจ้าหนี้ที่ให้กู้ยืมจำนวนหลายราย การที่จะทราบว่าการกู้ยืมที่จะให้เพิ่มเติมนั้น เกินกว่าศักยภาพที่ลูกหนี้จะกู้ได้หรือไม่ เจ้าหนี้ที่จะให้กู้จะต้องทราบว่าเจ้าหนี้รายอื่นในระบบการเงินนั้น ได้ปล่อยกู้ให้ลูกหนี้รายนั้นไปแล้วเป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงใด” ขณะเดียวกัน การที่กำหนดให้มีผู้ค้ำประกัน ทำให้สินเชื่อสวัสดิการหักเงินเดือนกลายเป็น “สินเชื่อเพื่อความแตกแยก” เพราะเมื่อลูกหนี้มีปัญหาจ่ายหนี้ไม่ได้ ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันระหว่างลูกหนี้กับผู้ค้ำประกัน หรือระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกันเอง

ทั้งนี้ ในระหว่างที่ผ่อนจ่ายหนี้ ผู้กู้ได้ทำการกู้ยืมกับสหกรณ์เพิ่ม 1 ล้านบาท ผู้ค้ำประกันก็ถูกเรียกให้ต้องรับภาระในส่วนนี้ด้วย แม้จะไม่ได้ตกลงว่าจะค้ำประกันส่วนนี้ด้วย แต่ต้องรับผิดชอบเสมือนหนึ่งผู้กู้ร่วม 1.แม้ว่าสินเชื่อสวัสดิการหักเงินเดือน โดยรวมมีความเสี่ยงต่ำไม่เกิน 1% เจ้าหนี้กลับมีข้อกำหนดในลักษณะกึ่งบังคับให้ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องซื้อประกันสินเชื่อ หรือทำฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยกำหนดว่าเรื่องนี้จะเป็นหนึ่งในปัจจัยมีผลต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

โดยหลักการแล้วในเดือนหนึ่ง เงินเดือนที่ครูได้รับจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ กล่าวคือ ส่วนที่ครูต้องนำไปชำระหนี้สินต่างๆที่มี และ แม้จะเป็นหนี้ ถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ครูควรจะสามารถมีเงินเดือนเหลือไว้เพื่อใช้ดำรงชีวิต ซึ่งตามหลักมาตรฐานที่ดีของสากล เงินส่วนนี้ควรมี 40-50% ของเงินเดือน แต่ปรากฎว่าในปี 2562 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2,919 ราย ได้ยื่นฟ้อง รมว.ศึกษาธิการกับพวกต่อศาลปกครองกลาง โดยอ้างว่า รมว.ศึกษาธิการและพวก ละเลยต่อหน้าที่ ไม่มีหนังสือแจ้งเวียนสั่งการให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการหักเงินให้เป็นไปตามระเบียบฯ residual income 30%

ในขณะที่ครูกลุ่มที่ยังทำงานอยู่จำนวนไม่น้อย กำลังเผชิญกับปัญหาจาก “ปรากฏการณ์ residual income 30 ทิพย์” เช่นกัน เมื่อกระทรวงศึกษาธิการจ่ายเงินเดือนให้ครู ครูจำเป็นต้องนำเงินที่ได้รับมาไปจ่ายให้เจ้าหนี้ที่ยังไม่สามารถเก็บหนี้ได้ เนื่องจากเงินเดือนในส่วนของ 70% แรก เจ้าหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูมักจะเป็นผู้ที่จัดเก็บได้เพียงผู้เดียว

เรื่องนี้ มีตัวอย่างจริงของครูรายหนึ่งในจังหวัดสระแก้ว คือ ครูรายนี้มีเงินเดือน 46,120 บาท แต่ถ้าดูข้อมูลเงินค่างวดที่เจ้าหนี้เรียกเก็บทั้งส่วนที่เป็นสินเชื่อสวัสดิการและสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ และรายการที่ครูต้องจ่ายหลังได้รับเงินเดือน อาทิ หนี้บัตรเครดิต และหนี้นอกระบบ พบว่าเจ้าหนี้เรียกเก็บหนี้ในแต่ละเดือน รวมทั้งสิ้น 66,310 บาท

ปัญหายิ่งรุนแรงกรณีที่มีรายการการหัก ค่าซื้อหุ้นสหกรณ์มาก ค่าธรรมเนียมต่างๆ ดอกเบี้ยผิดนัดชำ ระหนี้ และ ดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาถ้าอยู่ในระดับสูง ก็ยิ่งทำให้เม็ดเงินที่ครูจ่ายชำระหนี้เข้ามา มีโอกาสตัดถึงเงินต้น น้อย หรือแทบจะตัดไม่ถึงเงินต้นเลย เมื่อการกำหนดลำดับการตัดชำระหนี้นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก และมีนัยที่สามารถสร้างผลกระทบที่กว้างไกลต่อชีวิตลูกหนี้ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการในฐานะ “นายจ้าง” ของครู สามารถที่จะเป็นคนกลางที่เป็นตัวแทนของ ครูเข้ามาช่วยเหลือเจรจากับเจ้าหนี้ขอให้ปรับปรุงลำดับการตัดชำระหนี้ให้เหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น เพื่อที่ครูจะต้องไม่ใช้หนี้นานกว่าที่ควรจะเป็นเหมือนอย่างที่ผ่านมา

นัยของแนวปฏิบัติดังกล่าวที่สำคัญ คือ ถ้าลูกหนี้มีการค้างชำระค่างวดหลายงวด โอกาสที่ลูกหนี้จ่ายชำระหนี้เข้ามาแล้วจะตัดถึงเงินต้นมีน้อยมาก ลูกหนี้จำนวนไม่น้อยจึงติดอยู่ในกับดักวังวนหนี้สิน นอกจากนี้ การที่นายจ้างทำหน้าที่จัดเก็บหนี้ ทำให้ต้นทุนในการดำเนินการ หรือ operating cost ลดลงด้วย ซึ่งในต่างประเทศอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อในลักษณะเดียวกันนี้ หรือ payroll credit จะอยู่เพียง 2-3% ต่อปีเท่านั้น

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรายละเอียดของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 108 แห่ง พบว่าที่คิดอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่า 5% ต่อปี มีเพียง 7 แห่ง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 5-6% ต่อปี มี60 แห่ง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 6-7% ต่อปีมี 28 แห่ง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มากกว่า 7% ต่อปี มี 10 แห่ง อัตราเงินปันผลหุ้นของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่มีการปันผลสูง 4-8% ต่อปีซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ว่าในเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล รวมทั้งเปรียบเทียบกับการ ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่ผลตอบแทนเมื่อเทียบกับราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่เฉลี่ยอยู่ที่ 2.

แนวปฏิบัติของสินเชื่อกรุงไทยธนวัฏที่ เงินที่ครูจ่ายหนี้ในแต่ละเดือนจะเป็นดอกเบี้ยทั้งหมด ไม่ต่างจากการจ่าย “ดอกลอยของหนี้นอกระบบ” จนกระทั่งครูอายุ 57 ปี ถึงจะมาเร่งให้ข้าราชการจ่ายหนี้ก้อนนี้ให้จบก่อนจะเกษียณที่อายุ 60 ปี นอกจาก สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏแล้ว ธนาคารกรุงไทยยังปล่อยสินเชื่ออเนกประสงค์ให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ กู้ด้วยอัตราดอกเบี้ย 12% ซึ่งก็นับว่าห่างไกลจากเป็นสินเชื่อสวัสดิการที่แท้จริง”ปัญหาบทบาทและผลประโยชน์ที่ทับซ้อนกันของ นายจา ้ งและเจา ้ หน ้...

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

isranews_agency /  🏆 38. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

เลือกตั้ง 66 : เนชั่นวิเคราะห์ “ตราด” พรรคเพื่อไทยมีโอกาสเข้าสภามากที่สุดเลือกตั้ง 66 : เนชั่นวิเคราะห์ “ตราด” พรรคเพื่อไทยมีโอกาสเข้าสภามากที่สุดเนชั่นวิเคราะห์ เจาะลึก ส.ส.เขต จังหวัดตราด ประเมิน “ทินวัฒน์ เจียมอุย” แห่ง “พรรคเพื่อไทย” มีโอกาสกวาดคะแนนเข้าสภามากที่สุด อ่านบทความ เนชั่นวิเคราะห์ พรรคเพื่อไทย ตราด NationOnline
อ่านเพิ่มเติม »

เจาะลึก 'พรรคพลัง' ปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 9 ม้ามืด กระแสมาแรง นโยบายทุกด้านจัดเต็มเจาะลึก 'พรรคพลัง' ปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 9 ม้ามืด กระแสมาแรง นโยบายทุกด้านจัดเต็มเจาะลึก “พรรคพลัง” ปาร์ตี้ลิสต์ เบอร์ 9 ม้ามืด กระแสมาแรง นโยบายทุกด้านจัดเต็ม พรรคใหม่ นโยบายใหญ่ “เลือกคนทำงาน เลือกพรรคพลัง” กา เบอร์ 9 ก้าวแรก ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
อ่านเพิ่มเติม »

10 แบงก์โกยกำไรไตรมาส 1 พุ่ง 6 หมื่นล้าน10 แบงก์โกยกำไรไตรมาส 1 พุ่ง 6 หมื่นล้าน10 ธนาคารพาณิชย์แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาสแรก ปี 2566 กำไรสุทธิรวม 60,138 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,130 ล้านบาท หรือ 13.45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้าน SCB กำไรสูงสุด ส่วน BBL เพิ่มขึ้นกว่า 3,011 ล้านบาท และ KBANK ลดลง 470 ล้านบาท
อ่านเพิ่มเติม »

ธ.กรุงเทพ เผยไตรมาส 1 ปี 66 กำไรพุ่ง 10,129 ล้านบาท อานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้นธ.กรุงเทพ เผยไตรมาส 1 ปี 66 กำไรพุ่ง 10,129 ล้านบาท อานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้นธนาคารกรุงเทพ ผลผลงานไตรมาส 1 ปี 66 ทำกำไรสุทธิ จำนวน 10,129 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.3% จากรายได้ดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น พร้อมตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิต ไว้ที่ 8,474 ล้านบาท
อ่านเพิ่มเติม »

KBANK โชว์ไตรมาส 1 กำไร 10,741 ล้านบาท เผยลูกค้ารายใหญ่ส่อเบี้ยวหนี้KBANK โชว์ไตรมาส 1 กำไร 10,741 ล้านบาท เผยลูกค้ารายใหญ่ส่อเบี้ยวหนี้“กสิกรไทย” ผลดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 66 โกยกำไรสุทธิ 10,741 ล้านบาท ลดลง -4.19% จากปีก่อน เป็นผลจากตั้งสำรองสูงขึ้นที่ 12,692 ล้านบาท เพื่อรับมือเศรษฐกิจผันผวน เผย...
อ่านเพิ่มเติม »

ธอส. โชว์ผลงานไตรมาส 1 ปล่อยสินเชื่อใหม่ 55,212 ล้านบาท กำไร 2,689 ล้านบาทธอส. โชว์ผลงานไตรมาส 1 ปล่อยสินเชื่อใหม่ 55,212 ล้านบาท กำไร 2,689 ล้านบาทธอส. เปิดผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ปี 66 ปล่อยสินเชื่อใหม่ 55,212 ล้านบาท กำไร 2,689 ล้านบาท ขณะที่ NPL อยู่ที่ 4.12% ชี้โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนและโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3 ยังได้รับความสนใจสูง คาดสิ้นปีปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ตามเป้า 235,480 ล้านบาท
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-27 03:17:03