ส.ส.ก้าวไกล หวั่น ร่างพรบ.แก้ไขเวนคืนที่ดิน ถูกนายกฯตีตก หลังตีความเป็นกม.การเงิน บ่นเสียดายผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจแต่อาจถูกตีตกเหมือนร่างกม.ที่ก้าวไกลเสนอทุกครั้ง
26 ส.ค.2565 - ที่รัฐสภา นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล แถลงว่า ในวันนี้ ได้มีการประชุมร่วมกันของประธานกรรมาธิการ 35 คณะ โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งมีประเด็นที่ตนได้ทำหนังสือคัดค้านตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า เนื่องจากประธานมีคำวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเวนคืนที่ดิน ที่พรรคก้าวไกลได้เสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรนั้น เป็นพ.ร.บ.
นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ร่างที่เราได้เสนอเพิ่มเติมเป็นร่างแก้ไขเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้มีอำนาจในการริเริ่มกระบวนการในการเวนคืนที่ดินได้ แทนที่จะต้องกระทำผ่านคณะรัฐมนตรี โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น จึงได้นำเรียนว่าร่างที่พวกเราเสนอนั้นไม่ได้หมายความว่า ท้องถิ่นจะต้องเวนคืนที่ดินเองหรือต้องใช้เงินของท้องถิ่นเอง แต่เราต้องการเพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่น สามารถอนุมัติโครงการได้เท่านั้น ซึ่งเจ้าของโครงการที่จะทำโครงการต่างๆ อาจจะหน่วยงานของรัฐใดๆก็ได้ ที่เป็นเจ้าของงบประมาณนั้น...
“ซึ่งเรื่องนี้พรรคก้าวไกล ได้ทำการศึกษาร่วมกับสำนักวิชาการสภา โดยเห็นโมเดลในต่างประเทศ จึงเป็นประเด็นที่ได้ชี้แจงและคัดค้านว่าการอนุมัติการริเริ่มกระบวนการเวนคืนที่ดินนั้น ไม่ได้เป็นภาระทางงบประมาณเพิ่มขึ้น จึงไม่ควรเป็นร่างการเงิน” นายณัฐพงษ์ กล่าว นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ผลการลงมติในวันนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 28 คน โดยไม่นับรวมนายชวน จึงคิดแค่ 27 คน ทั้งนี้ สมาชิก 21 คน ลงความเห็นว่าร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นร่างการเงิน และลงความเห็นว่าไม่เป็นร่างการเงินจำนวน 6 คน ซึ่งขั้นตอนต่อไปคือการส่งต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ไปที่นายกรัฐมนตรีว่าจะเห็นชอบหรือไม่ อย่างไรก็ตามตนเสียดาย เพราะเราผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจผ่านร่างพ.ร.บ.
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
‘ก้าวไกล’ หวั่น ร่างแก้ไขเวนคืนที่ดิน ถูกนายกฯ ตีตก หลังตีความเป็นกฎหมายการเงิน‘ก้าวไกล’ หวั่น ร่างแก้ไขเวนคืนที่ดิน ถูกนายกฯ ตีตก หลั …
อ่านเพิ่มเติม »
ออกโรงทันควัน 'พิธา' เพ้อสุญญากาศบริหารประเทศ ได้รักษาการนายกฯไม่กระฉับกระเฉงส.ส.พรรคก้าวไกล นำโดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับพิจารณาคำร้อง และสั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
อ่านเพิ่มเติม »
ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องให้นายกรัฐมนตรี 'หยุดปฏิบัติหน้าที่'วันนี้ (24 ส.ค.65) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีวาระการประชุม เพื่อพิจารณาเรื่องที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ยื่นคำร้องกรณีที่ 171 ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน เข้าชื่อถึงนายชวน หลีกภัย ประธา
อ่านเพิ่มเติม »
ตั้งใจไปให้สุด! 'หมอระวี'นำ 106 ชื่อยื่น'ปธ.ชวน' ส่งศาลรธน.ชี้ขาด'กม.เลือกตั้ง'คลิกอ่านข่าว : ตั้งใจไปให้สุด! หมอระวีนำ 106 ส.ส.-ส.ว.ยื่นปธ.รัฐสภา ส่งร้องศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย 2 ประเด็น ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส.ชอบด้วยรธน.หรือไม่ หมอระวี พลังธรรมใหม่ การเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง กฎหมายเลือกตั้ง
อ่านเพิ่มเติม »
ภูมิใจไทย แจงร่วมลงชื่อตีความกม.ลูกเพื่อความชัดเจน ป้องกันเลือกตั้งโมฆะ : อินโฟเควสท์นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย 43 คน ร่วมลงชื่อในคำร้องของ นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.พรรคพลังธรรมใหม่ ที่ขอให้ประธานรัฐสภาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า เป็นไปตามมติของพรรคที่เห็นว่า หากมีปัญหาข้อกฎหมายที่สมควรให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พรรคก็จะร่วมลงชื่อเพื่อให้ประเด็นต่างๆ ที่มีปัญหาได้ข้อยุติ ไม่ปล่อยให้เกิดความคลุมเครือ เพราะหากปล่อยให้กฎหมายมีความคลุมเครือไปจนถึงการเลือกตั้งจริง ประเด็นคลุมเครือต่างๆ อาจถูกหยิบยกมายื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และอาจทำให้ศาลต้องวินิจฉัยกันอีกว่าการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายศุภชัย ยืนยันว่า การร่วมลงชื่อครั้งนี้ไม่ได้เป็นการยื้อร่างกฎหมายเลือกตั้งเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกตั้งขึ้น แต่ทำเพื่อความชัดเจน เพราะประวัติศาสตร์เคยมีกรณีการเลือกตั้งเป็นโมฆะมาแล้ว เมื่อปี 2557 จนต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าประเทศไม่ควรจะเสียเวลาไปตีความกฎหมายในช่วงเวลาอย่างนั้น ดังนั้นการให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความตั้งแต่เวลานี้ น่าจะเป็นการดี สำหรับประเด็นสำคัญที่พรรคภูมิใจไทยเห็นว่าควรให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คือเรื่องสัดส่วนพึงมีในการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ยังต้องมีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 93,94 อยู่หรือไม่ และประเด็นว่า การเลือกตั้งการตามร่างกฎหมายดังกล่าวแยกกันเด็ดขาดระหว่าง ส.ส.เขต 400 คน กับ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 100 คน แล้วหรือไม่ รวมถึงประเด็นการใช้ร่างกฎหมายฉบับที่ยัง ไม่ได้มีการพิจารณา เนื่องจากกรณีครบ …
อ่านเพิ่มเติม »