กสม. เปิดผลสอบ 'รพ.ตำรวจ-เรือนจำ' ชี้เลือกปฏิบัติ เข้าข่ายเอื้อประโยชน์ 'ทักษิณ' ปมนักโทษชั้น 14 อาจเป็นการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
เปิด ผลสอบ กสม . ชี้ รพ.ตำรวจ-เรือนจำ เอื้อประโยชน์ "ทักษิณ" ปมนักโทษชั้น 14 กสม . เปิด ผลสอบ "รพ.ตำรวจ-เรือนจำ" ชี้เลือกปฏิบัติ เข้าข่ายเอื้อประโยชน์"ทักษิณ" ปมนักโทษชั้น 14 อาจเป็นการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
โดยพิจารณาจากการชี้แจงข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานต่าง ๆ จากโรงพยาบาลราชทัณฑ์ กรมราชทัณฑ์ บันทึกการประชุมต่าง ๆ ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เรือนจำปทุมธานี และเรือนจำพิเศษมีนบุรี บันทึกการให้ถ้อยคำของแพทย์ในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ บันทำการให้ถ้อยคำของผู้แทนสถาบันโรคทรวงอก รวมถึงข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบ จากผู้ร้อง1.
3.ผู้ถูกร้องที่ 1 รับตัวนายทักษิณ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 เวลาประมาณ 11.30 น.
ได้แก่ สถาบันโรคทรวงอก 5 ราย โรงพยาบาลตำรวจ 16 ราย สถาบันประสาทวิทยา 2 ราย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 1 ราย โรงพยาบาลวชิรพยาบาล 1 ราย โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 1 ราย โรงพยาบาลราชวิถี 1 ราย และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 1 ราย ทั้งนี้ ช่วงปี 2563-2565 เป็นช่วงการแพร่ระบาดของโรค Covid-191.
เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ผ่าตัด และต้องให้เคมีบำบัดซึ่งต้องไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ แต่การเดินทางจากผู้ถูกร้องที่ 2 ไปโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ จะสะดวกกว่าจากทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ไปโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ แพทย์จะให้พักรักษากับผู้ถูกร้องที่ 2 ต่อเนื่องจนกว่าอาการจะดีขึ้น และได้รับแจ้งทางโทรศัพท์อีกครั้งว่าขณะนี้ห้องคนไข้เต็มทุกอาคาร ตนจึงให้ส่งไปห้องใด ๆ ที่ยังว่าง เมื่อไปตรวจจึงทราบว่า คนไข้ คือ นายทักษิณ ซึ่งขณะนั้นสวมหน้ากากออกซิเจน และยังสื่อสารรู้เรื่องแต่ตอบสนองช้า ตนจึงรักษาเบื้องต้นและประเมินอาการเพื่อนำไปปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
7. สาเหตุที่ นายทักษิณ ต้องพักรักษาตัวเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากมีโรคประจำตัวหลายโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคความเสื่อมของกระดูกต้นคอ กระดูกหลัง โรคปอดเรื้อรัง โดยมีหลักฐานทางการแพทย์ทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบว่า มีโรคอื่นเพิ่มขึ้นด้วย จากนั้นได้เขียนใบส่งตัวไว้เพื่อให้สามารถไปรักษาที่โรงพยาบาลภายนอกได้ในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติปกติสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่อาจเกินศักยภาพของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
กฎกระทรวงการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ. 2563 ข้อ 3 วรรคหนึ่ง และข้อ 4 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักการไว้ว่า “เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำอนุญาตให้ส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ ...
กรณีผู้ต้องขังเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลภายนอกเรือนจำ เมื่อการรักษาสิ้นสุดหรืออาการทุเลา แพทย์ผู้รักษาจะพิจารณาจำหน่ายผู้ต้องขังป่วยกลับเข้าเรือนจำหรือไปพักรักษาต่อที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ดังนั้น แพทย์จะพิจารณาตามประเภทของโรคและอาการของผู้ป่วยว่าควรพักรักษาที่ห้องใด ผู้ป่วยที่จะพักห้องพิเศษได้ต้องพ้นภาวะวิกฤติและดูแลตัวเองได้หรือญาติดูแลได้ เมื่อพ้นภาวะฉุกเฉินแล้ว เรือนจำจะรับผู้ต้องขังกลับไปซึ่งเจ้าพนักงานเรือนจำที่ปฏิบัติหน้าที่เฝ้าผู้ต้องขัง จะสื่อสารกับแพทย์และพยาบาลโดยตลอด จึงทราบอาการของผู้ต้องขังอยู่แล้ว ที่ผ่านมาผู้ต้องขังส่วนใหญ่จะพักรักษาตัวไม่ถึง 30 วัน และเคยรักษาผู้ป่วยนานสุด 33 วันเป็นผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนรองศาสตราจารย์ธีระ วรธนารัตน์...
โดยตามมาตรฐานเวชปฏิบัติ แพทย์จะตรวจรักษาและประเมินผู้ป่วยเป็นระยะ รวมทั้งบันทึกความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อประโยชน์ในการทบทวนธรรมชาติของการป่วย และการตอบสนองต่อการดูแลรักษาของผู้ป่วย รวมถึงระบุแผนการดูแลรักษา และ/หรือแผนการจำหน่ายผู้ป่วยตามสถานการณ์ที่เหมาะสมจากข้อมูลด้านสุขภาพที่มีอยู่เห็นว่า อาการโดยทั่วไปของนายทักษิณถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นค่าออกซิเจนในเลือดที่ตรวจจากปลายนิ้วถือว่าต่ำกว่าปกติ...
แต่ควรมีมาตรการให้ประชาชนสามารถเชื่อได้ว่า นายทักษิณป่วยหนักจริงจนถึงขั้นที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ไม่สามารถรักษาได้ เพื่อป้องกันการใช้ช่องว่างของกฎหมายในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย การรักษาความลับของผู้ต้องขังป่วยย่อมได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ไม่ใช่ผู้ต้องขัง ยกเว้นข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่น แต่การเปิดโอกาสให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจะช่วยให้สังคมแน่ใจได้ว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติเกิดขึ้น
3. มีผู้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ขอให้ตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้นายทักษิณไปรักษาตัวนอกเรือนจำ โดยมีประเด็นที่ร้องเรียนประกอบด้วย การส่งนายทักษิณไปรักษาที่ผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่ถูกต้องเหมาะสม ผิดกฎกระทรวงในการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ. 2563 การไม่ปฏิบัติตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการตัดผมผู้ต้องขัง พ.ศ.
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 7 กำหนดให้ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ โดยหลักการดังกล่าวยังปรากฏอยู่ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 26 ที่กำหนดให้บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ
โดยให้ส่งผู้ต้องขังไปรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐเป็นลำดับแรก เว้นแต่กรณีจำเป็นหรือเหตุฉุกเฉินสามารถส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนที่ใกล้ที่สุดได้ โดยเรือนจำมีหน้าที่จัดกำลังควบคุมผู้ต้องขังเพื่อป้องกันการหลบหนีในอัตราผู้ต้องขัง 1 คน ต่อเจ้าหน้าที่ 2 คน ซึ่งการอนุญาตให้ผู้ต้องขังออกไปรักษาตัวนอกเรือนจำเกินกว่า 30 วัน ให้เรือนจำขอความเห็นชอบจากอธิบดี
กรณีผู้ถูกร้องที่ 2 รับตัวนายทักษิณ ไว้รักษาที่ห้องพักชั้น 14 อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ 88 พรรษา นั้น พิจารณาแล้วเห็นว่า สำหรับกรณีผู้ถูกร้องที่ 1 และผู้ถูกร้องที่ 2 อนุญาตให้นายทักษิณพักรักษาตัวเป็นระยะเวลานานนั้น พิจารณาแล้วเห็นว่า ในชั้นนี้จึงเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้ต้องขังด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องสถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
และข้อ 7 ในส่วนที่เกี่ยวกับกรณีที่ผู้ต้องขังรักษาตัวนอกเรือนจำเป็นเวลานานเกิน 30 วัน 60 วัน และ 120 วัน ให้ผู้บัญชาการเรือนจำมีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดีและรายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบตามลำดับชั้น พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่มีข้อกำหนดว่าหากเลยระยะเวลา 120 วันไปแล้วต้องดำเนินการอย่างไร...
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 28/2567 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 จึงมีมติว่า การที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ส่งตัวนายทักษิณไปรักษาที่ผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นการดำเนินการขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ถือเป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายและสิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของผู้ต้องขังตามสมควร
ทักษิณ ชินวัตร โรงพยาบาลตำรวจ ผลสอบ
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
คปท.จี้นายกฯ แพทองธาร ตอบปมคดีทักษิณ-นิรโทษกรรมคปท.ยื่นหนังสือถึงนายกฯ แพทองธาร คู่ขนานประชุม ครม.นัดแรก จี้ตอบปม 'ทักษิณ' พักชั้น 14 รพ.ตำรวจ รวมถึงการนิรโทษกรรมสุดซอย รวมมาตรา 112 เพื่อ 'ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์' ใช่หรือไม่ วันนี้ (17 ก.ย.2567) กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) และกองทัพธรรม จัดกิจกรรมชุมนุมปราศรัยคู่ขนานการประชุม ครม.
อ่านเพิ่มเติม »
“เสรีพิศุทธ์” เปิดแชตยันพบ“ทักษิณ”ชั้น 14 จ่อแฉ EP.2 รพ.ตำรวจ ลั่น คนเกี่ยวข้องต้องติดคุกPPTVHD36 World Class TV ละครกลับไปสู่วันฝัน รายการวาไรตี้ The Voice 2019 เกมพันหน้า กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน ถ่ายทอดสดพรีเมียร์ลีก และการแข่งขัน MotoGP 2019 ทันทุกสถานการณ์ข่าว เกาะติดดาราไทย และต่างประเทศ สุดมันกับซีรีส์ และภาพยนต์ระดับโลก
อ่านเพิ่มเติม »
เปิดผลสอบ ผู้ว่าฯ เชียงราย 'อนุทิน' ร่ายยาว ข้ออ้างฟังไม่ขึ้นเปิดผลสอบ 'พุฒิพงศ์ ศิริมาตย์' ผู้ว่าฯ เชียงราย 'อนุทิน' ร่ายยาว ข้ออ้างฟังไม่ขึ้น ชี้ มีหลายเที่ยวบินให้เลือกเดินทาง กลับไปปฏิบัติภารกิจร่วมกับรองนายกฯ และ รมต.มหาดไทย
อ่านเพิ่มเติม »
เดือดแน่! 'จตุพร' แย้มสัปดาห์หน้า 'บิ๊กป้อม' เปิดศึกเอาคืนปล่อยคลิป 'ชั้น 14' และคลิปประชุมที่บ้าน 'จันทร์ส่องหล้า'เมื่อวันที่ 14 ก.ย.67 นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน โพสต์เฟซบุ๊ก 'Jatuporn Prompan - จตุพร พรหมพันธุ์' ระบุว่า ในสัปดาห์อาจเกิดสถานการณ์ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (บิ๊กป้อม) หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เอาคืนด้วยการปล่อยคลิปชั้น 14 รพ.ตำรวจ และพรรคร่วมประชุมตั้งรัฐบาลเมื่อเย็นวันที่ 22 ส.ค.
อ่านเพิ่มเติม »
ราชทัณฑ์ ยัน 'เสรีพิศุทธ์' ไม่มีรายชื่อเยี่ยม 'ทักษิณ' รพ.ตำรวจอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยืนยันไม่เคยอนุญาตให้ 'พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์' เข้าเยี่ยม 'ทักษิณ' ชั้น 14 ที่โรงพยาบาลตำรวจ ระบุ 10 รายชื่อมีเพียงญาติและทนายความ วันนี้ (30 ส.ค.2567) นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.อ.
อ่านเพิ่มเติม »
ร้อนฉ่า! “เสรีพิศุทธ์” เตรียมแฉ ความลับชั้น 14 รพ.ตำรวจติดตามข่าวอีจัน ข่าวเกาะติดกระแส ข่าวล่าสุด คลิปข่าวล่าสุด ข่าวร้อนล่าสุด อีจันบันเทิง อาชญากรรม คดีดัง สืบสวนสอบสวน ข่าววันนี้ ทันทุกเหตุการณ์ ทุกเรื่องเด่น ทุกประเด็นร้อน อัพเดทข่าวสด รู้ข่าวสารก่อนใคร
อ่านเพิ่มเติม »