เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนธ.ค.ทำสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี เหตุราคาอาหารพุ่ง ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ อัตราเงินเฟ้อ เงินเฟ้อ อินโฟเควสท์
สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนธ.ค.ของฟิลิปปินส์ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 14 ปีหรือนับตั้งแต่ปี 2551 โดยมีสาเหตุมาจากราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น
ทั้งนี้ ดัชนี CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้นแตะระดับ 8.1% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบเป็นรายปี จากระดับ 8% ในเดือนพ.ย. ขณะที่ดัชนี CPI ตลอดปี 2565 อยู่ที่ระดับ 5.8% ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมายของรัฐบาลที่ระดับ 2% – 4% แม้ว่าดัชนี CPI เดือนธ.ค.อยู่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ที่ 8.2% แต่ก็ยังอยู่ในกรอบคาดการณ์ของธนาคารกลางฟิลิปปินส์ที่ระดับ 7.8% – 8.6%
ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและเชื้อเพลิงซึ่งมีความผันผวนนั้น เพิ่มขึ้นแตะ 6.9% ในเดือนธ.ค. จากระดับ 6.5% ในเดือนพ.ย. ทั้งนี้ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในปี 2566 หลังจากที่ปรับขึ้นไปแล้ว 3.50% ในปี 2565 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและพยุงสกุลเงินเปโซที่อ่อนค่า
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ภาคการผลิตญี่ปุ่นหดตัวลงในเดือนธ.ค. ต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี : อินโฟเควสท์ผลสำรวจทางธุรกิจบ่งชี้ในวันนี้ (4 ม.ค.) ว่า กิจกรรมการผลิตของโรงงานในญี่ปุ่นลดลงในเดือนธ.ค. 2565 ในอัตรารุนแรงที่สุดในรอบ 26 เดือน โดยบริษัทต่าง ๆ คาดการณ์ว่า การผลิตจะยังคงลดลงต่อไปท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของญี่ปุ่นที่จัดทำโดยธนาคาร au Jibun Bank Japan ปรับตัวลงสู่ระดับ 48.9 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 49.0 ในเดือนพ.ย. แม้ว่าดัชนีดังกล่าวจะอยู่ที่สูงกว่าระดับดัชนีในขั้นต้นที่ 48.8 อยู่เล็กน้อย แต่ก็เป็นตัวเลขต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2563 และเป็นเดือนที่ 2 แล้วที่ดัชนีอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นจุดแบ่งระหว่างการขยายตัวกับการหดตัว โดยดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคการผลิต และดัชนีที่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ถึงการหดตัว ลอรา เดนแมน นักเศรษฐศาสตร์จากเอสแอนด์พี โกลบอล มาร์เก็ต อินเทลลิเจนซ์ (S&P Global Market Intelligence) ซึ่งจัดทำการสำรวจระบุว่า ภาวะชะลอตัวมีสาเหตุหลักมาจากภาวะอุปสงค์ที่อ่อนแอในปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ […]
อ่านเพิ่มเติม »
อวสานขอนแก่นซิตี้บัส รถเมล์ปรับอากาศเมืองหมอแคนให้บริการวันสุดท้าย 7 ม.ค.นี้ปิดตำนานรถเมล์ขอนแก่นซิตี้บัส ประกาศหยุดเดินรถ 7 ม.ค. เป็นต้นไป หลังเปิดให้บริการรถประจำทางปรับอากาศในตัวเมืองขอนแก่นมานาน 7 ปี พบผลประกอบการ 5 ปีย้อนหลังขาดทุนทุกปี พิษโควิดฯ ฉุดรายได้ทั้งปีลดฮวบจากปีละ 7 ล้าน เหลือแค่ล้านเดียว .
อ่านเพิ่มเติม »
UNIQ เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ 1 ปี 7 เดือน 3.85%, 3 ปี 6 เดือน 4.95% ขาย 17-19 ม.ค. : อินโฟเควสท์บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) กำหนดผลตอบแทนสำหรับหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่จะเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไประหว่างวันที่ 17-19 มกราคม 2566 ผ่านธนาคารกรุงไทย และธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย หุ้นกู้อายุ 1 ปี 7 เดือน อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.85% ต่อปี หุ้นกู้อายุ 3 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 4.95% ต่อปี หุ้นกู้ทั้งสองชุดจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน (เว้นแต่งวดดอกเบี้ยงวดสุดท้ายของรุ่นอายุ 1 ปี 7 เดือน ซึ่งจะมีระยะเวลา 4 เดือน) บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ที่ระดับ BBB- ซึ่งเป็น “ระดับลงทุน” (Investment grade) […]
อ่านเพิ่มเติม »
สธ.เผยรอ 14 วัน ประเมินตัวเลขโควิดปีใหม่ เตรียมเคาะมาตรการรับ นทท.จีน 5 ม.ค.นี้สธ.เผยโควิดไทยดีขึ้นต่อเนื่อง ยอดป่วย-ตายลดลง ส่วนตัวเลขระบาดหลังปีใหม่ รอประเมินอีก 14 วัน เตรียมเคาะมาตรการรองรับนักท่องเที่ยวจีน หลังผ่านการประชุมระดับทีมวิชาการ 5 ม.ค.นี้
อ่านเพิ่มเติม »
ครม.เห็นชอบ เว้นค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนประกันสังคม 2 ปีครม.เห็นชอบงดเว้นค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนประกันสังคมทั้งฝ่ายนายจ้าง-ลูกจ้าง 2 ปี เริ่ม 1 ม.ค. 66- 31 ธ.ค. 67
อ่านเพิ่มเติม »
ตั้งเป้า 5 ปี เพิ่มสัดส่วน GDP จากท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 25% : อินโฟเควสท์น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ประกาศใช้แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2566-70) หรือ แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 3 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานเพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับพื้นที่ และท้องถิ่น ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป สำหรับแผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 3 จะเป็นกรอบการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย ภายหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งจะมีทั้งมิติการพัฒนา และการแก้ไข ฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว เพื่อเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอุตสาหกรรมให้สอดรับกับความปกติถัดไป (Next Normal) แผนมีระยะเวลา 5 ปี มีวิสัยทัศน์ตามแผน คือ “การท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นคุณค่า มีความสามารถในการปรับตัว เติบโตอย่างยั่งยืนและมีส่วนร่วม” โดยแผนพัฒนาการท่องเที่ยวฯ มีเป้าหมายหลัก คือ การท่องเที่ยวไทยต้องมีความเข้มแข็ง และสมดุล ยกระดับการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว สร้างความเชื่อมั่นและมอบประสบการณ์ท่องเที่ยวคุณค่าสูง และการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ส่วนเป้าหมายรอง คือ การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพสูงทุกกลุ่ม ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว มีความพร้อมในการรับมือ และจัดการความเสี่ยงทุกรูปแบบเสมอ ทั้งนี้ มีตัวชี้วัดสำคัญในระยะ 5 […]
อ่านเพิ่มเติม »