ราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวลง กังวลศก.ถดถอยฉุดดีมานด์ อินโฟเควสท์
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ยังคงปรับตัวลงในวันนี้ โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งบดบังปัจจัยบวกจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่ลดลงมากกว่าคาด และจากการที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันณ เวลา 18.22 น. ตามเวลาไทย สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนพ.ค. ซึ่งมีการซื้อขายที่ตลาด NYMEX ลบ 0.06 ดอลลาร์ หรือ 0.07% สู่ระดับ 80.
สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแออย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน โดยล่าสุดออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ รายงานว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 145,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 210,000 ตำแหน่ง หลังจากพุ่งขึ้น 261,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ.
รายงานดังกล่าวมีขึ้นเพียงวันเดียวหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงานปรับตัวลง 632,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 9.9 ล้านตำแหน่งในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2564 และต่ำกว่าระดับ 10 ล้านตำแหน่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2564 รวมทั้งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 10.4 ล้านตำแหน่ง
ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้บดบังปัจจัยบวกจากข่าวโอเปกพลัสประกาศลดการผลิตน้ำมัน 1.16 ล้านบาร์เรล/วันจนถึงสิ้นปี 2566 และรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 3.7 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 2.3 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 4.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนมี.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้นเพียง 238,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 311,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 3.6% ในเดือนมี.ค.
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
น้ำมัน WTI ปิดลบ 10 เซนต์ กังวลศก.ถดถอยฉุดดีมานด์ : อินโฟเควสท์สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (5 เม.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งบดบังปัจจัยบวกจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่ลดลงมากกว่าคาด และจากการที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมัน สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 10 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 80.61 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 5 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 84.99 ดอลลาร์/บาร์เรล สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแออย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน โดยล่าสุดออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) รายงานว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 145,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 210,000 ตำแหน่ง หลังจากพุ่งขึ้น 261,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. รายงานดังกล่าวมีขึ้นเพียงวันเดียวหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงานปรับตัวลง 632,000 […]
อ่านเพิ่มเติม »
น้ำมัน WTI ปิดบวกเพียง 29 เซนต์ หวั่นศก.ถดถอยฉุดดีมานด์ : อินโฟเควสท์สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเพียงเล็กน้อยในวันอังคาร (4 เม.ย.) หลังจากจีนและสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน และยังได้บดบังปัจจัยบวกจากการที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันอีกกว่า 1 ล้านบาร์เรล/วันจนถึงสิ้นปี 2566 นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) ประจำเดือนก.พ. พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงานปรับตัวลง 632,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 9.9 ล้านตำแหน่งในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2564 และต่ำกว่าระดับ 10 ล้านตำแหน่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2564 รวมทั้งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 10.4 ล้านตำแหน่ง ขณะที่ผลสำรวจของไฉซิน/เอสแอนด์พี โกลบอลระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนมี.ค.ของจีนอยู่ที่ระดับ 50 ร่วงลงจากระดับ 51.6 ในเดือนก.พ. เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกอ่อนแรงลง ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและจีนได้บดบังปัจจัยบวกจากข่าวโอเปกพลัสประกาศลดการผลิตน้ำมัน 1.16 ล้านบาร์เรล/วันจนถึงสิ้นปี 2566 โดยมาตรการล่าสุดของโอเปกพลัสส่งผลให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์สู่ระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรลในช่วงสิ้นปีนี้ นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ในวันนี้ […]
อ่านเพิ่มเติม »
น้ำมันโลกพุ่งไม่หยุด พิษโอเปกพลัสลดกำลังผลิต - กังวลศก.โลกน้ำมันโลกพุ่งไม่หยุด พิษโอเปกพลัสลดกำลังผลิต – กังวลศก.โลก via MatichonOnline น้ำมันโลก ราคาน้ำมันวันนี้
อ่านเพิ่มเติม »
กกร.คง GDP ปีนี้โต 3-3.5% จับตาราคาน้ำมัน อาจฉุดส่งออกร่วง : อินโฟเควสท์นายเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า กกร.คงประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ไว้ตามเดิมที่ 3.0-3.5% ตามกรอบที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ และประเมินว่ามูลค่าการส่งออกของไทย มีโอกาสหดตัวในกรอบ -1 ถึง 0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 2.7-3.2% โดยวิกฤตสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และยุโรป ที่ทำให้ตลาดการเงินเกิดความผันผวน และเพิ่มโอกาสที่เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวมากขึ้น แม้ทางการสหรัฐฯ และสวิตเซอร์แลนด์ จะเข้ามาช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาอย่างรวดเร็ว ไม่ให้เกิดการลุกลามเหมือนวิกฤตสถาบันการเงินปี 2551 แต่คาดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจโลกไปแล้ว โดยนักลงทุนมองโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยเป็นไปได้มากขึ้น จากการที่ภาคการเงินมี risk appetite ในการปล่อยสินเชื่อลดลง เกิดภาวะการเงินตึงตัว และตลาดการเงินอ่อนไหวต่อทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นมากกว่าเดิม โดยตลาดเริ่มคาดหวังให้ธนาคารกลางของสหรัฐฯ (เฟด) ลดดอกเบี้ยภายในปีนี้ ซึ่งผลกระทบทางตรงต่อภาคการเงินไทยมีน้อยมาก คาดส่งออกปีนี้หดตัว จากผลกระทบศก.โลก ส่วนเศรษฐกิจจีนมีสัญญาณฟื้นตัว แต่อานิสงส์ยังจำกัดอยู่ในประเทศ อุปสงค์ภายในประเทศของจีนมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจนภายหลังการเปิดประเทศตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตและการส่งออกของจีนยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวแย่ลงในเดือนมีนาคม ทั้งการผลิตและแนวโน้มการส่งออก […]
อ่านเพิ่มเติม »
พุ่งแรง! ราคาทองเช้านี้ปรับขึ้นบาทละ 400 ลุ้นขยับต่อ : อินโฟเควสท์สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาขายปลีกทอง (ทองคำ 96.5%) ในประเทศเช้านี้ ปรับเพิ่มขึ้นบาททองคำละ 400 บาทจากวานนี้ ตามสถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลก โดยเปิดตลาด เมื่อเวลา 09.20 น. ราคาทองคำแท่ง รับซื้อเข้าบาททองคำละ 32,350.00 ขายออกบาททองคำละ 32,450.00 ขณะที่ราคาทองรูปพรรณ รับซื้อเข้าบาททองคำละ 31,760.20 ขายออกบาททองคำละ 32,950.00 บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด ระบุในบทเคราะห์ว่า ราคาทองคำเมื่อคืนที่ผ่านมาทะลุ 2,000 ดอลลาร์ เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์สหรัฐลดลง หลังจากตัวเลขจำนวนตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครออกมาแย่กว่าตลาดคาดไว้ และเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.64 และยังต่ำกว่าระดับ 10 ล้านตำแหน่งเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2564 ส่งผลต่อการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน พ.ค. ส่วนกองทุน SPDR ถือครองทองเท่าเดิม ทั้งนี้ราคาทองคำเริ่มกลับมาสดใส แต่ยังคงคาดว่าอาจเกิดการปรับฐานเล็กน้อยก่อนที่จะปรับขึ้นไปต่อ สำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ สามารถเข้าซื้อทองคำเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น หรือรอให้เกิดปรับฐานรอบใหม่แล้วเข้าซื้อ โดยราคาทองคำมีแนวรับ […]
อ่านเพิ่มเติม »
แบงก์ชาตินิวซีแลนด์ขึ้นดอกเบี้ยแรง 0.5% หวังฉุดเงินเฟ้อสู่เป้าหมาย : อินโฟเควสท์ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 5.25% จากเดิมที่ระดับ 4.75% ในการประชุมวันนี้ โดย RBNZ ยังคงเดินหน้าใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงเผชิญภาวะถดถอยก็ตาม ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า RBNZ จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประชุมวันนี้ “คณะกรรมการของธนาคารกลางมีความเห็นตรงกันว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจำเป็นต้องอยู่ในระดับที่สามารถฉุดอัตราเงินเฟ้อและตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายในระยะกลาง อัตราเงินเฟ้อในขณะนี้ยังคงอยู่ในระดับสูงและต่อเนื่องนานเกินไป ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานก็อยู่ในระดับที่สูงเกินไปด้วย” สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การที่ RBNZ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องนั้นสะท้อนให้เห็นว่า ธนาคารกลางมีความมุ่งมั่นที่จะฉุดเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายที่ระดับ 1-3% อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้นด้วยนั้น เริ่มจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยราคาบ้านในนิวซีแลนด์ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมี.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจดิ่งลงใกล้แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (05 เม.ย. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »