รายได้จากภาษีของเกาหลีใต้ลดฮวบในเดือนม.ค. เหตุตลาดบ้าน-ตลาดหุ้นซบเซา : อินโฟเควสท์

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

รายได้จากภาษีของเกาหลีใต้ลดฮวบในเดือนม.ค. เหตุตลาดบ้าน-ตลาดหุ้นซบเซา : อินโฟเควสท์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 InfoQuestNews
  • ⏱ Reading Time:
  • 47 sec. here
  • 2 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 22%
  • Publisher: 68%

รายได้จากภาษีของเกาหลีใต้ลดฮวบในเดือนม.ค. เหตุตลาดบ้าน-ตลาดหุ้นซบเซา ภาษี เกาหลีใต้ อินโฟเควสท์

รัฐบาลเกาหลีใต้เปิดเผยข้อมูลในวันนี้ บ่งชี้ว่า รายได้จากภาษีของรัฐบาลเกาหลีใต้ลดลง 6.8 ล้านล้านวอน ในเดือนม.ค. จากปีก่อนหน้า เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทรุดตัวลง

กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของเกาหลีใต้ระบุว่า รัฐบาลเก็บภาษีได้ 42.9 ล้านล้านวอนในเดือนม.ค. เมื่อเทียบกับ 49.7 ล้านล้านวอนในปีที่ผ่านมา โดยอธิบายว่า รายได้จากภาษีที่ลดลงนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนม.ค. 2565 เนื่องจากรัฐบาลสามารถเก็บภาษีค้างจ่ายจากธุรกิจต่าง ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้ชะลอการจ่ายภาษีในช่วงที่โรคโควิด-19 แพร่ระบาด

สำนักข่าวยอนฮัปรายงานว่า สำหรับภาษีประเภทต่าง ๆ นั้น รัฐบาลจัดเก็บภาษีรายได้ลดลง 8 แสนล้านวอนในเดือนม.ค. สู่ระดับ 12.4 ล้านล้านวอน เนื่องจากรัฐบาลจัดเก็บภาษีกำไรจากการซื้อขายทรัพย์สินได้น้อยลง ท่ามกลางภาวะตลาดที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นที่ตกต่ำลงหลังจากต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น การจัดเก็บภาษีนิติบุคคล ลดลง 7 แสนล้านวอน เหลือ 2.1 ล้านล้านวอน อันเนื่องมาจากฐานเปรียบเทียบที่ระดับสูง และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดลง 3.7 ล้านล้านวอน เหลือ 20.7 ล้านล้านวอน

ส่วนการจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้น ลดลง 4 แสนล้านวอน เหลือ 8 แสนล้านวอน ท่ามกลางภาวะตลาดหุ้นที่ซบเซา

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

InfoQuestNews /  🏆 7. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

สื่อเผยฮ่องกงเล็งยกเลิกคำสั่งสวมหน้ากากอนามัยภายในต้นเดือนมี.ค. : อินโฟเควสท์สื่อเผยฮ่องกงเล็งยกเลิกคำสั่งสวมหน้ากากอนามัยภายในต้นเดือนมี.ค. : อินโฟเควสท์หนังสือพิมพ์เหม่งเปารายงานว่า ฮ่องกงอาจยกเลิกคำสั่งสวมหน้ากากอนามัยเร็วที่สุดในช่วงต้นเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญประการสุดท้ายในการกลับคืนสู่ภาวะปกติและพลิกฟื้นสถานะศูนย์กลางธุรกิจโลกของฮ่องกง หลังตกอยู่ภายใต้มาตรการจำกัดโรคโควิด-19 เป็นเวลาหลายปี ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวรายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข่าวในวันนี้ (27 ก.พ.) ว่า รัฐบาลฮ่องกงอาจยกเลิกคำสั่งสวมหน้ากากอนามัยทั้งในอาคารและกลางแจ้งพร้อมกัน แม้ประชาชนยังจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น โรงพยาบาล ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์เซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์รายงานว่า ประชาชนในฮ่องกงจะได้รับอนุญาตให้ใช้ชีวิตโดยไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัยภายในสิ้นเดือนมี.ค. รายงานข่าวของหนังสือพิมพ์เหม่งเปามีขึ้นหลังมาเก๊าเพิ่งประกาศผ่อนปรนนโยบายสวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่กลางแจ้ง ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 มั่นคงแล้ว สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ฮ่องกงได้ขยายคำสั่งสวมหน้ากากอนามัยออกไปอีก 2 สัปดาห์ถึงวันที่ 8 มี.ค.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ฮ่องกงจะเริ่มต้นแคมเปญ “Hello Hong Kong” เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยขณะนี้ฮ่องกงกำลังทำงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งแจกตั๋วเครื่องบินให้กับนักท่องเที่ยวและเป็นเจ้าภาพจัดงานอีเวนต์ระดับ VIP ซึ่งรวมถึงงานศิลปะอาร์ต บาเซิล (Art Basel) แต่คำสั่งสวมหน้ากากอนามัยยังคงบั่นทอนแนวคิดการหวนคืนสู่วิถีชีวิตแบบปกติ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (27 ก.พ. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »

คลัง เผยเศรษฐกิจ ม.ค.66 รับแรงหนุนบริโภคเอกชนเป็นหลัก-แรงกดดันจากเงินเฟ้อลดลง : อินโฟเควสท์คลัง เผยเศรษฐกิจ ม.ค.66 รับแรงหนุนบริโภคเอกชนเป็นหลัก-แรงกดดันจากเงินเฟ้อลดลง : อินโฟเควสท์นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคม 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และสูงสุดในรอบ 26 เดือน ในขณะที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนมกราคม 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 10.1% และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 2.1% ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ -2.1% แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 32.3% สำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือนมกราคม 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 0.7% และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 0.9% ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในเดือนมกราคม 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.7 จากระดับ 49.7 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และสูงสุดในรอบ 26 เดือน […]
อ่านเพิ่มเติม »

บาทอ่อนหนุนส่งออกข้าวไทยม.ค.พุ่ง 8 แสนตัน คาดทั้งปีตามเป้า 7.5 ล้านตัน : อินโฟเควสท์บาทอ่อนหนุนส่งออกข้าวไทยม.ค.พุ่ง 8 แสนตัน คาดทั้งปีตามเป้า 7.5 ล้านตัน : อินโฟเควสท์นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เดือนม.ค. 66 ไทยส่งออกข้าวได้ 805,518 ตัน มูลค่า 14,277 ล้านบาท โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 75.20% และ 78.76% ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือนม.ค. 65 ที่ส่งออกได้ 459,773 ตัน มูลค่า 7,956 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการส่งมอบที่มีต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 65 ประกอบกับช่วงปลายปี เงินบาทที่อ่อนค่า ทำให้ราคาข้าวไทยแข่งขันได้กับข้าวของคู่แข่ง ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อจำนวนมากในช่วงปลายปี นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุจากที่อินโดนีเซีย บังกลาเทศ และอิรัก รวมถึงหลายประเทศในตะวันออกกลาง มีความต้องการนำเข้าข้าวไทยเพิ่มขึ้น ดังนั้น ส่งผลให้ทั้งปี 65 ไทยส่งออกข้าวไปตะวันออกกลางได้มากถึง 2.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 26% จากปี 64 ที่ส่งออกได้ 630,000 ตัน โดยมีอิรัก นำเข้าเป็นอันดับ 1 ปี […]
อ่านเพิ่มเติม »

ดัชนี MPI ม.ค.หดตัว 4.35%YoY หลังอุปสงค์ตปท.อ่อนแอกระทบส่งออกไทย : อินโฟเควสท์ดัชนี MPI ม.ค.หดตัว 4.35%YoY หลังอุปสงค์ตปท.อ่อนแอกระทบส่งออกไทย : อินโฟเควสท์สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ 99.82 หดตัว 4.35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยเป็นการหดตัวอย่างต่อเนื่องตามคาดการณ์ ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต (CapU) ในเดือนม.ค. อยู่ที่ 62.31% เพิ่มขึ้นจาก 59.56% ในเดือน ธ.ค. 65 โดยทั้งปี 65 เฉลี่ยอยู่ที่ 62.76 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้หดตัว คือ อุปสงค์จากต่างประเทศที่อ่อนแอลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบางโดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ รวมถึงที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว หลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี อาทิ การกลั่นน้ำมัน รถยนต์ จักรยานยนต์ รองเท้า กระเป๋า และเครื่องดื่ม โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (28 ก.พ. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »

คลังเผยเศรษฐกิจภูมิภาคม.ค. ได้แรงหนุนการบริโภค-ขยายลงทุนภาคเอกชน : อินโฟเควสท์คลังเผยเศรษฐกิจภูมิภาคม.ค. ได้แรงหนุนการบริโภค-ขยายลงทุนภาคเอกชน : อินโฟเควสท์นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนม.ค. 66 ว่า เศรษฐกิจภูมิภาคได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล และภาคตะวันตก ที่การบริโภคเพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนภาคเอกชนในโรงงานสายไฟฟ้า ในเขตปริมณฑล และโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ในภาคตะวันออก ที่มีเงินทุนของโรงงานเริ่มประกอบกิจการใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก – กทม. และปริมณฑล ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น – ภาคตะวันตก ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น – ภาคใต้ ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน ในส่วนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเพิ่มขึ้น – ภาคกลาง ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ในหมวดสินค้าคงทน และการลงทุนภาคเอกชน ในส่วนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเพิ่มขึ้น – ภาคตะวันออก ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ในหมวดสินค้าคงทน และการลงทุนภาคเอกชน ในส่วนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเพิ่มขึ้น – ภาคเหนือ ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ในหมวดสินค้าคงทน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และการลงทุนภาคเอกชน ในส่วนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ยังขยายตัวได้ […]
อ่านเพิ่มเติม »

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเดือนม.ค.ร่วงหนักสุดในรอบ 8 เดือน : อินโฟเควสท์ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเดือนม.ค.ร่วงหนักสุดในรอบ 8 เดือน : อินโฟเควสท์กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือนม.ค. หดตัวลงในอัตราเร็วที่สุดในรอบ 8 เดือน เนื่องจากอุปสงค์ในต่างประเทศลดลงท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจอย่างหนัก ทั้งนี้ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือนม.ค. ลดลง 4.6% จากเดือนธ.ค.เมื่อปรับค่าตามฤดูกาล มากกว่าค่าเฉลี่ยที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าอาจจะลดลง 2.6% หลังจากขยายตัว 0.3% ในเดือนธ.ค. ผลผลิตรถยนต์ร่วงลง 10.1% ซึ่งฉุดดัชนีโดยรวมลง ผลผลิตของรายการต่าง ๆ เช่น เครื่องจักรการผลิตและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ลดลง 13.5% และ 4.2% ตามลำดับ เหล่าผู้ผลิตที่ได้รับการสำรวจโดย METI คาดว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้น 8.0% ในเดือนก.พ. และ 0.7% ในเดือนมี.ค. แม้ผลสำรวจของทางการมีแนวโน้มที่จะรายงานแนวโน้มในเชิงบวกก็ตาม ส่วนยอดค้าปลีกสำหรับเดือนม.ค. ปรับตัวขึ้น 6.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 4.0% และขยายตัวเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกเดือนม.ค.ยังขยายตัว 1.9% เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. […]
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-18 05:33:44