นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐบาล มีนโยบายที่จะส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติแล้วในเรื่องมาตรการยกเว้นภาษี หรือ Capital Gain Tax เป็นเวลา 10 ปี แก่นักลงทุนไทยและต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ภายใต้ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 5 อุตสาหกรรม S-Curve ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มร
ายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร รวม 2 อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมาคือ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมพัฒนาคนและการศึกษา ผ่าน Venture Capital โดยต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 24 เดือน เพื่อเสริมสร้างการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศ...
ซึ่งการออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษี Capital Gain Tax จะทำให้การลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพในไทยเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะไม่ต้องเสียภาษีเหมือนในอดีต ที่นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่ลงทุนในบริษัท ห้างหุ้นส่วนต่าง ๆ เมื่อมีการขายหุ้นแล้วหุ้นมีกำไรก็ต้องมีการเสียภาษี Capital Gain 15% ทำให้หนีไปลงทุนที่ต่างประเทศแทน อีกทั้งการออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษี Capital Gain Tax ยังส่งผลดีต่อสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ซึ่งนักลงทุนก็จะมาตั้งกองทุนที่เรียกว่า Venture Capital หรือ VC...
นายอนุชา กล่าวด้วยว่า มาตรการยกเว้นภาษี Capital Gain Tax เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากร กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้สตาร์ทอัพไทยสามารถระดมทุนจากนักลงทุนได้เพิ่มขึ้น เสริมสร้างการลงทุนภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืน...
“จากการประเมินของสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่ามาตรการ Capital Gains Tax จะกระตุ้นทำให้ไทยมีเงินลงทุนในสตาร์ทอัพภายในปี 2569 เพิ่มขึ้นกว่า 320,000 ล้านบาท เกิดการจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อมเพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 ตำแหน่ง รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งให้ระบบเศรษฐกิจประเทศ คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 790,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากการยกเว้นภาษี Capital Gain Tax” นายอนุชา...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
รัฐบาลหนุนธุรกิจสตาร์ทอัพเต็มสูบลดเก็บภาษี Capital Gains Tax 10 ปีรัฐบาลพร้อมส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) ด้วยการยกเว้นการเก็บภาษี Capital Gains Tax เป็นเวลา 10 ปี ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย คาดกระตุ้นเงินลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 320,000 ล้านบาท เกิดการจ้างงานกว่า 400,000 ตำแหน่ง ภายในปี 2569
อ่านเพิ่มเติม »
ลุ้นต่างชาติเที่ยวไทย 10 ล.คน สร้างเสถียรภาพเงินบาท-ลดขาดดุล อุทยานเอาใจสายแคมป์-รถบ้านลุ้นต่างชาติเที่ยวไทย 10 ล.คน สร้างเสถียรภาพเงินบาท-ลดขาดดุล อุทยานเอาใจสายแคมป์-รถบ้าน เปิดฤดูท่องเที่ยว 15 ต.ค.นี้ทั่วประเทศ
อ่านเพิ่มเติม »
ก.ล.ต. เผย CoinEx ยังไม่ได้รับไลเซนส์สินทรัพย์ดิจิทัลในไทย เตือนระวังลงทุนก.ล.ต. เปิดเผย CoinEx ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย เตือนประชาชนและผู้ลงทุนควรระมัดระวังหากถูกชักชวนให้ใช้บริการ เนื่องจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
อ่านเพิ่มเติม »
ทรัพย์สิน 7.42 ล.‘กฤษดา สมประสงค์’ ผอ.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน รายได้ 2.94 ล./ปีเปิดทรัพย์สิน ‘กฤษดา สมประสงค์’ ผอ.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน 7.42 ล.รวมภรรยา เฉพาะตัว 3.03 ล้าน เงินฝาก 8 บัญชี 4.8 หมื่น ทาวเฮ้าส์ 1 หลัง 1.2 ล. กบข. 1.26 ล. คู่สมรส 4.3 ล. มีรายได้เพียงปีละ 4.8 หมื่น
อ่านเพิ่มเติม »
นายกฯ กำชับเร่งแก้ปัญหาหลอกลวงการลงทุนออนไลน์ : อินโฟเควสท์น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาการหลอกลวงการลงทุนออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย รวมทั้งการระดมทุนที่ผิดกฎหมาย เช่น การให้บริการชักชวนคนมาลงทุน ขายหลักทรัพย์ เป็นต้น รวมถึงการหลอกลวงลงทุนในช่องทางต่างๆ ที่ไม่ได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และเน้นย้ำการตรวจสอบเชิงรุก เมื่อตรวจพบให้ดำเนินคดีปิดกั้น Account หรือเว็บไซต์โดยทันที เพื่อลดผลกระทบความเสียหายของประชาชน ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ร่วมมือกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แก้ไขปัญหาหลอกลวงการลงทุนผ่านโซเชียลมีเดีย ตั้งคณะทำงานร่วมกันในการติดตามและวางแนวทางป้องกันและปราบปราม พร้อมแนะนำประชาชนตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่แนะนำการลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจ หรือหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ก่อนการลงทุนทุกครั้ง โดยตรวจสอบได้ที่แอปพลิเคชัน SEC Check First ขอให้ประชาชนศึกษาให้ละเอียดรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน รวมถึงตรวจสอบที่มาของบริการหรือผลิตภัณฑ์การเงินต่างๆ ก่อน เพราะอาจเจอผู้ให้บริการที่ไม่ได้รับอนุญาต ผิดกฎหมาย และอาจถูกหลอกลวง ฉ้อโกงให้เกิดความเสียหายได้ สำหรับกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความโฆษณาชวนเชื่อและชักชวนให้ประชาชนลงทุนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ หลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ และสื่อสังคมออนไลน์ (โซเชียลมีเดีย) ขอให้ประชาชนระมัดระวัง พร้อมรวบรวมเอกสารหลักฐานและนำส่งให้กับ กระทรวง ดีอีเอส เพื่อดำเนินการต่อไป และในกรณีที่ ก.ล.ต. …
อ่านเพิ่มเติม »