รถไฟฟ้าสายสีแดง โพสต์ชี้แจงแล้ว ยืนยันถ่ายภาพในพื้นที่ได้ปกติ แต่ต้องไม่มีอุปกรณ์เสริมที่อาจก่อให้เกิดอันตราย หรือกีดขวางผู้ใช้บริการท่านอื่น SanookNews Sanook ข่าววันนี้
วันที่ 19 เมษายน 2566 เพจเฟซบุ๊ก RED Line SRTET โพสต์ข้อความระบุว่า รฟฟท. ชี้แจงกรณีการถ่ายภาพภายในพื้นที่ของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ซึ่งกำลังเป็นที่พูดถึงในสื่อสังคมออนไลน์
บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.
สำหรับการถ่ายภาพหรือวิดีโอในลักษณะที่นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ อาทิ ถ่ายทำเพื่อนำไปโฆษณาด้านต่างๆ หรือกองถ่ายทำละคร/ภาพยนตร์ จะต้องทำหนังสือเพื่อขออนุญาต เนื่องจากการถ่ายในลักษณะดังกล่าว อาจมีภาพหรือเสียงที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ทั้งนี้บริษัทฯ ยังคงมีมาตรการในด้านความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยในการถ่ายภาพในทุกกรณี ขอความกรุณาผู้ใช้บริการทุกท่านถ่ายภาพด้วยความระมัดระวัง หรือขณะอยู่บนชั้นชานชาลา กรุณาถ่ายภาพบริเวณหลังเส้นสีขาว และอยู่ห่างจากขบวนรถไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง บริษัทฯ ขอขอบคุณผู้ใช้บริการทุกท่าน ที่ให้ความไว้วางใจเดินทางโดยรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเสมอมา
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ส่วนบริการลูกค้า 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง รถไฟฟ้าสายสีแดง ยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมือง
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
รถไฟฟ้าสายสีแดง จับมือช่อง 8 มอบความสุขช่วงสงกรานต์รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง อำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ พร้อมมอบของขวัญสุดพิเศษแก่ผู้ใช้บริการ อ่านต่อ : ข่าวช่อง8 ข่าวออนไลน์ช่อง8 รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าสายสีแดง รฟท ตะวันณวินวิชญ์ พริ้งชุติญา
อ่านเพิ่มเติม »
คลังเตือนใช้สิทธิบัตรสวัสดิการฯ รุ่นเก่า ก่อนหมดเขต 31 มี.ค.นี้กระทรวงการคลังเตือนผู้ใช้บัตรสวัสดิการเเห่งรัฐรุ่นเก่าที่มีเงินอยู่ ทั้งวงเงินใช้จ่ายร้านธงฟ้า ก๊าซ ค่าเดินทาง ต้องรีบใช้ก่อนหมดเขตวันที่ 31 มี.ค.นี้ เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2566 น.ส.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง แจ้งให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปัจจุบัน ที่ผ่านเกณฑ์ลงทะเบียนเมื่อปี 2560-2561 จะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการและวงเงินในบัตรได้ถึงวันที่ 31 มี.ค.นี้ เท่านั้นแต่สำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการในรอบปัจจุบัน ที่ผ่านเกณฑ์โครงการสวัสดิการและยืนยันตัวตนรอบใหม่ในปี 2565 สำเร็จ จะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการรอบใหม่ผ่านบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้ เป็นต้นไป อธิบดีกรมบัญชีกลาง ระบุอีกว่า รัฐบาลได้ปรับสวัสดิการบางรายการดีขี้นกว่าเดิม และกรมบัญชีกลางมีความพร้อมที่จะตั้งวงเงินสวัสดิการให้ผู้มีสิทธิได้ใช้จ่ายผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดรายงานข่าวแจ้งว่า ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปัจจุบันมีทั้งสิ้น 13.1 ล้านคน ซึ่งมีรายละเอียดของสิทธิสวัสดิการที่ใช้ได้ถึง 31 มี.ค.2566 ดังนี้วงเงินซื้อสินค้า 200-300 บาทต่อเดือน / ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 45 บาทต่อ 3 เดือน (ม.ค.- มี.ค.66) / ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน / ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน / ค่าโดยสารรถ ขสมก.และรถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยอยู่ในเขต กทม.และปริมณฑลสำหรับเงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาท ที่ได้รับผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐผ่านช่อง อี-มันนี่ ประจำเดือน มี.ค.2566 หากประชาชนที่ยังไม่ได้ถอนเงินจะยังสามารถเบิกถอนเงินผ่านบัตรได้ตามเวลาที่กระทรวงการคลังกำหนดส่วนเงินชดเชยค่าน้ำ 100 บาท ค่าไฟ 315 บาท ที่เป็นรอบบิลเดือน มี.ค.2566 จะมีการโอนเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปัจจุบันผ่านช่อง อี-มันนี่ เช่นเดียวกันและจะสามารถเบิกถอนเงินผ่านบัตรได้ตามเวลาที่กระทรวงการคลังกำหนดอ่านข่าวอื่นๆคลังเผยยอดใช้สิทธิ 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ' รอบแรก 12.56 ล้านคนบัตรโดยสาร 'เหมาจ่าย' เชื่อม 'รถไฟฟ้าสายสีแดง-ขสมก.'มติเอกฉันท์! กนง.ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 1.75% ต่อปี
อ่านเพิ่มเติม »
บัตรโดยสาร 'เหมาจ่าย' เชื่อม 'รถไฟฟ้าสายสีแดง-ขสมก.'เปิดตัว บัตรเหมาจ่าย 2,000 บาท นั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง-รถเมล์ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ตั้งเป้าจ่ายผ่านบัตรวันละ 10,000 คน ขณะที่ ขสมก. คาดเพิ่มขึ้น 55,000-60,000 คนต่อวัน รอประเมินอนาคตจะเชื่อมต่อกับระบบอื่นหรือไม่ วันนี้ (29 มี.ค.2566) เปิดตัวบัตรเหมาจ่าย TRANSIT PASS RED LINE BBK X BMTA หรือ บัตรเหมาจ่ายรถไฟฟ้าสายสีแดงกับรถโดยสาร (รถเมล์) ของ ขสมก. เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการเดินทางได้ด้วยการใช้บัตรใบเดียวนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า บัตรเหมาจ่ายจัดจำหน่ายใบละ 2,000 บาท และค่าธรรมเนียมออกบัตร 100 บาท รวมค่าใช้จ่าย 2,100 บาท โดยหาซื้อบัตรเหมาจ่ายได้จากจุดจำหน่ายบัตรของ ขสมก. และ รฟท. สามารถใช้บัตรเหมาจ่ายแตะชำระค่าโดยสารที่เครื่องชำระค่าโดยสารอัตโนมัติ (EDC) บน รถเมล์ ขสมก. ที่ให้บริการปัจจุบัน 2,885 คัน และจุดรับชำระค่าโดยสารที่ รฟท. กำหนดหลังจากเติมเงินบัตรจะมีอายุการใช้งาน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่แตะชำระครั้งแรกที่ ขสมก. และ รฟท. อย่างใดอย่างหนึ่ง จนกว่าการเติมเงินครั้งถัดไป โดยสามารถใช้งานกับรถเมล์ ขสมก. ทุกประเภทแบบไม่จำกัดเที่ยว ส่วนกรณีใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงจะนับจำนวนเที่ยวสูงสุด 50 เที่ยวต่อการเติมเงินหนึ่งครั้ง หากใช้จำนวนเที่ยว 50 เที่ยวหมดก่อน 30 วัน จะไม่สามารถใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงได้อีก แต่ยังใช้ชำระค่าโดยสารรถเมล์ ขสมก. ได้จนกว่าครบ 30 วัน เช่น ผู้โดยสารใช้งานรถไฟฟ้าสายสีแดงครั้งแรกวันที่ 1 เม.ย.66 ครบ 50 เที่ยว ในวันที่ 25 เม.ย.66 ผู้โดยสารไม่สามารถใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงได้อีก แต่ยังคงใช้ชำระค่าโดยสารรถเมล์ ขสมก. ได้จนถึงวันที่ 30 เม.ย.66 ตามปกติ จนกว่าจะเติมเงินรอบต่อไป ปัจจุบันผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง 25,000 คนต่อวัน แบ่งเป็นใช้จ่ายผ่านบัตรประเภทต่าง ๆ รถไฟฟ้าสายสีแดงรองรับ 4,000-5,000 คนต่อวัน ที่เหลือจ่ายค่าโดยสารผ่านเหรียญโดยสาร คาดว่ามีบัตรเหมาจ่ายจะเพิ่มให้มีผู้มาใช้จ่ายผ่านบัตรเป็น 10,000 คนต่อวัน ส่วนค่าโดยสารจำนวน 50 เที่ยว จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,250 บาท หรือ เฉลี่ย 25 บาทต่อเที่ยว เมื่อมีบัตรเหมาจ่ายจะจ่ายแค่ 1,100 บาท หรือเฉลี่ย 22 บาทต่อเที่ยว ช่วยประหยัดได้ 150 บาท หรือ 3 บาทต่อเที่ยวขณะที่ซื้อบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ขสมก. ประ
อ่านเพิ่มเติม »
เปิดตัวบัตร “บัตรเหมาจ่าย” ขึ้นรถไฟ-รถเมล์ แบบไร้รอยต่อรฟท. ขสมก. และกรุงไทย ผนึกกำลัง ผลักดัน “บัตรเหมาจ่าย” ชำระค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีแดง และรถโดยสาร ขสมก. เชื่อมต่อการเดินทางระบบรางและระบบล้อ
อ่านเพิ่มเติม »