อย่าประมาท! สายพันธุ์ BQ จากฝั่งตะวันตก แม้โอมิครอนเป็นขาลง : อินโฟเควสท์

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

อย่าประมาท! สายพันธุ์ BQ จากฝั่งตะวันตก แม้โอมิครอนเป็นขาลง : อินโฟเควสท์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 InfoQuestNews
  • ⏱ Reading Time:
  • 55 sec. here
  • 2 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 25%
  • Publisher: 68%

อย่าประมาท! สายพันธุ์ BQ จากฝั่งตะวันตก แม้โอมิครอนเป็นขาลง COVID19 ยงภู่วรวรรณ โควิด19 อินโฟเควสท์

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า โควิด-19 ฤดูกาลนี้ได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว ประชากรไทยส่วนใหญ่ติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 70% ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน และกำลังเริ่มสู่ขาลงเร็วกว่าที่คิด

สำหรับสายพันธุ์ที่ระบาดในรอบล่าสุดนี้เป็น BA.2.75 ขณะนี้การระบาด และจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเริ่มลดน้อยลงอย่างมากจนเห็นได้ชัด ส่วนสายพันธุ์ที่จะทำให้เกิดการระบาดรอบใหม่ที่ต้องเฝ้าระวัง คือ BQ.1 และ BQ.1.1 ที่กำลังระบาดอยู่ในทางตะวันตก อเมริกา และยุโรป เมื่อเข้าเดือนก.พ. หรือหลังจากนั้น เชื่อว่าโรคจะสงบลงถึงเดือนพ.ค.-มิ.ย.

ทั้งนี้ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ร่วมกับการฉีดวัคซีนไปแล้วเป็นจำนวนมาก จะเกิดภูมิคุ้มกันแบบลูกผสม ที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันและลดความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน ดังนั้น ความจำเป็นในการที่จะได้รับวัคซีน ถึงแม้ว่าจะเป็นวัคซีนโควิด 2 สายพันธุ์ น้อยลง เพราะประชากรไทยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อในปีนี้เป็นสายพันธุ์โอมิครอน โดยเฉพาะ BA.5 ที่อยู่ในวัคซีนตัวใหม่ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติเป็นสายพันธุ์โดยตรง และยังเป็นภูมิคุ้มกันทั้งตัวไวรัส ไม่ใช่แค่ต่อหนามแหลมที่อยู่ใน mRNA เท่านั้น

อย่างไรก็ดี เมื่อประชากรทั่วโลกส่วนใหญ่เคยได้รับเชื้อมาแล้ว ก็จะเกิดภูมิต้านทานแบบสมบูรณ์กว่าที่ได้รับจากวัคซีน ความรุนแรงโรค รวมถึงการระบาดก็จะเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ และในที่สุดชีวิตจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

InfoQuestNews /  🏆 7. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

เตือน! ไทยควรตั้งการ์ดป้องกันโควิดสายพันธุ์ BQ มากกว่า BA.5 : อินโฟเควสท์เตือน! ไทยควรตั้งการ์ดป้องกันโควิดสายพันธุ์ BQ มากกว่า BA.5 : อินโฟเควสท์นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า จากการศึกษาวิเคราะห์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่สายพันธุ์อัลฟา ที่เริ่มจากประเทศอังกฤษในปลายปี 63 และถึงแม้ว่าไทยจะมีมาตรการปิดบ้านปิดเมือง มีการกักตัวผู้เดินทางเข้าประเทศถึง 14 วัน แต่ในที่สุดสายพันธุ์นี้ก็มาระบาดในไทยช่วงเดือนมี.ค. 64 ส่วนสายพันธุ์เดลตา ที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศอินเดีย และไประบาดในยุโรปและอเมริกา และเข้าสู่ประเทศไทยหลังจากการระบาดในประเทศทางตะวันตกแล้ว เช่นเดียวกับสายพันธุ์โอมิครอน ที่เกิดในไทยหลังประเทศทางตะวันตก โดยขณะนี้การระบาดในไทยเป็นสายพันธุ์ BA.2.75 เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ยุโรปและอเมริกาได้ระบาดผ่านพ้นไปแล้ว โดยปัจจุบันอเมริกาและตะวันตกทั่วโลก มีแนวโน้มจะเข้าสู่สายพันธุ์ BQ.1 และ BQ.1.1 ทั้งนี้ คาดว่าต่อไปก็คงระบาดในไทยตามมา ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวจะดื้อต่อภูมิต้านทานเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับการระบาดในประเทศจีน ขณะนี้ยังเป็น BA.5 และลูกของ BA.5 คือ BF.7 ที่มีความคล้ายคลึงกับ BA.5 ที่ในไทยได้ระบาดผ่านพ้นไปแล้ว หรือจีนตามหลังไทย ดังนั้น คนไทยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะมีภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์นี้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึง คือการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ประเทศจีน โดยเฉพาะถ้ามีการระบาดในผู้ป่วยจำนวนมาก ทำให้โอกาสที่จะเกิดสายพันธุ์ใหม่ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักไว้ ทั้งนี้ […]
อ่านเพิ่มเติม »

จับจังหวะก้าว 'ประยุทธ์สไตล์' อย่าประมาทหวังพลิกเกม'เลือกตั้ง66' (มีคลิป)จับจังหวะก้าว 'ประยุทธ์สไตล์' อย่าประมาทหวังพลิกเกม'เลือกตั้ง66' (มีคลิป)เปิดศักราชปีแห่งการเลือกตั้ง 'จตุพร พรหมพันธ์' แกนนำประชาชน วิเคราะห์ 'ศึกเลือกตั้ง 66' อย่าประมาท ยุทธศาสตร์ 'ประยุทธ์สไตล์' ขณะที่ สมชาย แสวงการ ยันไม่หนุนพรรคนิรโทษพาคนโกงกลับบ้าน (มีคลิป)
อ่านเพิ่มเติม »

นพ.ยง ชี้โอมิครอนขาลง แนะเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่ 'BQ.1-BQ.1.1'นพ.ยง ชี้โอมิครอนขาลง แนะเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่ 'BQ.1-BQ.1.1'นพ.ยง ชี้โอมิครอนขาลง แนะเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่ ‘BQ.1-BQ.1.1’ via MatichonOnline
อ่านเพิ่มเติม »

โควิดฤดูกาลนี้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว “หมอยง” เผยขาลงเร็วกว่าที่คิดโควิดฤดูกาลนี้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว “หมอยง” เผยขาลงเร็วกว่าที่คิดโควิดฤดูกาลนี้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว “หมอยง” เผยขาลงเร็วกว่าที่คิด คนไทยติดเชื้อแล้วมากกว่า 70% ยังต้องเฝ้าระวังสายพันธุ์ BQ.1 BQ.1.1 ภูมิต้านทานจากวัคซีน+ติดเชื้อ ในที่สุดชีวิตจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ โควิดขาลง วันนี้ (5 ม.ค.66)…
อ่านเพิ่มเติม »

นพ.ยง เตือนไทยควรตั้งการ์ดป้องกันโควิดสายพันธุ์ BQ มากกว่า BA.5นพ.ยง เตือนไทยควรตั้งการ์ดป้องกันโควิดสายพันธุ์ BQ มากกว่า BA.5นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า จากการศึกษาวิเคราะห์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่สายพันธุ์อัลฟา ที่เริ่มจากประเทศอังกฤษในปลายปี 63 และถึงแม้ว่าไทยจะมีมาตรการปิดบ้านปิดเมือง
อ่านเพิ่มเติม »

อย่าเชื่อ! ฉีดวัคซีน mRNA มาก เพิ่มความเสี่ยงติดโควิดซ้ำ : อินโฟเควสท์อย่าเชื่อ! ฉีดวัคซีน mRNA มาก เพิ่มความเสี่ยงติดโควิดซ้ำ : อินโฟเควสท์นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง ในฐานะประธานคณะกรรมการประมวลสถานการณ์โรคโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) (MIU) กล่าวถึงกรณีมีข่าวรายงานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ ระบุเรื่องการรับวัคซีน mRNA หลายครั้ง จะเพิ่มความเสี่ยงติดโรคโควิด-19 ซ้ำ ว่า จากการตรวจสอบพบว่า เป็นข้อมูลงานวิจัยของแผนกโรคติดเชื้อ คลีฟแลนด์คลินิก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังไม่ได้รับการประเมินรับรองจากผู้เชี่ยวชาญก่อนการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ และยังไม่ได้รับการยอมรับให้เผยแพร่ตามมาตรฐานวิชาการ นพ.รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า ประเด็นที่พบ เป็นเพียงการนำเสนอจากข้อมูลที่มีอยู่ ขาดการวิเคราะห์และสรุปข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลด้านระบาดวิทยาที่สำคัญ พฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมการป้องกันโรค และประวัติการติดเชื้อร่วมกับการฉีดวัคซีน ทั้งนี้ เนื่องจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ หรือการติดเชื้อได้อย่างมีนัยสำคัญ สิ่งสำคัญคือ ต้องร่วมกับพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีในการป้องกันโรค เช่น การสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่สาธารณะ หรือที่มีผู้คนแออัดจำนวนมาก การล้างมือ และการเว้นระยะห่าง ดังนั้นผลงานวิจัยดังกล่าว จึงขาดความน่าเชื่อถืออย่างมาก “ข้อมูลงานวิจัยดังกล่าว ไม่สามารถนำมาใช้กับไทยได้ เนื่องจากมีความแตกต่างกันในด้านสถานการณ์ มาตรการป้องกันควบคุมโรค ด้านระบาดวิทยา และพฤติกรรมสุขภาพของประชากร โดยสหรัฐฯ ไม่ได้เน้นมาตรการ เช่น การสวมหน้ากากอนามัยเหมือนไทย รวมถึงระบบการรักษาพยาบาล การควบคุมโรค […]
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-28 07:21:00