เปิดเอกสารลับกฤษฎีกา ตีความอำนาจ กสทช. ดีลควบรวม ทรู-ดีแทค ฐานเศรษฐกิจ
หลังจากทุกฝ่ายเฝ้ารอคำตอบจาก “คณะกรรมการกฤษฎีกา” กรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ทำหนังสือไปถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผ่านรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ใช้อำนาจสั่งการให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตอบข้อหารือในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ กสทช.และ สำนักงาน กสทช.ในการพิจารณาการรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือ ดีแทค นั้นล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ก.ย.
โดยระบุว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณาข้อหารือของสำนักงาน กสทช.ทั้ง 6 ข้อแล้ว โดยมีผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ผู้แทนสำนักงาน กสทช.เป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า ข้อหารือที่สำนักงาน กสทช.ร้องขอมาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ดุลยพินิจตามกฎหมายของ กสทช. คณะกรรมการกฤษฎีกา จึงไม่อาจให้ความเห็นในส่วนที่เป็นการใช้ดุลยพินิจ รวมทั้งการกำหนดมาตรการ หรือเงื่อนไขต่างๆ อันเป็นหน้าที่ และอำนาจของ กสทช.
ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดในกิจการโทรคนาคม ปี 2557 ประกาศ กสทช.เรื่องมาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ปี2561 ซึ่งประกาศฉบับปี 2553 นั้น ได้กำหนดให้การรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมต้องได้รับอนุญาตจาก กสทช.ก่อน แต่ต่อมาในปี 2561 กสทช.
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ดีแทค จุดประกายการถกเถียง #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา จับมือ กทม. จัดกิจกรรมโต้วาที Battle for Betterดีแทค ร่วมกับ กทม. ในฐานะเอกชนภาคีเครือข่าย จัดงานเดือนกันยายน เทศกาลเดือนเด็กและเยาวชน “BKK เรนเจอร์ รวมพลังเด็กเปลี่ยนเมือง” เปิดโต้วาที Battle for Better รอบชิงชนะเลิศ
อ่านเพิ่มเติม »
กฤษฎีกาเคาะทางออกดีลทรูดีแทค ให้ยึดตามประกาศปี 61 กสทช.รับทราบและออกเงื่อนไข - ข่าวสดกฤษฎีกาเคาะทางออกดีลทรูดีแทค ให้ยึดตามประกาศปี 61 กสทช.รับทราบและออกเงื่อนไข
อ่านเพิ่มเติม »
ควบรวมทรู-ดีแทค วุ่นไม่เลิก! ขุดที่ปรึกษาอิสระ กสทช.ผลประโยชน์ทับซ้อนดีลควบรวมทรู-ดีแทค ฝุ่นตลบ ขุดที่ปรึกษาอิสระ สำนักงาน กสทช. “ฟินันซ่า” ไม่อิสระ โยงใย “ทรู” ระบุ กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบกรณีการควบรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่าง ทรูและดีแทคของสภาผู้แทนราษฎร ร่อนหนังสือนายกฯ หลังตรวจสอบบริษัทที่ปรึกษาอิสระ มีผลประโยชน์ทับซ้อน
อ่านเพิ่มเติม »
สภาองค์กรผู้บริโภคเชิญชวนคนไทยช่วยกันบีบ ให้ กสทช. ใช้อำนาจพิจารณาดีล true - dtac | DroidSansดูเหมือนว่าประเด็นเรื่องดีลของ ทรู – ดีแทค จะยังไม่จบง่าย ๆ นะคะ เพราะล่าสุดทางสภาองค์กรผู้บริโภคถึงกับส่งจดหมายเปิดผนึกถึง กสทช.เรียกร้องให้ออกมาทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในการพิจารณาคดีข้อเสนอขอควบรวมกิจการของ ทรู – ดีแทค เรามาอ่านรายละเอียดกันค่ะว่าข้อกฎหมายจะไปถึงไหนกัน แล้วบทสรุปจะออกมายังไงบ้าง การผูกขาดในธุรกิจโทรคมนาคมเป็นประเด็นใหญ่ที่มากระทบต่อโครงสร้างของเศรษฐกิจประเทศ และสิทธิพลเมืองในยุค 5G เนื่องจากปัจจุบันอินเทอร์เน็ตถือเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ไปแล้วนั่นเองค่ะ จึงเห็นว่าการผูกขาดจาก 2 ค่ายนี้ไม่ได้สร้างผลประโยชน์อะไร แถมยังจะกระทบโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความเสมอภาค รวมไปถึงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการแสดงออกอีกด้วย ทางสภาองค์กรผู้บริโภคเห็นว่าการที่ กสทช.ไม่ทำหน้าที่พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตควบรวมกิจการแบบนี้ เป็นการแสดงออกถึงความไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคค่ะ […]
อ่านเพิ่มเติม »
ก้าวไกล จ่อฟ้อง กสทช.ละเว้นใช้อำนาจเคาะดีลควบรวม TRUE-DTAC ชี้กฤษฎีกาตีความไม่มีผล : อินโฟเควสท์น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า กรณีที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1 ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ได้พิจารณาขอบข่ายอำนาจของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อการควบรวมธุรกิจ ทรู-ดีแทค แล้วมีมติว่า กสทช.ไม่มีอำนาจสั่งการนั้น ส่วนตัวถือว่าเกินความคาดหมาย แต่การที่ กสทช.พยายามหาพิงหลังจากการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา เชื่อว่าไม่เพียงพอที่จะสามารถหลุดรอดการใช้อำนาจของตัวเองไปได้ ซึ่งอยากให้ กสทช.คิดใหม่ เพราะความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่มีอำนาจผูกพันในองค์กรอิสระ การที่มีมติ 3 ต่อ 2 เพื่อยื่นไปยังนายกรัฐมนตรี ขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความก็ใช้ได้เพียงแค่กรณีเป็นการภายใน ไม่มีผลผูกพัน ไม่สามารถเป็นที่พิงหลังให้กับ กสทช ได้ ขณะเดียวกันเรื่องที่มีการฟ้องร้องในชั้นศาลปกครองก็เป็นเพียงความเห็นเบื้องต้นยังไม่เป็นที่สิ้นสุด การที่ กสทช.จะมีอำนาจพิจารณาอนุญาตไม่ใช่ความผิดปกติ กสทช.อาจใช้อำนาจของตัวเองอนุมัติอนุญาตการควบรวมครั้งนี้ก็ทำได้ แต่การถอยร่นไปจนถึงว่าตัวเองไม่มีอำนาจหรือว่าพยายามที่จะตัดอำนาจให้พ้นตัว หากมองอีกมุมก็เป็นคนไม่หวงอำนาจ หรือไม่ใช้อำนาจของตัวเองอย่างเต็มความสามารถเพื่อทำหน้าที่ตาม พ.ร.บ.กสทช.และตามรัฐธรรมนูญเพื่อปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน ส่วนกรณีที่ กสทช.จะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่นั้น พรรคก็อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าขัดต่อมาตรา 157 หรือไม่ แต่เนื่องจากยังมีกระบวนการเตะถ่วงยื้อเวลาไปเรื่อย ทำให้พรรคยังไม่สามารถยื่นฟ้องความผิดฐานขัดมาตรา 157 ได้ในเวลานี้ แต่เมื่อไหร่ที่ …
อ่านเพิ่มเติม »
ลุ้น กสทช. ลงมติดีลควบ 'ทรู-ดีแทค' ไปต่อหรือพอแค่นี้ลุ้นพรุ่งนี้ กสทช. ลงมติดีลควบรวมกิจการ 'ทรู-ดีแทค' ได้ไปต่อหรือไม่ มีชัย ฤชุพันธุ์ นั่งประธาน ตีความอำนาจ กสทช. ตามคำสั่ง พล.อ.ประวิตร
อ่านเพิ่มเติม »