วุฒิสมาชิกรีพับลิกันมั่นใจ 'ทรัมป์' มีโอกาสคว้าชัยศึกเลือกตั้งปธน.ปี 67 พรรครีพับลิกัน สหรัฐ เลือกตั้งประธานาธิบดี โดนัลด์ทรัมป์ อินโฟเควสท์
นายลินด์ซีย์ เกรแฮม วุฒิสมาชิกสหรัฐพรรครีพับลิกันประจำรัฐเซาท์แคโรไลนาและพันธมิตรคนสนิทของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เชื่อว่า ทรัมป์ มีโอกาสอย่างมากที่จะคว้าชัยในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2567 และจะปูทางให้ทรัมป์กลับสู่เส้นทางการเมืองครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ
นายเกรแฮมซึ่งขณะนี้กำลังเผชิญกับการเรียกร้องให้เป็นพยานในการไต่สวนคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับความพยายามที่จะล้มล้างการเลือกตั้งในปี 2563 ของอดีตปธน.ทรัมป์ กล่าวว่า ทรัมป์สามารถวางตำแหน่งตัวเองในฐานะประธานาธิบดีแห่งความหวัง และมีโอกาสที่จะเข้ามากอบกู้วิกฤตของชาติในขณะที่บรรยากาศทางการเมืองและเศรษฐกิจภายใต้การปกครองของปธน.โจ ไบเดน กำลังหม่นหมอง
นายเกรแฮมให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่า เขาได้ให้กำลังใจกับทรัมป์ว่า แม้ว่าทรัมป์พ่ายแพ้ในศึกเลือกตั้งปี 2563 แต่ในการเลือกตั้งปี 2567 นั้นไม่ไกลเกินเอื้อม พร้อมเปิดเผยคำกล่าวซึ่งเขาเคยพูดกับทรัมป์ว่า “ถ้าคุณแพ้อีกครั้ง เรื่องราวของคุณและสิ่งที่คุณทำไว้จะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล แต่ถ้าคุณกลับมาได้ มันจะเป็นหนึ่งในการกลับสู่เส้นทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ และถ้าคุณมีเวลาอีก 4 ปี...
“ผมคิดว่า หากทรัมป์จะพูดอะไรกับชาวอเมริกัน เขาจะพูดว่า จำได้ไหม ตอนที่ผมเป็นประธานาธิบดี ชายแดนของเราก็ปลอดภัย เรามียอดการข้ามชายแดนผิดกฎหมายต่ำที่สุดในรอบ 40 ปี เมื่อครั้งที่ผมเป็นประธานาธิบดี ผมยืนหยัดต่อสู้อิทธิพลของจีนและพวกเขารับฟังผม ตอนที่ผมเป็นประธานาธิบดี เรามีกองทัพที่แข็งแกร่งที่สุดตั้งแต่สมัยประธานิบดีโรนัลด์ เรแกน”
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เยนฟื้นตัวเทียบดอลลาร์ นลท.ช้อนซื้อเยนหลังร่วงแตะต่ำสุดรอบ 24 ปี : อินโฟเควสท์สกุลเงินเยนแข็งค่าขึ้นสู่กรอบล่าง 140 เยนเทียบดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อเงินเยน หลังร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปีที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ระบุว่า นักลงทุนเข้าซื้อเงินเยน เพราะต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หลังเกิดความวิตกกังวลเรื่องวิกฤตอุปทานพลังงานในยุโรป สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ณ เที่ยงวันนี้ตามเวลาโตเกียวดอลลาร์เคลื่อนไหวที่ 140.29-140.30 เยน เทียบกับ 140.07-140.17 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 140.24-140.26 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อเวลา 17.00 น.ของวันศุกร์ ยูโรเคลื่อนไหวที่ 0.9912-0.9916 ดอลลาร์และ 139.06-139.12 เยน เทียบกับ 0.9951-0.9961 ดอลลาร์และ 139.55-139.65 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 0.9988-0.9989 ดอลลาร์และ 140.08-140.12 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อช่วงบ่ายวานศุกร์ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (05 ก.ย. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »
โปแลนด์เรียกร้องเยอรมนีจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ : อินโฟเควสท์นายยารอสวาฟ คาชินสกี ผู้นำพรรคกฎหมายและความยุติธรรม (PiS) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลโปแลนด์เปิดเผยว่า โปแลนด์จะเรียกร้องเงินชดเชยจากเยอรมนี จำนวน 1.31 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 48.16 ล้านล้านบาท) สำหรับความเสียหายที่เกิดจากพรรคนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายคาชินสกีแถลงข้อเรียกร้องดังกล่าวในพิธีเสนอรายงานความเสียหายของโปแลนด์จากการรุกรานของเยอรมนีโดยระบุว่า แม้กระบวนการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจะยาวนานและยากลำบาก แต่สิ่งสำคัญคือโปแลนด์ต้องได้รับเงินชดใช้สำหรับความเสียหายทั้งหมดที่เยอรมนี รัฐเยอรมัน และชาติเยอรมัน ได้ก่อในโปแลนด์ระหว่างปี 2482-2488 นอกจากนี้ นายคาชินสกีกล่าวว่า หลายสิบประเทศทั่วโลกได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายจากเยอรมนีแต่โปแลนด์นั้นไม่ได้รับ ซึ่งเขาชี้ว่า เกิดจากการขาดแผนริเริ่ม พร้อมย้ำถึงหลักการทั่วไปที่ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งระบุว่า หากรัฐหนึ่งสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ให้อีกรัฐหนึ่งก็จะต้องชดเชยความเสียหายนั้น “ไม่มีเหตุผลว่าทำไมโปแลนด์ถึงถูกกีดกันจากการชดเชยด้วยหลักการดังกล่าว” นายคาชินสกีกล่าว ทั้งนี้ รายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า ชาวโปแลนด์ราว 6 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวโปแลนด์เชื้อสายยิว 3 ล้านคน ถูกสังหารระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของประเทศ ถูกถล่มราบหลังเกิดการจลาจลในปี 2487 ซึ่งส่งผลให้พลเรือนเสียชีวิตราว 200,000 ราย โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (05 ก.ย. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »
EU จ่อประชุมออกมาตรการฉุกเฉิน 9 ก.ย.นี้ หลังรัสเซียปิดท่อส่งก๊าซไม่มีกำหนด : อินโฟเควสท์คณะรัฐมนตรีในกลุ่มชาติยุโรปจะหารือกันถึงมาตรการแทรกแซงฉุกเฉินเพื่อควบคุมต้นทุนพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น ตั้งแต่การจำกัดราคาน้ำมันไปจนถึงการระงับการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ด้านพลังงาน เนื่องจากยุโรปเร่งรับมือวิกฤตพลังงานที่เลวร้ายลงยิ่งขึ้น สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานข้อมูลในเอกสารฉบับร่างถึงการหารือครั้งนี้ว่า สาธารณรัฐเช็กในฐานะประธานหมุนเวียนของสหภาพยุโรป (EU) จะนำชุดมาตรการพิเศษดังกล่าวเข้าที่ประชุมรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานแห่งกลุ่มชาติยุโรปในวันศุกร์นี้ (9 ก.ย.) ทั้งนี้ กลุ่มผู้นำชาติยุโรปพยายามมาเป็นเวลาหลายเดือนในการบรรเทาผลกระทบจากการที่รัสเซียลดปริมาณการส่งก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ดี หลังจากที่ก๊าซพรอม บริษัทพลังงานรายใหญ่ของรัสเซีย ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 ก.ย.) ว่าจะยังคงปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 ต่อไปโดยไม่มีกำหนด ก็ยิ่งทำให้วิกฤตพลังงานในยุโรปกลายเป็นปัญหาเร่งด่วนยิ่งกว่าที่เคย ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการปิดท่อส่งก๊าซ Nord Stream มากที่สุด ได้เปิดเผยมาตรการช่วยเหลือผู้บริโภควงเงิน 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ผ่านการจัดเก็บภาษีลาภลอย (windfall tax) จากผลกำไรของธุรกิจกลุ่มพลังงาน ขณะเดียวกัน เหตุการณ์ลงถนนประท้วงโดยประชาชนชาวเช็กหลายพันคนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมายิ่งเป็นเครื่องตอกย้ำว่าหายนะด้านพลังงานครั้งนี้กำลังจะกลายเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และแม้กระทั่งทางการเงินด้วย โดยในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง กลุ่มประเทศนอร์ดิกดำเนินการหนุนสภาพคล่องของกลุ่มบริษัทสาธารณูปโภคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านหลักประกันเงินกู้ได้ โดยกล่าวว่าอาจเกิดความเสี่ยงที่กลุ่มบริษัทดังกล่าวจะล้มละลายแบบเดียวกับเลห์แมน บราเธอร์ส ในปี 2551 โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (05 ก.ย. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »
บล.พาย ให้กรอบ SET สัปดาห์นี้ 1,600-1,640 จุด เงินเฟ้อสหรัฐสูงยังกดดัน : อินโฟเควสท์บล.พาย (Pi) ประเมินกรอบดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) ทั้งสัปดาห์ 1,600-1,640 จุด เชิงกลยุทธ์การลงทุนยังแนะลดพอร์ตการลงทุน เนื่องจากช่วงถัดไปยังถูกกดดันจากปัจจัยเงินเฟ้อทรงตัวสูงหนุนดอกเบี้ยเร่งขึ้น ทั้งนี้ ตลาดหุ้น Dow Jones คืนวันศุกร์ปิดลบต่อเนื่องอีกราว 1% นักลงทุนกลับมากังวลกับการหยุดจำหน่ายก๊าซของทางรัสเซียหลังบริษัท GAZPOM ประกาศหยุดจำหน่ายก๊าซอย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากติดขัดปัญหาบางประการ แม้สหรัฐฯจะรายงานภาคแรงงานเริ่มเห็นสัญญาณอ่อนแอก็ตาม สัปดาห์นี้ประเมินปัจจัยกระทบการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ได้แก่ (1) การรายงานตัวเลขเงินเฟ้อไทยประจำเดือน ส.ค. ในวันจันทร์ Bloomberg คาดการณ์ 7.9%YoY อย่างไรก็ตามมองว่าหากรายงานสูงกว่าคาดการณ์ก็มองผลกระทบต่อการลงทุนจำกัด เนื่องจากปัจจุบันราคาน้ำมันเริ่มปรับลดลงมาแล้ว แรงกดดันเงินเฟ้อหลังจากนี้จึงน่าจะเบาบางลง (2) การประชุม OPEC+ วันจันทร์ เบื้องต้นเริ่มมีรายงานออกมาว่าจะเห็นการปรับลดกำลังการผลิต (3) ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีให้แถลงข้อมูลในวันพฤหัสบดีช่วงกลางคืนตามเวลาประเทศไทย คาดว่าตลาดจะไปจับตารอดูความเห็นของประธานเฟดต่อทิศทางเงินเฟ้อและดอกเบี้ย หลังจากสหรัฐฯเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่เริ่มเห็นการอ่อนแรง ด้านความเห็นล่าสุดของ CME FED WATCH ระบุว่าความน่าจะเป็นที่จะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% อยู่ที่ 56% ลดลงจากก่อนหน้าที่ 75% ส่วนการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% …
อ่านเพิ่มเติม »
สิงคโปร์-ไทยเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยตามสหรัฐ เหตุพึ่งส่งออก-ท่องเที่ยว : อินโฟเควสท์นักเศรษฐศาสตร์หลายรายออกโรงเตือนว่า เอเชียมีแนวโน้มได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน หากสหรัฐเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่บางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับผลกระทบมากกว่าประทศอื่น ๆ รวมถึง สิงคโปร์ และไทย สหรัฐยังคงเผชิญปัญหาเงินเฟ้อและความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยึดมั่นต่อจุดยืนในการเร่งปรับขึ้นอัตราดอเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งเสี่ยงทำให้เศรษฐกิจประเทศถดถอย ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐหดตัวลงติดต่อกัน 2 ไตรมาสแล้ว ซึ่งนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าสหรัฐกำลังเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่ทราบชัดเจนว่า สหรัฐจะเผชิญปัญหาเศรษฐกิจถดถอยอย่างเต็มรูปแบบเมื่อใด นักเศรษฐศาสตร์เปิดเผยกับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่า สิงคโปร์ และไทยมีแนวโน้มเป็น 2 ประเทศแรกที่จะได้รับผลกระทบ หากสหรัฐเผชิญภาวะเศรษฐกิจถอถอย “สิงคโปร์มีความเปราะบางต่อปัญหาเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐมากกว่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เพราะสิงคโปร์พึ่งพาเศรษฐกิจสหรัฐอย่างมาก” นายชัว ฮัก บิน นักเศรษฐศาสตร์ระดับอาวุโสของเมย์แบงก์กล่าว “ผมคาดว่าสิงคโปร์จะได้รับผลกระทบเป็นประเทศแรก เพราะพึ่งพาการส่งออก ทั้งยังเป็นเศรษฐกิจเปิดขนาดเล็ก” นายชัวกล่าว ขณะที่ นางเซลินา หลิง หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโอซีบีซีแบงก์เห็นด้วยกับการวิเคราะห์ข้างต้น “ดิฉันมองว่าดินแดนที่มีการเปิดเศรษฐกิจและพึ่งพาการค้า เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอาจรวมถึงไทย จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐ” นางหลิงกล่าว เมย์แบงก์ระบุในรายงานเมื่อช่วงปลายเดือนส.ค.ว่า เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในอดีตแล้วจะพบว่า …
อ่านเพิ่มเติม »