ศรีลังกา ลั่น หากไทยเอาช้างอีก 2 เชือกกลับ จะฟ้องร้องเรียกค่าชดเชย

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

ศรีลังกา ลั่น หากไทยเอาช้างอีก 2 เชือกกลับ จะฟ้องร้องเรียกค่าชดเชย
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 NationTV22
  • ⏱ Reading Time:
  • 273 sec. here
  • 6 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 112%
  • Publisher: 59%

ศรีลังกา ลั่น หากไทยเอาช้างอีก 2 เชือกกลับ จะฟ้องร้องเรียกค่าชดเชย ช้าง ศรีลังกา ค่าชดเชย ข่าววันนี้ NationOnline

เจาะลึกเรื่องราวของ ‘ช้างสยาม’ ตั้งแต่การถูกส่งเป็นเครื่องราชบรรณาการ ก่อนจะกลายเป็นสินค้าส่งออก เครื่องมือทางการเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ กระทั่งถึงบทบาททูตสันถวไมตรี ที่กำลังถูกตั้งคำถามว่า เป็นการละเมิดสิทธิสัตว์หรือไม่?เดินทางไปศรีลังกาทำไม และเหตุใดถึงต้องจัดหาเครื่องบินไปรับกลับจนกลายเป็นข่าวใหญ่ครึกโครม ตามมาด้วยเสียงตำหนิติเตียนต่าง ๆ นานากรณีที่พ่อพลายของเราได้รับการดูแลไม่ค่อยดีเท่าไรนัก...

สะท้อนว่าชาวขะแมร์มีความชำนาญและศักยภาพในการจับช้างมากกว่าชาวเสียมหรือสยาม อาจเป็นเพราะช่วงนั้นเขตที่ราบสูงโคราช - เขาพนมดงเร็ก ยังขึ้นกับกัมพูชา เลยได้ทรัพยากรช้างจากชาวกูยมาก สภาพการณ์นี้เปลี่ยนไปเมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 นำทัพไปพิชิตอาณาจักรเมืองพระนครของกัมพูชา และบ้านเมืองในเขตอีสานใต้ต่างอ่อนน้อมและหันมาเข้ากับอยุธยา หลังจากนั้นเป็นต้นมาสยามจึงกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและค้าช้างในภูมิภาคแทนที่กัมพูชา และอยุธยาก็ได้เกิดมีเพนียดคล้องช้างขึ้นแห่งแรกคือ...

อาจเพราะราชวงศ์ชิงที่มีอำนาจหลังสิ้นยุคหมิงไม่นิยมช้าง แต่นิยมม้ามากกว่า โดยเฉพาะม้าเปอร์เซียที่ขุนนางและพ่อค้าสังกัดกรมท่าขวานำเข้ามาอยุธยาก่อนจะส่งต่อไปให้กับจีน ในจดหมายเหตุจีนก็จะพบการส่งม้าจากอยุธยาไปยังปักกิ่งอยู่จนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย ประกอบกับความยุ่งยากในการขนส่ง ช้างซึ่งกินระวางพื้นที่บนเรือสำเภามาก แม้จะมีเทคโนโลยีเรือกำปั่นของชาติยุโรปเกิดขึ้นแล้ว แต่กฎหมายจีนอนุญาตเฉพาะเรือสำเภาแบบจีนเท่านั้นที่มีสิทธิ์จอดเทียบท่าเรือจีนที่มณฑลเทียนสินได้ ทำให้เกิดอุปสรรคในการขนส่งช้าง...

ทั้งนี้เพื่อให้จีนรับรองอำนาจของราชวงศ์ลพบุรีของสมเด็จพระราเมศวรเหนือราชวงศ์สุพรรณภูมิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แต่สิ่งที่ราชวงศ์สุพรรณภูมิส่งไปจีนในเวลาต่อมานั้นเหนือชั้นกว่าการส่งช้างไปมาก เพราะเป็นการส่ง ‘ลกเจ้าควนอิน’ ยุพราชอย่างเจ้านครอินทร์ เดินทางไปเมืองจีนเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีโดยตรง ในอินเดียและศรีลังกาเอง มหาราชาแคว้นต่าง ๆ ทั้งที่นับถือพราหมณ์ฮินดู พุทธ และที่นับถืออิสลาม ต่างก็เป็น ‘ลูกค้า’ รับซื้อช้างจากอยุธยา ยิ่งเมื่ออยุธยามีขุนนางและพ่อค้าชาวเปอร์เซียเข้ามาตั้งรกรากอยู่มาก คนเหล่านี้ก็เป็นตัวแทนในการติดต่อประสานระหว่างอยุธยากับอินเดีย การส่งช้างไปอินเดียจึงดำเนินไปได้ด้วยดี เป็นกิจการที่รุ่งเรืองทำกำไรให้แก่ชนชั้นนำอยุธยาอย่างมหาศาล

บันทึกของ ‘นิโกลาส์ แชรแวส’ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการจับช้างเพื่อส่งออกในช่วงเวลาดังกล่าวเอาไว้ดังนี้ “สิ่งที่พระองค์ โปรดมากที่สุดก็คือการล่าเสือและคล้องช้าง ซึ่งพระองค์มักจะทรงบำเพ็ญอยู่โดยปรกติตลอดเวลาที่ประทับอยู่ ณ เมืองละโว้ กล่าวคือระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงปลายเดือนกรกฎาคม หรือกระทั่งต้นเดือนสิงหาคม ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดจะทรงชำนิชำนาญและทรงโชคดีเท่าพระองค์...

โดยบุคคลที่เข้ามามีอำนาจใหม่หลังการยึดอำนาจที่ลพบุรีเมื่อ พ.ศ. 2231/ค.ศ.

อย่างไรก็ตามทั้งเรื่องตากะจะกับบุตรชายและสองพี่น้องตามช้างเผือกนี้ล้วนเป็นเรื่องเล่าภายหลัง ทั้งนี้ชาวกูยมีบทบาทแน่ไม่เป็นที่กังขา เพียงแต่บรรพชนชาวกูยผู้เกี่ยวข้องกับการส่งช้างไปเป็นส่วยบรรณาการไปให้อยุธยาส่งออกไปขายต่างประเทศอีกต่อหนึ่งนี้ เป็นประชาชนคนธรรมดาสามัญชนที่ไม่ปรากฏชื่อเสียงเรียงนาม ก่อให้เกิดช่องว่างทางประวัติศาสตร์สำหรับการเติมชื่อบุคคลและเรื่องเล่าลงไปในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเรื่องเล่าที่แสดงให้เห็นสายสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันระหว่างอีสานกับรัฐส่วนกลาง...

รวมถึงเรื่องที่บุตรชายของเจ้ากรมช้างอย่าง ‘นายเดื่อ’ หรือ ‘หลวงสรศักดิ์’ ต่อให้ไม่มีเรื่องเล่าลือว่าเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ ลำพังการเป็นขุนนางที่มีบทบาทในกรมช้าง ก็ได้การเคารพยกย่องเป็นผู้มีบุญวาสนามากพออยู่แล้วในตัว เรื่องราวชีวิตโลดโผนต่าง ๆ นานาของหลวงสรศักดิ์ อาจไม่เป็นเรื่องแปลกประหลาดอย่างใด หากพิจารณาว่าบุคคลผู้นี้เป็นผู้นำของคนจับช้าง...

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในมีผลต่อการทูตของสยามมาแต่ไหนแต่ไร เมื่อสิ้นราชวงศ์ปราสาททอง การทูตผ่านช้างก็ยุติลง การส่งช้างไปต่างประเทศหลังจากนั้นเป็นไปด้วยเหตุผลอย่างอื่น เช่น การส่งเป็นสินค้าออกโดยมีคู่ค้าสำคัญคือบริษัท EIC ที่อินเดีย ยังคงดำเนินสืบเนื่องต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 2 แต่การทูตผ่านช้างที่ยุติไปหลังสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เพิ่งจะถูกรื้อฟื้นขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายใต้บริบทสังคมโลกยุคล่าอาณานิคม การค้าฝั่งตะวันออกที่มีจีนเป็นตลาดใหญ่...

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีวิสัยทัศน์เห็นแต่วัดกับวัง นักโบราณคดีไทยก็ดูแต่อิฐกับปูน จนป่านนี้อยุธยาจึงยังไม่มีแหล่งเรียนรู้อู่ต่อเรือกำปั่นที่ในอดีตคือกุญแจหนึ่งที่ไขไปสู่ความมั่งคั่งของกรุงศรีอยุธยา เมื่อจะศึกษาในเรื่องนี้แหล่งแรกและเกือบจะเป็นแหล่งเดียวที่ผู้คนจะนึกถึงได้ยังคงเป็นอู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่จันทบุรี โดยหารู้ไม่ว่าที่อยุธยาก็มีอู่ต่อเรือแบบนั้นเช่นกัน...

เดิมทีนโยบายสร้างเพนียดและฟื้นกรมช้างขึ้นใหม่นี้เป็นพระราชดำริมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้มีการสำรวจบัญชีช้างทั่วราชอาณาจักร แล้วพบว่ามีช้างเหลืออยู่น้อย จึงเกิดแนวคิดว่าจะต้องฟื้นกรมช้างเพื่อดำเนินการจับช้างป่ามาฝึกไว้ใช้งาน เพียงแต่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นช่วงที่มีการศึกสงครามมาก และขาดแคลนบุคลากรทางด้านนี้ ยังไม่พร้อมที่จะสร้าง มาพร้อมเมื่อปลายรัชกาลแล้วก็กลับต้องมีการผลัดแผ่นดินมาเป็นรัชกาลที่ 1...

บทบาทของกรมช้างและเพนียดคล้องช้างหลังจากนั้นก็เปลี่ยนมาเป็นการจับช้างเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะได้มีช้างไว้ใช้งานในกิจการภายใน ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม การขนส่ง การเกษตร สงคราม และพระราชพิธี ก่อนที่การจับช้างที่เพนียดคล้องช้างอยุธยาจะกลายเป็น ‘มหรสพ’ สำหรับราษฎรและอาคันตุกะชาวต่างชาติมารับชมการแสดงเพื่อความบันเทิงในเวลาต่อมา ซึ่งนั่นก็เป็นอันว่าการค้าช้างกับต่างประเทศที่ดำเนินมายาวนานในสมัยอยุธยานั้นได้สิ้นสุดลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วอย่างไรก็ตาม ถึงแม้ในช่วงหลังคริสต์ศตวรรษที่ 19...

แต่ในช่วงหลังบริบททางสังคมวัฒนธรรมและลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเปลี่ยนไปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ความเป็นจักรพรรดิราชแบบดั้งเดิมได้เสื่อมคลายลง รัชกาลที่ 4 ก็สามารถส่งช้างไปต่างประเทศด้วยเหตุผลเพื่อเป็นบรรณาการได้โดยที่ประเทศผู้รับไม่ใช่จีนเหมือนดังในอดีต เมื่อรู้สึกว่าถูกอังกฤษคุกคามหรืออังกฤษเข้ามามีบทบาทมากนับแต่การทำสนธิสัญญาเบาริงเมื่อ พ.ศ.

แต่แล้ว ‘ช้างบรรณาการ’ ที่รัชกาลที่ 4 ส่งไปฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2403 กลับต้องพบชะตากรรมถูกนายทหารที่ปารีสสังหารในอีก 10 ปีต่อมา เพื่อนำเอาเนื้อไปปรุงอาหารในช่วงที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ การจากไปของช้างบรรณาการทั้ง 2 เชือก ถึงจะเป็นไปอย่างเงียบ ๆ แน่นอนย่อมไม่มีจดหมายแจ้งบอกมายังราชสำนักสยาม ซึ่ง ณ พ.ศ.

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

NationTV22 /  🏆 35. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

ศรีลังกาไม่ยอม! ถ้าไทยเอาช้างอีก 2 เชือกกลับ จะฟ้องแน่นอนศรีลังกาไม่ยอม! ถ้าไทยเอาช้างอีก 2 เชือกกลับ จะฟ้องแน่นอนจากข่าวใหญ่ ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศไทย ได้นำช้างไทย ชื่อ พลายศักดิ์สุรินทร์ กลับคืนสู่ผืนแผ่นดินไทย หลังส่งให้ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 4
อ่านเพิ่มเติม »

พลายศักดิ์สุรินทร์ ต้องฝึกฟัง 4 ภาษา มีปัญหาสุขภาพเพิ่ม ตาขวาเป็นต้อกระจกพลายศักดิ์สุรินทร์ ต้องฝึกฟัง 4 ภาษา มีปัญหาสุขภาพเพิ่ม ตาขวาเป็นต้อกระจกพลายศักดิ์สุรินทร์ ต้องฝึกฟัง 4 ภาษา  ศรีลังกา ไทย อีสาน และ ภาษาเหนือ  ส่วนเรื่องสุขภาพ เจอเพิ่ม ตาขวาเป็นต้อกระจก พลายศักดิ์สุรินทร์  วันนี้ (4 ก.ค.2566) ข้อมูลล่าสุดจาก โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยระบุว่า…
อ่านเพิ่มเติม »

“พิธา” ลั่น รุกได้ถอยเป็น เส้นทางสู่นายกฯ สดใส จุดยืนก้าวไกล หลักการสำคัญกว่าบุคคล“พิธา” ลั่น รุกได้ถอยเป็น เส้นทางสู่นายกฯ สดใส จุดยืนก้าวไกล หลักการสำคัญกว่าบุคคล“พิธา” ลั่น รุกได้ถอยเป็น มั่นใจเส้นทางสู่นายกฯ สดใส จุดยืนก้าวไกล หลักการสำคัญกว่าบุคคล SanookNews Sanook ข่าววันนี้
อ่านเพิ่มเติม »

“ตั๊น” ฉุน ถูกโยงชิงเก้าอี้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลั่น ไม่เคยอยู่ในความคิด“ตั๊น” ฉุน ถูกโยงชิงเก้าอี้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลั่น ไม่เคยอยู่ในความคิด“ตั๊น จิตภัสร์” โวย ถูกเอาชื่อไปโยงชิงเก้าอี้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ ลั่น ไม่เคยอยู่ในความคิด ทุกวันนี้มีความสุขกับการลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน แขวะ เดินคนเดียว แต่ไม่มีคนเดินตามเขาไม่เรียกว่าผู้นำ
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-08 01:13:29