หายนะการเงินอเมริกา อภิมหาแชร์ลูกโซ่ จุดจบโลกขั้วเดี่ยว จุดเริ่มต้นโลกหลายขั้ว .
ันล้านล้านบาท จนรัฐบาลโจ ไบเดนต้องขอขยายเพดานหนี้ต่อสภา หากไม่ผ่านอาจต้องผิดนัดชำระหนี้ และขาดงบประมาณใช้จ่าย สภาพไม่ต่างจากแชร์ลูกโซ่ขนาดมหึมาที่ต้องหาเงินก้อนใหม่เข้ามาเพื่อจ่ายหนี้เก่า ส่งผลให้หนี้พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เสื่อมมนต์ขลัง ชาติขนาดใหญ่แห่ลดถือครอง ท้ายที่สุดวิกฤติการเงินครั้งนี้ จะเป็นระเบิดเวลานำไปสู่ความล่มสลายของการครอบงำระบบเศรษฐกิจโลกของรัฐบาลสหรัฐฯ ผ่านเงินดอลลาร์วันศุกร์ที่ 24 มี.ค.
ธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ จึงมีภารกิจมุ่งเป้าในการให้บริการทางการเงิน ในรูปแบบต่างๆ ให้กับบริษัทไฮเทค บริษัทเทคโนโลยี บริษัทสตาร์ทอัพทั้งหลายเป็นหลัก ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะขยายสาขาไปทั่วอเมริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลก ที่บริษัทไฮเทคเหล่านี้ขยายสาขาไปเปิด มีทั้งที่แคนาดา อังกฤษ ยุโรป อิสราเอล จีน ฮ่องกง อินเดีย เป็นต้น1.
ตามปกติแล้วเวลามีคนมาฝากเงิน ธนาคารก็จะเอาเงินดังกล่าวไปปล่อยกู้ ธนาคารจะได้ผลตอบแทนจากส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก อย่างไรก็ตาม หลังจากหักเงินสดสำรอง และเผื่อผู้ฝากขอถอนเงินออกไปแล้ว ธนาคารจะนำเงินส่วนที่เหลือไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกา เพื่อสร้างผลตอบแทน จะไม่ถือส่วนที่เป็นสภาพคล่องส่วนเกินไว้เป็นเงินสด พอมีเงินเหลือก็เอาไปซื้อพันธบัตรเลย
ปีที่แล้วอุตสาหกรรมไฮเทคมีการปลดพนักงานไปแล้วกว่า 100,000 คน เมื่อบริษัทเทคโนโลยี บริษัทสตาร์ทอัพ ต่างเริ่มขาดสภาพคล่อง ก็ต้องปลดคนงานเป็นแสนๆ คน ต้องจ่ายค่าชดเชย พนักงานที่มีเงินฝากในแบงก์ ออมทรัพย์เก็บเอาไว้ เมื่อตัวเองตกงานก็ต้องถอนเงินออก เพราะตกงาน การประกาศปิดตัวลงของธนาคาร SVB และสถาบันการเงินอื่นๆ อีก 2 แห่ง รวมเป็น 3 แห่ง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ เป็นข่าวใหญ่ สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการที่ FED หรือ ธนาคารกลางอเมริกา ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วและรุนแรงอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความล่มสลายของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพในอเมริกา
นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ด้วยว่าธนาคารจำนวนมากถูกกดดันหลังจากการล่มสลายของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารที่มีเงินฝากที่ไม่มีหลักประกันจำนวนมาก และพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ที่ธนาคารต่างๆ พากันซื้อและมีมูลค่าลดลง เพราะเมื่อใดก็ตามที่เฟดขึ้นดอกเบี้ย ผลตอบแทนกับพันธบัตรระยะยาวก็จะตกลงมาทันที ขาดทุนทันทีเลย โดยระบุว่า ปัจจัยสำคัญคือ...
โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกา อย่างเช่น Kellogg School of Management จาก Northwestern University ซึ่งผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนที่เก่งๆ ในประเทศไทย ก็จบมาจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มาจาก University of Southern California, Columbia University และมาจาก Stanford University ทั้งนี้ จากการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า ถ้าจะให้เพียงพอจริงๆ รัฐบาลอเมริกาต้องอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบธนาคารเพื่อสร้างความเชื่อมั่นผ่าน Bank Term Funding Program เพื่อปกป้องสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการล้มละลายของธนาคาร 3 แห่ง โดยต้องอัดเงินเข้าไปมากกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 68 ล้านล้านบาทวิกฤตหนี้ 1 พันล้านล้าน ฤาเศรษฐกิจสหรัฐฯ คืออภิมหาแชร์ลูกโซ่
ในความเป็นจริงแล้วหนี้สาธารณะของอเมริกาปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตลอดช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะมาตรการการรับมือการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่รวมไปจนถึงการอัดฉีดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อเร่งอัตราการขยายตัวของประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น หนี้สาธารณะ 31.1 ล้านล้านดอลลาร์ มีมูลค่ามากกว่าระบบเศรษฐกิจของชาติยักษ์ใหญ่ของโลก 4 ชาติ รองๆ ลงมา คือ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี และ อังกฤษ รวมกันแล้วหนี้ของ 4 ประเทศนี้ยังไม่เท่ากับหนี้ของประเทศอเมริกา
ประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่นายโจ ไบเดน พูดถึงและถูกจับตาอย่างมาก คือ นายโจ ไบเดน พยายามขยายเพดานหนี้สาธารณะให้ทะลุตัวเลข 31.4 ล้านล้านดอลลาร์ ไปอีก ขู่ด้วยว่าถ้าไม่มีการขยายเพดานหนี้สาธารณะดังกล่าว เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะประสบความหายนะอย่างร้ายแรงอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกมาเปิดเผยโดยยอมรับว่า รัฐบาลอเมริกาได้กู้เงินจนชนเพดานหนี้ที่ 31.
นางเยลเลน ยังระบุว่า จากเงื่อนไขด้านงบประมาณ Dead line การเพิ่มเพดานหนี้ดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรของอเมริกานั้น จะอยู่ในช่วง 3 เดือนข้างหน้านี้เอง คือในเดือนมิถุนายน 2566นักวิเคราะห์ฝรั่งหลายคนเมื่อวิเคราะห์สถานการณ์และฟังคำพูดล่าสุดของนายโจ ไบเดน และนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีฯ คลังสหรัฐฯ แล้ว เขาบอกว่า จริงๆ แล้วเศรษฐกิจสหรัฐฯ วันนี้ไม่ได้ต่างจากแชร์ลูกโซ่ที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Ponzi scheme...
เมื่อมองทอดสายตาไปในอนาคตแล้ว จะเห็นว่าประเทศอเมริกา การเมืองสหรัฐฯ สังคมสหรัฐฯ เศรษฐกิจสหรัฐฯ และในอีกหลายมิติ จะไม่มีทางกลับไปครองโลกอย่างเบ็ดเสร็จเหมือนเดิมอีกต่อไป โดยที่น่ากลัวที่สุดคือ แนวโน้มเรื่องหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ จะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ในเมื่อ ณ วันนี้ อเมริกาใช้จ่ายเงินเกินตัว รายได้ไม่พอกับรายจ่ายแล้ว ก็หนีไม่พ้นต้องกู้หนี้กู้สิน ยืมมาโปะ นั่นคือการออกพันธบัตรของสหรัฐฯ นั่นเองพันธบัตรรัฐบาลอเมริกา หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า US Treasury Bond ซึ่งจริงๆ ก็คือกระดาษแผ่นหนึ่งเท่านั้นเอง เป็นสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ พิมพ์ขึ้นมาเพื่อหาเงินมาโปะเรื่องการขาดดุลงบประมาณ ใครอยากจะลงทุนเพื่อให้ได้ดอกเบี้ยตามกำหนด ตามแต่ระยะเวลาของพันธบัตร ก็ซื้อไป...
เมื่อปีที่แล้ว นายโทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษช่วงปี 2540-2550 ได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาประจำปีของมูลนิธิแห่งหนึ่ง ชื่อ Ditchley Foundation ที่อ็อกซ์ฟอร์ดเชียร์ ประเทศอังกฤษ ยอมรับว่า โลกที่เคยถูกครอบงำทางการเมือง เศรษฐกิจ โดยฝ่ายตะวันตกนั้น อาจจะก้าวไปสู่จุดจบในเวลาไม่นานไม่ช้านับจากนี้ วิกฤตธนาคารล้ม วิกฤตความเชื่อมั่น ที่นำไปสู่วิกฤตการเงิน วิกฤตเศรษฐกิจ ที่กำลังรุมเร้าสหรัฐฯ อยู่นั้น มันร้ายแรงแค่ไหน ถึงขั้นที่ โจ ไบเดน ต้องออกมาเรียกร้องให้ชาวอเมริกันเชื่อมั่นในระบบธนาคารหลังออกมาตรการปกป้องเงินฝาก
การยึดครั้งนี้ ธนาคารเครดิต สวิส ซึ่งเคยมีสถานภาพเป็นกลางทางการเมือง หรือเป็นแหล่งพักทรัพย์สินที่ปลอดภัยที่สุด เป็นหัวโจกในการเข้ามาร่วมยึดกับเขาด้วย พอเครดิต สวิส เข้ามาร่วมวงกับชาติตะวันตก ไปยึดทรัพย์สินของรัสเซีย และชาวรัสเซีย ไปเป็นแสนๆ ล้านดอลลาร์ ก่อให้เกิดความสูญเสียความเชื่อมั่นในความเป็นกลางของสถาบันการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ อย่าง เครดิต สวิส
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากข้อตกลงที่ทางการสวิสเป็นนายหน้า ให้ธนาคาร UBS ซื้อธนาคารคู่แข่งของเครดิต สวิส เพื่อป้องกันการล่มสลายอย่างไม่เป็นระเบียบ และส่งสัญญาณไปถึงความกังวลที่ธนาคารกลางมีต่อความวุ่นวายในระบบการเงินเมื่อเร็วๆ นี้
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
นักวิเคราะห์ชี้ธุรกิจร่วมทุนอาจขาดทุนราว 5 แสนล้านดอลล์หลัง SVB ล้ม : อินโฟเควสท์บลูมเบิร์ก อินเทลลิเจนซ์เปิดเผยว่า หลังจากการล่มสลายของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) นั้น ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture capital – VC) มูลค่าราว 2 ล้านล้านดอลลาร์ อาจจะเผชิญกับภาวะขาดทุน 25-30% หรือราว 5 แสนล้านดอลลาร์ นายเการาฟ ปาตันการ์ นักวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก อินเทลลิเจนซ์เปิดเผยในวันศุกร์ (24 มี.ค.) ว่า “หลังจากการล่มสลายของ SVB เราคาดว่าจะมีการพิจารณามูลค่าการลงทุนและการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนบำเหน็จบำนาญที่มีการลงทุนอย่างมากในธุรกิจเหล่านี้” นายปาตันการ์กล่าวว่า บริษัท VC บางแห่งพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการขาดทุนด้วยการถือครองสินทรัพย์ที่มีมูลค่าลดลงต่อไปหรือทำการเพิ่มทุน แต่วิธีการเหล่านั้นเป็นเพียงการชะลอการประเมินมูลค่าการลงทุนที่ไม่เป็นจริงเท่านั้น ทั้งนี้ มีบริษัท VC หลายแห่งที่มีหนี้สินสูงที่จำเป็นต้องทำการปรับโครงสร้างและรูปแบบธุรกิจใหม่เพื่อให้อยู่รอดได้ ท่ามกลางภาวะสินเชื่อที่ตึงตัว, รายได้ที่ลดลง และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
อินไซต์ SVB : เปิดข้อมูล พบปล่อยกู้คนวงในกว่า 7พันล้านก่อนแบงก์ล้มหน่วยงานสหรัฐพบข้อมูลใหม่ ระบุก่อนการล้มละลายของซิลิคอนวัลเลย์ แบงก์ (SVB) ธนาคารได้ปล่อยกู้แก่คนวงใน (Insiders) ถึง 219 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 7.5พันล้านบาท ฐานเศรษฐกิจ
อ่านเพิ่มเติม »
สหรัฐเปิดข้อมูล SVB ปล่อยกู้ให้คนวงในสูงถึง 219 ล้านดอลล์ก่อนแบงก์ล้ม : อินโฟเควสท์ข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐระบุว่า ในช่วงที่กิจการของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) เริ่มถดถอยลงเมื่อปลายปี 2565 หน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐได้เข้ามาตรวจสอบเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ซึ่งพบว่า SVB ได้เปิดช่องทางการปล่อยกู้ให้กับบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งหน่วยงานสหรัฐระบุว่า คือคนวงใน (Insiders) ซึ่งประกอบไปด้วยบรรดาเจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นหลัก และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของ SVB ข้อมูลดังกล่าวระบุว่า ในไตรมาส 4/2565 SVB ได้ปล่อยให้กู้ให้กับคนวงในกลุ่มนี้จำนวน 219 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าในไตรมาส 3/2565 กว่า 3 เท่า การปล่อยเงินกู้ให้แก่กลุ่มบุคคลวงที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นนี้ อาจนำไปสู่การตรวจสอบหาข้อเท็จจริง ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และสภาคองเกรส กำลังสืบสวนเพื่อหาสาเหตุการล้มละลายของ SVB ซึ่งถือเป็นการล่มสลายของธนาคารสหรัฐครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 10 ปี โดยธนาคาร SVB ล้มละลายหลังจากบรรดานักลงทุนและผู้ฝากเงินแห่ถอนเงินออกจากธนาคารจำนวน 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในวันเดียว ประกอบกับการที่ SVB ล้มเหลวในการระดมเงินทุนเพื่อพยุงสถานะการเงิน โฆษกของเฟดซึ่งดูแลธนาคาร SVB ก่อนที่จะล่มสลาย เปิดเผยว่า เฟดจะดำเนินการทางกฎหมายหรือส่งเรื่องไปให้หน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ […]
อ่านเพิ่มเติม »
'ยูบีเอส' ปิดดีลทุ่มซื้อ 'เครดิตสวิส' กว่า 1.1 แสนล้านหลังการเจรจาอย่างเข้มข้นมาหลายวันติดต่อกันในที่สุดยูบีเอส ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ก็ประสบความสำเร็จในการซื้อเครดิตสวิส ที่กำลังประสบปัญหา ด้วยมูลค่ากว่า 3.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 110,987.5 ล้านบาท
อ่านเพิ่มเติม »
ปิดดีล! UBS ทุ่มกว่า 1.1 แสนล้าน บรรลุข้อตกลงซื้อ ‘เครดิตสวิส’หลังการเจรจาอย่างเข้มข้นมาหลายวันติดต่อกันในที่สุดยูบีเอส ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ก็ประสบความสำเร็จในการซื้อเครดิตสวิส ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ ที่กำลังประสบปัญหา ด้วยมูลค่ากว่า 3.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 110,987.5 ล้านบาท
อ่านเพิ่มเติม »
สรุปไทม์ไลน์ แบงก์ SVB วิกฤติล้มละลาย ตั้งแต่ต้นจนจบ แบบเข้าใจง่ายSilicon Valley Bank (SVB) ล่าสุดได้ยื่นล้มละลายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากเกิดเหตุการณ์ตั้งแต่ FED ขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งถือว่าเป็นไทม์ไลน์ที่รวดเร็วมากและน่าสนใจ เพราะ SVB ก็เป็นหนึ่งในธนาคารที่มีเงินหมุนเวียนสูงมากของโลก
อ่านเพิ่มเติม »