หาคำตอบ..ทำไม ? “เอกสารทางกฎหมาย” เข้าใจยาก

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

หาคำตอบ..ทำไม ? “เอกสารทางกฎหมาย” เข้าใจยาก
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 ThaiPBS
  • ⏱ Reading Time:
  • 84 sec. here
  • 3 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 37%
  • Publisher: 51%

“เอกสารทางกฎหมาย” (Legal Document) เป็นที่รู้กันว่ามีความยากต่อการเข้าใจ ต้องมีการวิเคราะห์ ตีความต่าง ๆ นานา เพื่อไขข้อสงสัยดังกล่าวจึงมีงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์วารสาร PNAS ได้ทำการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบมาอธิบายให้พวกเราได้เข้าใจกัน

“เอกสารทางกฎหมาย” เป็นที่รู้กันว่ามีความยากต่อการเข้าใจ ต้องมีการวิเคราะห์ ตีความต่าง ๆ นานา เพื่อไขข้อสงสัยดังกล่าวจึงมีงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์วารสาร PNAS ได้ทำการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบมาอธิบายให้พวกเราได้เข้าใจกัน

ณ ปัจจุบัน “ภาษาทางกฎหมาย” ได้แทรกซึมอยู่ในกระบวนการคิดของพวกเรามากมาย ซึ่งไม่จำเพาะว่าจะต้องเป็น “นักกฎหมาย” ก็มีการนำภาษาเหล่านี้มาใช้ และด้วยความยากในการทำความเข้าใจ - วิเคราะห์ จึงเป็นคำถามที่ต้องการหาคำตอบตามหลักวิทยาศาสตร์ เป็นโจทย์ให้ทีมนักวิจัยจากคณะนิติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ทำการวิจัยเพื่อหาคำอธิบายในเรื่องนี้

จากการศึกษาพบว่า “เอกสารทางกฎหมาย” จะมีการใช้ภาษาที่มีรูปแบบสร้างความน่าเชื่อถือเป็นเอกลักษณ์ มีการอธิบายในรายละเอียดที่ยาวมากเพื่อเพิ่มความสำคัญ และผู้คนมักจะมีวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้นเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็น “เอกสารทางกฎหมาย” โดยจุดเริ่มต้นนี้น่าจะเริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ซึ่ง Edward Gibson ทีมนักวิจัยจาก MIT กล่าวว่า เอกสารกฎหมายยุคนั้นเขียนซับซ้อนมากจนไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร และตั้งแต่นั้นมาก็แทบจะไม่มีการปรับปรุงใด ๆ ผู้คนดูเหมือนจะเข้าใจว่าเป็นกฎเกณฑ์โดยนัยว่ากฎหมายควรมีลักษณะแบบนี้...

โดยการวิจัยก่อนหน้าซึ่งเผยแพร่ในวารสาร sciencedirect ระบุว่า คำจำกัดความยาว ๆ ตรงกลางประโยค ซึ่งเรียกว่า “Center embedding” มีส่วนสำคัญต่อความซับซ้อนของ “เอกสารทางกฎหมาย” ทีมวิจัยจึงหาคำตอบของสมมติฐานดังกล่าว โดยทดลองให้อาสาสมัครที่ไม่ใช่นักกฎหมายจำนวน 286 คน เขียนงานเขียนประเภท ต่าง ๆ ตั้งแต่ข้อความบรรยายกฎหมาย เรื่องราวเกี่ยวกับอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย รวมถึงคำอธิบายเกี่ยวกับกฎหมายเหล่านั้นแก่ผู้คนจากประเทศอื่น...

ซึ่งผลการศึกษาพบว่า “Center embedding” นั้นถือเป็นเรื่องปกติในการเขียนกฎหมาย ไม่ว่าผู้เข้าร่วมจะได้รับการขอให้กลับไปแก้ไขฉบับร่างในภายหลังหรือไม่ก็ตามก็จะต้องมีอยู่ ซึ่งทำให้ทราบว่าไม่ใช่การแก้ไขหลายรอบที่ทำให้ “เอกสารทางกฎหมาย” มีความซับซ้อน แต่อาจเป็นการบรรยายกฎหมายที่มีความยาวมาก ๆ และการใช้คำยาก ๆ ที่ทำให้เรา ๆ เข้าใจได้ยาก

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

ThaiPBS /  🏆 52. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

​The Exit : เปิดข้อมูลจากคนงานเลี้ยงปลาหมอคางดำ สวนทางซีพีเอฟ​The Exit : เปิดข้อมูลจากคนงานเลี้ยงปลาหมอคางดำ สวนทางซีพีเอฟThe Exit ไทยพีบีเอส ยังคงติดตาม หาคำตอบ ถึงแหล่งที่มาจุดเริ่มต้น ที่ทำให้เกิดการขยายพันธุ์ และแพร่ระบาดของป...
อ่านเพิ่มเติม »

เปิดสาเหตุ ทำไม 4 เทพโลมา ถึงเป็นความหวังใหม่ กำจัด 'ปลาหมอคางดำ' ถ้าออกทะเลเปิดสาเหตุ ทำไม 4 เทพโลมา ถึงเป็นความหวังใหม่ กำจัด 'ปลาหมอคางดำ' ถ้าออกทะเลนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เผยสาเหตุ ทำไม 4 เทพโลมา ปราการชายฝั่งทะเลไทย ถึงเป็นความหวังใหม่ กำจัด 'ปลาหมอคางดำ' ถ้าออกทะเล
อ่านเพิ่มเติม »

ผ่ากลยุทธ์ ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ ฝ่ามรสุมแข่งดุ ปั้นกำไร ไปรษณีย์ไทย 350 ล้านผ่ากลยุทธ์ ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ ฝ่ามรสุมแข่งดุ ปั้นกำไร ไปรษณีย์ไทย 350 ล้านความท้าทายของ ไปรษณีย์ไทย คือการเผชิญกับ คู่แข่งต่างชาติ ที่หลั่งไหลเข้ามาบุกตลาดในประเทศ โดยไม่สนใจว่า ขาดทุนหรือไม่ ทว่าท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือดนี้ ทำไม ไปรษณีย์ไทย ยังมีกำไร
อ่านเพิ่มเติม »

“แม่ประนอม” 6 ทศวรรษน้ำพริกเผาไทย-น้ำจิ้มไก่รายได้พันล้าน แบรนด์ตัวแม่ที่อยู่มาแล้วทุกยุค“แม่ประนอม” 6 ทศวรรษน้ำพริกเผาไทย-น้ำจิ้มไก่รายได้พันล้าน แบรนด์ตัวแม่ที่อยู่มาแล้วทุกยุคThairath Money คอลัมน์ BrandStory หยิบเรื่องราวของ “แม่ประนอม” แบรนด์น้ำพริกเผา-น้ำจิ้มไก่อายุ 65 ปี แบรนด์สุด Iconic ที่หลายๆ คนเรียก แม่ๆ กันติดปากจนถึงทุกวันนี้ ทำไม แม่ประนอม...
อ่านเพิ่มเติม »

'ดูหนัง ดูละคร ย้อนดูตัวเอง' ถอดบทเรียน เรื่องวิมานหนาม ทำไม? เราต้องวางแผน “มรดก”และทำ'พินัยกรรม''ดูหนัง ดูละคร ย้อนดูตัวเอง' ถอดบทเรียน เรื่องวิมานหนาม ทำไม? เราต้องวางแผน “มรดก”และทำ'พินัยกรรม'“พินัยกรรม” คำสั่งเสียสุดท้าย เมื่อการส่งต่อทรัพย์สินไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ และ ไม่ใช่แค่เรื่องของ 'คนรวย'ถอดบทเรียน หนังดัง 'วิมานหนาม' สงครามแย่งชิงมรดก ที่มา ทำไม? เราต้องวางแผน “มรดก”
อ่านเพิ่มเติม »

“รวยกระจุก จนกระจาย” ทำไม? แม้เศรษฐกิจโต แต่เราไม่รวยขึ้น“รวยกระจุก จนกระจาย” ทำไม? แม้เศรษฐกิจโต แต่เราไม่รวยขึ้น“รวยกระจุก จนกระจาย” คนรายได้สูงมีไม่กี่คน แต่คนรายได้น้อยมีมาก ธปท.ตอบคำถามทางเศรษฐศาสตร์ ทำไม? แม้เศรษฐกิจไทยโตขึ้น - GDP ขยายตัว แต่เราไม่รวยขึ้นสักที
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-23 21:05:18