“Galactic 4” ทีมตัวแทนเยาวชนไทยจาก SIIT ธรรมศาสตร์ คว้าอันดับ 3 แข่งขันเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ผู้ช่วยนักบินอวกาศของ NASA
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดการแข่งขันโครงการ The 4th Kibo Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์ประเทศไทย โดยทีมกาแล็กติก 4 เป็นทีมชนะเลิศ และเป็นทีมตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันในรอบชิงแชมป์นานาชาติ
สำหรับการแข่งขัน The 4th Kibo Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์นานาชาติ จัดขึ้นโดยองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น และถ่ายทอดสดทาง YouTube ช่อง JAXA จากศูนย์อวกาศสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อค้นหาสุดยอดทีมเยาวชนจากทั่วโลก ที่สามารถทำคะแนนสูงสุดในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ให้ปฏิบัติภารกิจซ่อมแซมสถานีอวกาศ ซึ่งมีตัวแทนเยาวชนจาก 10 ชาติ เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ออสเตรเลีย, บังคลาเทศ, ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไต้หวัน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหรัฐอเมริกา...
ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมกาแล็กติก 4 จากประเทศไทย คว้ารางวัลอันดับ 3 มาครอง ด้วยคะแนน 94.79 คะแนน ถือเป็นการแสดงความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษา JAVA ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ผู้ช่วยนักบินอวกาศของ NASA ที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติให้เคลื่อนที่ไปอ่าน QR Code และยิงแสงเลเซอร์เข้าเป้าหมายทำคะแนนได้สูงเป็นอันดับ 3 ของการแข่งขัน รองจาก ทีมเอสเอสทีวัน จากสิงคโปร์ที่คว้าอันดับ 2 ด้วยคะแนน 98.54 คะแนน ขณะที่ทีมชนะเลิศ ได้แก่ทีมฟลายอิง ยูนิคอร์นส์ จากไต้หวัน ด้วยคะแนน 110.
นายณัฐวินทร์ แย้มประเสริฐ นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าทีมกาแล็กติก 4 กล่าวว่า รู้สึกภาคภูมิใจกับสมาชิกในทีมทุกคนที่ได้ร่วมพัฒนาโปรแกรมนี้ขึ้นมา จนได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศ และได้นำไปประมวลผลโปรแกรมบนสถานีอวกาศนานาชาติจริง ทั้งยังสามารถคว้ารางวัลอันดับ 3 กลับมาได้ ซึ่งเป็นโอกาสที่หาได้ยากมาก เนื่องจากแต่ละทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันในการเก็บคะแนน และแต่ละกลยุทธ์ทำคะแนนได้ไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่เห็นได้จากทุกทีม...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เด็กไทยเจ๋ง! คว้าอันดับ 3 ศึกชิงแชมป์นานาชาติเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ผู้ช่วยนักบินอวกาศของ NASA‘ทีมกาแล็กติก 4’ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลอันดับ 3 จากการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์แอสโตรบี (Astrobee) ผู้ช่วยนักบินอวกาศของ NASA ที่ปฏิบัติงานอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ในโครงการคิโบะ โรบอต โปรแกรมมิง ชาเลนจ์ ครั้งที่ 4 (The 4th Kibo Robot Programming Challenge)...
อ่านเพิ่มเติม »
เยาวชนไทยคว้าอันดับ 3 เขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ NASAเยาวชนไทยสุดเจ๋ง คว้าอันดับ 3 ศึกชิงแชมป์นานาชาติเขียนโปรแกรม ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ผู้ช่วยนักบินอวกาศ ของ NASA
อ่านเพิ่มเติม »
เยาวชนไทยสุดเจ๋ง! คว้าที่ 3 ศึกชิงแชมป์นานาชาติ เขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ผู้ช่วยนักบินบนสถานีอวกาศนานาชาติ“ทีมกาแล็กติก 4” นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลอันดับ 3 จากการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์แอสโตรบี (Astrobee) ผู้ช่วยนักบินอวกาศของ NASA
อ่านเพิ่มเติม »
NASA ใช้ 3D Printing สร้างบ้านบนดวงจันทร์ ใช้เวลาแค่ 48 ชั่วโมง เริ่มในปี 2040NASA จับมือบริษัท ICON เพื่อออกแบบเครื่องปริ้นท์ 3D หรือ 3D Print เพื่อวางแผนสร้างบ้านบนดวงจันทร์ในปี 2040 ที่น่าสนใจคือ NASA เคลมไว้ว่าจะสร้างบ้านเสร็จภายใน 48 ชั่วโมงเท่านั้น
อ่านเพิ่มเติม »
วันสิ้นโลกใกล้เข้ามา! NASA เตรียมปฎิบัติการอาร์มาเก็ดดอนขั้นสุดท้ายรับ “ดาวเคราะห์น้อย” ใหญ่เท่าตึกเอ็มไพร์สเตทพุ่งชนโลก แรงเท่ากับโดนระเบิดนิวเคลียร์ 24 เท่าในอีก 159 ปีข้างหน้านักวิทยาศาสตร์ NASA กำลังอยู่ในแผนอาร์มาเก็ดดอนขั้นสุดท้ายเพื่อทำให้โลกพ้นจากการโดนดาวแอสเตอรอยด์หรือดาวเคราะห์น้อยชื่อ Bennu ที่มีขนาดใหญ่เท่าตึกเอ็มไพร์สเตทที่คาดว่าจะเข้ามาพุ่งชนโลกในอีก 159 ปีข้างหน้าและการพุ่งชนมีผลเท่ากับควา
อ่านเพิ่มเติม »