เด็กเกิดน้อยไทยต่ำสุดในประวัติการณ์

ข่าวสังคม ข่าว

เด็กเกิดน้อยไทยต่ำสุดในประวัติการณ์
ประชากรสังคมสูงวัยเด็กเกิดน้อย
  • 📰 Thairath_News
  • ⏱ Reading Time:
  • 184 sec. here
  • 13 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 105%
  • Publisher: 63%

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรายงานสถานการณ์ประชากรไทย ปี 2567 พบว่า อัตราเจริญพันธุ์รวม (TFR) อยู่ที่ 1.0 ต่ำกว่าระดับทดแทนประชากรที่ 2.1 ประเทศไทยก้าวสู่ 'สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์' พร้อมทั้งเสนอทางรอด 5 ประการ เพื่อรับมือสถานการณ์เด็กเกิดน้อย

ไทยดันไม่ขึ้น ปี 67 เกิดต่ำกว่า 5 แสนคน สูงวัยเพิ่มขึ้น 20% แม้มีความพยายามผลักดันมีลูกเป็นวาระแห่งชาติ แต่กลับไปไม่ถึงฝั่ง นักวิชาการชี้ แรงงานข้ามชาติ มีทักษะสูงยังจำเป็น หวังรัฐบาลปรับเกณฑ์ ผู้สูงอายุ เป็น 65 ปี ชี้ผลักดันให้ผู้หญิงสูงวัยมีงานทำมากขึ้นด้วยสวัสดิการ\สถาบันวิจัย ประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรายงานสถานการณ์ ประชากร ของประเทศไทย ปี 2567 บนเวทีแถลงข่าว “ เด็กเกิดน้อย และ สังคมสูงวัย อย่างสมบูรณ์” ปี 2567 จำนวนเด็กไทยเกิดต่ำสุดเป็น ประวัติการณ์ ต่ำกว่า 5 แสนคนต่อปี

ส่งผลให้จำนวนประชากรไทยลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 4\“รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล วิเคราะห์ว่า จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เผยแพร่ข้อมูลปี 2567 พบว่า ประชากรในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 65,951,210 คน มีเด็กเกิดใหม่เพียง 462,240 คน ส่วนผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 571,646 คนส่งผลให้อัตราเพิ่มตามธรรมชาติอยู่ที่ -0.17% ติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 อัตราเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rate - TFR) ซึ่งหมายถึงจำนวนลูกเฉลี่ยที่ผู้หญิงไทยคนหนึ่งจะมีตลอดช่วงวัยเจริญพันธุ์ ในปี 2567 อยู่ที่ 1.0 ต่ำกว่าระดับทดแทนประชากรที่ 2.1 และใกล้เคียงกับประเทศที่เผชิญสถานการณ์การเกิดที่ต่ำมาก เช่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ จีน\ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ก้าวสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” แล้ว โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกิน 20% ของประชากรทั้งหมด เมื่ออัตราเจริญพันธุ์รวมต่ำกว่า 1.5 ประสบการณ์จากหลายประเทศพบว่าการกระตุ้นการเกิดนั้นเป็นไปได้ยาก และมีแนวโน้มในเจเนอเรชันถัดไปอาจลดลงไปอีก ซึ่งรัฐบาลก็ยังจำเป็นต้องดำเนินมาตรการสนับสนุนในเรื่องนี้ เพื่อชะลอการเข้าสู่สังคมสูงวัย ให้ประเทศมีเวลาในการเตรียมความพร้อมด้านสวัสดิการ ปรับสภาพแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันของประชากรทุกช่วงวัย\“รศ.ดร.เฉลิมพล” มองถึงทางรอดว่า 1. ผู้สูงอายุและผู้หญิงจะเป็นกุญแจสำคัญที่ต้องสนับสนุนบทบาทและโอกาสในการมีส่วนร่วมทางสังคมในกำลังแรงงานให้เพิ่มขึ้น ปรับปรุงเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อเอื้อให้เป็นพลัง ไม่ใช่ผู้พึ่งพิง2. เด็กเป็นทรัพยากรล้ำค่า การลงทุนในเด็กต้องเพิ่มขึ้น ทั้งด้านการศึกษา สุขภาพ และสวัสดิการต่าง ๆ ลดความเครียดทางเศรษฐกิจของครอบครัว สนับสนุนสวัสดิการในสถานที่ทำงานเพื่อช่วยให้พ่อแม่มีเวลาและความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ส่งเสริมการเกิดในเชิงคุณภาพและให้คุณค่าแก่บทบาทของพ่อแม่ในสังคม3. การย้ายถิ่นทดแทน หรือการนำเข้าแรงงาน (Replacement migration) หรือการทดแทนแรงงานไทยที่จะลดลงด้วยกลุ่มประชากรข้ามชาติ โดยเฉพาะการดึงดูดแรงงานข้ามชาติที่มีทักษะ เด็กข้ามชาติที่เกิดและเติบโตในไทย เป็นอีกทางเลือกเชิงนโยบายและโอกาสที่ต้องพิจารณา เพื่อเร่งให้เกิดการกำหนดมาตรการ แนวทางและกลไกที่ชัดเจนในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติกลุ่มต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ4. เทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (AI) อีกหนึ่งกุญแจของโอกาสเพื่อทดแทนประชากรที่ลดลงในด้านปริมาณ ด้วยคุณภาพและผลิตภาพแรงงานที่สูงขึ้นของประชากรในทุกช่วงวัย รวมถึงเด็กเจนเนอเรชันเบต้า (เกิดปี 2568 เป็นต้นไป) ที่เกิดมาพร้อมการพัฒนาที่ก้าวกระโดดของ AI ในทุกมิติทางสังคมและวิถีชีวิต5. พลิกวิกฤตเกิดน้อยเป็นโอกาสต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะ SDGs ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่\“สิ่งสำคัญคือการปรับตัวและเตรียมรับมือในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน” สถานการณ์และทิศทางนโยบาย\“รศ.ดร.เฉลิมพล” กล่าวว่า ผลสำรวจจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม - 20 ธันวาคม 2567 ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนไทย อายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 1,042 คน พบว่า 71% มองว่าปัญหาเด็กเกิดน้อยเป็นวิกฤตของประเทศ แต่มีเพียง 44% เท่านั้น ที่สนับสนุนนโยบายส่งเสริมการเกิด โดยผู้หญิง 42% เห็นด้วยน้อยกว่าผู้ชาย 52% ทั้งนี้ 66% สนับสนุนการปรับนิยามผู้สูงอายุจาก 60 ปีเป็น 65 ปี ส่วน 64% เห็นด้วยกับการขยายอายุเกษียณเป็น 65 ปี\ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า สังคมไทยพร้อมปรับตัวรับการเป็นสังคมสูงวัย แต่การเพิ่มจำนวนเด็กเกิดตามเป้าหมายยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งผลักดันนโยบายเพื่อรับมือกับสถานการณ์สังคมสูงวัยที่อัตราจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก อันเนื่องจากสึนามิประชากรรุ่นเกิดเกิน 1 ล้านคนต่อปี (ประชากรที่เกิดในช่วงปี 2506-2526) และเตรียมพร้อมระบบสวัสดิการให้ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย.\หนึ่งในนโยบายสังคมด้านสุขภาพที่สำคัญ คือ 'พินัยกรรมชีวิต' (e-Living Will) ซึ่งเป็นสิทธิสำคัญที่ช่วยให้บุคคล โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุสามารถแสดงเจตนารมณ์ไม่รับการรักษาที่ยืดชีวิตในภาวะไร้คุณภาพ โดยได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 การส่งเสริมความรู้เรื่องนี้ช่วยให้ผู้สูงอายุวางแผนการรักษาตามความต้องการ ลดความขัดแย้งในครอบครัว และรักษาศักดิ์ศรีชีวิตในช่วงท้ายได้อย่างสง่างาม

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

Thairath_News /  🏆 8. in TH

ประชากร สังคมสูงวัย เด็กเกิดน้อย อัตราเจริญพันธุ์ นโยบายสังคม ผู้สูงอายุ เทคโนโลยี AI

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

ไทยปีทองแห่งการลงทุน: บีโอไอหวังเม็ดเงินทะลุ 113 ล้านบาทไทยปีทองแห่งการลงทุน: บีโอไอหวังเม็ดเงินทะลุ 113 ล้านบาทนายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ปี 2567 ถือเป็นปีทองของการลงทุนในประเทศไทย , เม็ดเงินลงทุนในปี 2567 เพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งจำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุน บีโอไอตั้งเป้าว่าการลงทุนในปี 2568 จะเติบโตอย่างต่อเนื่องหรือทะลุ 1 ล้านล้านบาท
อ่านเพิ่มเติม »

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคติดต่อกัน 4 เดือนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคติดต่อกัน 4 เดือนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ 51.6
อ่านเพิ่มเติม »

ท่องเที่ยวปลายปีคึกคัก ดันยอดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 11 เดือนปี 2567 พุ่ง 155 ล้านลิตรต่อวันท่องเที่ยวปลายปีคึกคัก ดันยอดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 11 เดือนปี 2567 พุ่ง 155 ล้านลิตรต่อวันยอดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยในช่วง 11 เดือนของปี 2567 อยู่ที่ 155.22 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สอดคล้องกับการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ.
อ่านเพิ่มเติม »

โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด給คนต่างชาติไตรมาส 3/2567 เพิ่มขึ้นโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด給คนต่างชาติไตรมาส 3/2567 เพิ่มขึ้นศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) รายงานสถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติทั่วประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 พบว่า มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติทั่วประเทศจำนวน 3,756 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 และมีมูลค่า 18,571 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.9 โดยคิดเป็นพื้นที่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดรวม 165,367 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)
อ่านเพิ่มเติม »

เงินเฟ้อไทยธันวาคม 2567 อยู่ที่ 1.23%เงินเฟ้อไทยธันวาคม 2567 อยู่ที่ 1.23%สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหรือ CPI เดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ 108.28 สูงขึ้น 1.23% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน
อ่านเพิ่มเติม »

สถิติอุบัติเหตุปีใหม่ 7 วัน ลดลง 2.29%สถิติอุบัติเหตุปีใหม่ 7 วัน ลดลง 2.29%กระทรวงคมนาคม รายงานสถิติอุบัติเหตุบนโครงข่ายคมนาคมระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2567 - 2 มกราคม 2568 พบว่า อุบัติเหตุลดลง 2.29% ส่วนใหญ่เกิดจากการขับรถเร็วเกินกำหนด
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-09 20:36:30