รมช.พาณิชย์ เผยสินค้า GI “มะขามหวานเพชรบูรณ์” ไทย ได้รับการคุ้มครองในเวียดนามแล้ว ย้ำชี้ช่วยขยายมูลค่าการส่งออกของไทย พร้อมลุยจด GI ในต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น…
นนทบุรี 14 มี.ค.- รมช.พาณิชย์ เผยสินค้า GI “มะขามหวานเพชรบูรณ์” ไทย ได้รับการคุ้มครองในเวียดนามแล้ว ย้ำชี้ช่วยขยายมูลค่าการส่งออกของไทย พร้อมลุยจด GI ในต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น
นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากแผนการส่งเสริมการจดทะเบียน GI ไทยในต่างประเทศเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล สร้างโอกาสให้สินค้า GI ไทยได้รับความคุ้มครองในตลาดส่งออกสำคัญของไทย ผลักดันมูลค่าการตลาดให้สูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีสินค้า GI ไทยได้รับการจดทะเบียนในต่างประเทศ รวม 6 รายการ ครอบคลุมกว่า 30 ประเทศ ทั้งสหภาพยุโรป อินเดีย อินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม ได้แก่ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง กาแฟดอยช้าง กาแฟดอยตุง เส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน...
ทั้งนี้ ล่าสุดในปีนี้ สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ประเทศเวียดนาม ประกาศรับจดทะเบียน GI “มะขามหวานเพชรบูรณ์” เรียบร้อยแล้ว นับเป็นสินค้า GI ไทยรายการที่ 2 ต่อจาก “เส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน” ที่ได้รับการจดทะเบียน GI ในเวียดนาม ส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย ทำให้ผู้บริโภคต่างชาติมั่นใจในคุณภาพสินค้า GI ไทย และช่วยสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมเดินหน้าผลักดันการจดทะเบียนสินค้า GI ไทยที่มีศักยภาพในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ...
อย่างไรก็ตาม มะขามหวานเพชรบูรณ์เป็นสินค้า GI ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนาน ด้วยลักษณะเด่นที่มีรสชาติหวานหอมเป็นเอกลักษณ์ ฝักใหญ่ เนื้อหนานุ่มเหนียว มีสีสวยสม่ำเสมอ โดยในแต่ละปีมีปริมาณการผลิตสูงถึง 52,000 ตัน มีระบบควบคุมคุณภาพสินค้า GI ที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมีตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ เวียดนาม จีน และหลายประเทศในทวีปยุโรป สร้างเม็ดเงินให้ผู้ประกอบการในจังหวัดเพชรบูรณ์กว่า 3,900 ล้านบาท/ปี อีกด้วย.
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
โพลชี้คนไทยสนใจข่าวสงครามรัสเซีย-ยูเครน กังวลราคาน้ำมัน-ค่าครองชีพพุ่งดุสิตโพลเผยประชาชนส่วนใหญ่สนใจติดตามข่าวสงครามรัสเซีย-ยูเครน กังวลผลกระทบราคาน้ำมัน สินค้า แพงขึ้น ทำค่าครองชีพสูงขึ้น
อ่านเพิ่มเติม »