นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานเปิดงาน 'สระบุรีแซนด์บ็อกซ์' รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย ซีพีเอฟ แสดงแนวทางการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และ ซีพี-เมจิ ร่วมโครงการแยกขวด-ลดขยะ สร้างมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้
นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานเปิดงาน 'สระบุรีแซนด์บ็อกซ์' รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย' และได้เยี่ยมชมบูธ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ที่นำเสนอแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานสู่การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ซีพีเอฟเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความยั่งยืน ผ่านการจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบและสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานชีวมวล พลังงานชีวภาพ และพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากนี้
ซีพีเอฟยังให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพกายและใจ โดยเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซีพีเอฟเป็นบริษัทผลิตอาหารแห่งแรกของโลกที่ได้รับการอนุมัติเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาว ตามหลักวิทยาศาสตร์ จากองค์กร Science Based Targets Initiative (SBTi) ความร่วมมือในโครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ ซีพี-เมจิ บริษัทร่วมทุนของซีพีเอฟ ดำเนินโครงการแยกขวด-ลดขยะ สร้างมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ โดยสนับสนุนให้นักเรียน ครู และชุมชน เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการจัดการขยะ ตั้งแต่การคัดแยก และส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ลดการปนเปื้อนและการกำจัดโดยการเผา สามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายขยะ ปัจจุบันมีสมาชิกร่วมโครงการกว่า 5,000 ครัวเรือน มีเป้าหมายคัดแยกผลิตภัณฑ์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลไม่ต่ำกว่า 1 ล้านชิ้น และตั้งเป้าขยายโครงการธนาคารขยะ 10 แห่ง ภายในปี 2568 เป็นการสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศเมืองนวัตกรรม Net Zero Emission และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียวด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และชุมชน ผลักดันสระบุรีเป็นเมืองต้นแบบแห่งแรกในไทยที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย
Sustainable City Net Zero Emission Carbon Reduction CP Group Circular Economy Waste Management
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
บี.กริม เพาเวอร์ ทุ่ม 1.18 แสนล้านบาท ลงทุนพลังงานหมุนเวียนบี.กริม เพาเวอร์ ตั้งเป้า Net Zero GHG Emission ในปี 2593 ลงทุน 1.18 แสนล้านบาท ในพลังงานหมุนเวียน เพิ่มกำลังผลิต 5.6 พันเมกะวัตต์
อ่านเพิ่มเติม »
ความท้าทายและอุปสรรค ในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ในปี ค.ศ. 2065
อ่านเพิ่มเติม »
นโยบาย 30@30 สนับสนุนไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนนโยบาย 3030 ที่วางเป้าหมายการผลิตรถยนต์ ZEV (Zero Emission Vehicle) ให้ได้ 30% ภายในปี 2030 เป็นนโยบายสำคัญที่สนับสนุนไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
อ่านเพิ่มเติม »
อาคารธนพิพัฒน์ สู่ Net Zero Buildingอาคารธนพิพัฒน์ของ DAD จะยกระดับเป็นอาคาร Net Zero building โดยมีการลงทุน 32 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารกักเก็บพลังงานที่จะนำไปใช้ในอาคารสำนักงาน
อ่านเพิ่มเติม »
บ.วีกรีน เคยู จับมือ 3 หน่วยงาน มก.ขยายงานตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกบริษัท วีกรีน เคยู จำกัด จับมือ 3 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขยายงานตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก ตอบโจทย์ CARBON NEUTRALITY, NET ZERO, SDGs
อ่านเพิ่มเติม »
UAC ยกระดับสู่ความยั่งยืน เดินหน้า EV logistics – BiocharUAC ประกาศยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืน ภายใต้โมเดลธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) พร้อมเร่งขับเคลื่อนธุรกิจสู่ New Sustainable Growth ด้วยการต่อยอดการลงทุนธุรกิจ EV logistics – Biochar สอดรับเป้าหมาย Net Zero
อ่านเพิ่มเติม »