รศ.นพ.เอกชัย เผย รัชกาลที่ 3 ทรงสนับสนุนเงิน 30 ชั่ง ‘พัฒนาวัคซีน’ เฉลยเหตุ ‘เลิกปลูกฝี’ หลังปี 2523 via MatichonOnline
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ที่ห้องกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิมพ์มติชน ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดกิจกรรม “ห้องเรียนประวัติศาสตร์โรค” พาทุกย้อนสำรวจเรื่องราวประวัติศาสตร์ของมนุษย์กับการเผชิญหน้าโรคภัยไข้เจ็บและโรคระบาดสมัยโบราณ ที่ต่อเนื่องมาสู่ยุคเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สมัยใหม่ โดยกิจกรรมภายในงานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงเสวนา และช่วงนำชมนิทรรศการ
รศ.นพ.เอกชัยกล่าวว่า ย้อนกลับไปสมัยอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 4 สวรรคตด้วยไข้ทรพิษ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2076 หลังจากนั้นมีการระบาดเป็นช่วงๆ กลับมาระยะที่มีตัวเลขข้อมูลชัดเจนคือสมัย ร.3 มีบันทึกชัดเจนของหมอบรัดเลย์ พ.ศ.2381 มีการระบาดของโรคฝีดาษ เรื่องปลูกฝี ดร.เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ จากอังกฤษ คิดเป็นคนแรก ประมาณ ปี พ.ศ.2339 หรือสมัย ร.1 หลังจากนั้นมีการพัฒนาจนกระทั่งสามารถป้องกันโรคได้
รศ.นพ.เอกชัยกล่าวอีกว่า ต่อมา ทางองค์การอนามัยโลก WHO พยายามรณรงค์ว่า ฝีดาษเป็นโรคที่เรากำจัดได้ด้วยการ ‘ปลูกฝี’ จะมีภูมิป้องกัน จึงพยายามปลูกฝี เป็นที่น่ายินดี จำนวนคนป่วยค่อยๆ น้อยลงการระบาดครั้งสุดท้าย คือต้นรัชกาลที่ 9 ซึ่งไม่เยอะ ต่อมาในพ.ศ.2520 ไทยมีกรณีคนไข้ครั้งสุดท้าย ซึ่งในโลกเจอที่โซมาเลีย ครั้งสุดท้ายเหมือนกัน ปี พ.ศ.
“แต่การติดจากคนสู่คน เท่าที่ดูเป็นไปได้ ส่วนหนึ่งก็อาจจะสัมผัสกับแผล หรือรักร่วมเพศ ซึ่งเราก็อาจจะได้ยินข่าว คนแรกเป็นชาวไนจีเรีย รายที่ 2 เป็นคนไทยที่มีประวัติรักร่วมเพศ ความรุนแรงไม่ได้มากเหมือนโควิดที่เราเจอมา 2-3 ปีที่ระบาดเร็ว แม้อัตราการตายน้อย แต่ตอนนี้อย่าเพิ่งวางใจโควิด ปิดแมสก์ เว้นระยะห่าง ยังสำคัญอยู่ อย่าวางใจ เป็นแล้วเป็นอีกได้” รศ.นพ.
“ผมเป็นสูตินารีแพทย์ แต่ตอนเด็กๆ รักวิชาประวัติศาสตร์มาก ครั้งหนึ่งเคยคิดว่าอยากเป็นนักประวัติศาสตร์ สุดท้ายไม่ได้เป็น มาเรียนแพทย์ สำหรับผมเป็นนักประวัติศาสตร์สมัครเล่น ศึกษาเอง แต่มีความรู้ทางการแพทย์ คือประยุกต์ทั้ง 2 อย่าง ข้อดีคือสมัยรัตนโกสินทร์มีการบันทึกละเอียดมาก โดยเฉพาะสมัย ร.6 เขียนละเอียดหมดว่า วันนี้เป็นอะไร อาการเป็นอย่างไร เอามาใช้หลักการแพทย์ปัจจุบันดูว่าตกลงเป็นอะไร ถูกหรือผิด”