rerun | “ประสาร” อดีตผู้ว่า ชี้ประชุมกนง.ห่าง ต้องขยับดอกเบี้ยแรงขึ้น ฟาก“บัณฑิต”อดีตรองผู้ว่า ชี้ขึ้นดอกเบี้ยช้าสร้างต้นทุนเศรษฐกิจมหาศาล ด้าน“ณรงค์ชัย”ชี้การใช้ดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อได้ผลน้อย แต่ช่วยสกัดเงินไหลออก กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 10 ส.ค.นี้ ถือเป็น “นัดสำคัญ” ที่จะกำหนดชะตา “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” นอกจากการวัดใจของ กนง.ในการปรับดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้แล้ว สิ่งที่ตลาดจับตา คือการ “ส่งสัญญาณ” ของ กนง.ครั้งนี้ และท่าที ในการดูแลเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นดอกเบี้ยในครั้งถัดไป ซึ่งจะเหลืออีก 2 ครั้งในปีนี้ ว่าจะเป็นอย่างไรอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หากดูเงินเฟ้อปัจจุบันจากตัวเลขทางการทั้งเดือน มิ.ย.และ ก.ค.
“ก่อนที่จะประชุม กนง.ในวันที่ 10 ส.ค.นี้ ห่างกับการประชุมของเฟด ถึง 2 ครั้ง แปลว่า กว่าไทยจะประชุมเฟดก็ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งมีความถี่ค่อนข้างมาก อีกนัยก็มีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นเยอะมากในช่วงที่กนง.ทิ้งห่าง 2 เดือน ดังนั้นหากดูเงินเฟ้อในปัจจุบัน ถือว่าเป็นแรงกดันต่อระบบเศรษฐกิจมากพอสมควร เพราะหากดูเงินเฟ้อพื้นฐานก.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 3% จากมิ.ย.ที่ 2.5% สะท้อนว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังมีอยู่มาก ที่ยังไม่ส่งผ่านมาสู่ระบบ เพราะหากราคาสินค้าของผู้ผลิตเดือนล่าสุดอยู่ที่ 12%
สิ่งเหล่านี้ยังไม่มีการสื่อสารอย่างชัดเจน ว่าจะสามารถทำให้เศรษฐกิจกลับไปสู่อัตราเงินเฟ้อในระดับเป้าหมายได้เมื่อไหร่ เพราะประเทศที่เงินเฟ้อสูง จะทำให้ผู้ผลิต นักลงทุน หรือการจัดการด้านต่างประเทศทำได้ยากขึ้น เพราะต้นทุนในประเทศสูงขึ้น ค้าขายสินค้าก็ต้องแพงกว่าประเทศอื่นๆ
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
'ขึ้นดอกเบี้ยช้า' เพิ่มต้นทุนเศรษฐกิจนักเศรษฐศาสตร์มองว่า การปรับการปรับดอกเบี้ยที่ล่าช้าจะเป็นการเพิ่มต้นทุนทางเศรษฐกิจ ทั้งในด้านความผันผวนของค่าเงินบาทที่ทำให้ ธปท.จำเป็นต้องเข้าไปแทรกแซงเงินบาทและนำมาสู่ทุนสำรองที่ลดลง
อ่านเพิ่มเติม »
'ผู้ว่าฯชัชชาติ' จ่อถก 'คลัง' ปมเก็บภาษีที่ดิน หวังขจัดนายทุนปลูกกล้วยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงประเด็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประเภทภาษีเกษตรกรรมว่า เรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งใหม่ เพราะ กทม.เพิ่งเริ่มเก็บซึ่งเป็นเรื่องแปลก
อ่านเพิ่มเติม »
'กทม.' ยื่นหนังสือถาม 'กระทรวงการคลัง' ขึ้นภาษีที่ดินเกษตรกรรมเท่าเพดานที่กฎหมายกำหนด ได้หรือไม่'กทม.' ยื่นหนังสือถาม 'ก.คลัง' สามารถปรับภาษีที่ดินเกษตรกรรม ให้เท่ากับเพดานที่กฎหมายกำหนด 0.15% ได้หรือไม่ แก้ปัญหาที่ดินในพื้นที่พาณิชยกรรมที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ แต่นำมาปลูกกล้วย มะม่วง มะนาว กลางเมือง เพื่อลดภาระภาษีที่ดิน อ่านข่าว : เรื่องเล่าเช้านี้
อ่านเพิ่มเติม »