ยูเครนเผยนักกีฬาและโค้ชอย่างน้อย 220 คนเสียชีวิตในสงครามกับรัสเซีย นักกีฬา ยูเครน รัสเซีย สงคราม อินโฟเควสท์
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างการเปิดเผยของนายวาดิม กุตต์เซต รัฐมนตรีกระทรวงกีฬาของยูเครนว่า นักกีฬาและโค้ชชาวยูเครนอย่างน้อย 220 คนเสียชีวิตในสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย โดยมีศูนย์กีฬากว่า 340 แห่งในยูเครนได้รับความเสียหายหรือพังยับเยิน
นายกุตต์เซตยังกล่าวด้วยว่า “ยูเครนจะเป็นหนึ่งเดียวกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและทั่วโลก และจะไม่ยินยอมให้นักกีฬารัสเซียเข้าร่วมโอลิมปิก”
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
จีนเล็งกระตุ้นการบริโภค-นำเข้า รับมืออุปสงค์ทั่วโลกชะลอตัว : อินโฟเควสท์สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของจีนรายงานว่า คณะรัฐมนตรีจีนให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูการบริโภคในฐานะที่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พร้อมกับกระตุ้นการนำเข้าในช่วงเวลาที่อุปสงค์ทั่วโลกชะลอตัวลง ขณะที่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่เสี่ยงเผชิญภาวะถดถอย ในการประชุมซึ่งนำโดยนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน คณะรัฐมนตรียังให้คำมั่นอีกด้วยว่าจะเร่งผลักดันโครงการลงทุนจากต่างชาติ รักษาเสถียรภาพเงินหยวน ผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการเดินทางข้ามพรมแดน ตลอดจนช่วยเหลือบริษัทต่าง ๆ ในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังได้ตอกย้ำจุดยืนในการสนับสนุนภาคเอกชนและเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการปราบปรามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งหารือเกี่ยวกับมาตรการสนับสนุนเกษตรกรในการเพาะปลูกในฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งรวมถึงการมอบเงินอุดหนุนการปลูกถั่วเหลือง สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า หน่วยงานด้านภาษีของจีนเปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลหยุดยาวตรุษจีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา การบริโภคของจีนขยายตัว 12.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวหลังจีนผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 ม.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจเมียนมาโต 3% แต่ยังน้อยกว่าปี 2563 : อินโฟเควสท์ธนาคารโลกระบุในรายงานที่เผยแพร่วันนี้ (30 ม.ค.) ว่า เศรษฐกิจของเมียนมาน่าจะเติบโต 3% ในปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนก.ย. ซึ่งต่ำกว่าระดับที่เคยทำได้ก่อนรัฐบาลทหารมายึดครองเมื่อ 2 ปีก่อน ธนาคารโลกเปิดเผยในรายงานหัวข้อ “Myanmar Economic Monitor: Navigating Uncertainty” ว่า เมียนมามีความผันผวนอย่างมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนยังคงส่งผลกระทบต่อแนวโน้มในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยน ประกอบกับข้อจำกัดด้านโลจิสติกส์ ซึ่งส่งผลให้ราคาสูงขึ้น จนทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจนอยู่ที่เกือบ 20% ตลอดทั้งปีจนถึงเดือนก.ค. นอกจากต้นทุนการก่อสร้างที่สูงขึ้นแล้ว เมียนมายังเกิดปัญหาขาดแคลนไฟฟ้า ขณะที่กฎระเบียบของรัฐบาลยังส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกด้วย รายงานดังกล่าวระบุว่า ครัวเรือนเกือบครึ่งหนึ่งที่ได้สำรวจเมื่อเดือนก.ค.และส.ค.ปีที่แล้ว มีรายได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้น หลาย ๆ ครอบครัวจำเป็นต้องลดการบริโภคลงเนื่องจากความไม่มั่นคงทางอาหารเลวร้ายลงอีก ทั้งนี้ เศรษฐกิจเมียนมาหดตัวลงถึง 18% ในปี 2564 แต่ก็กลับมาเพิ่มขึ้น 3% ในปีที่แล้ว เท่ากับว่าจีดีพีต่อหัวยังคงต่ำกว่าระดับก่อนโควิด-19 ประมาณ 13% สำหรับความเสี่ยงที่อาจเข้ามาฉุดเศรษฐกิจนั้นมีทั้งความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงก่อนการเลือกตั้งที่วางแผนไว้ ตลอดจนโอกาสที่ความเคลื่อนไหวในระดับโลกจะท้าทายมากขึ้น โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 ม.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter […]
อ่านเพิ่มเติม »
กกต.ขอเวลาแบ่งเขตถึงสิ้น ก.พ. ปัดยื้อเลือกตั้ง : อินโฟเควสท์หลังจากกฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ลงมาแล้ว เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา วันนี้นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เข้าหารือการจัดการเลือกตั้งกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการยุบสภา ทาง กกต.ขอเวลาทำงานอย่างน้อย 45 วัน สิ่งที่เป็นปัญหานับจากนี้คือ กกต.ต้องมีการแบ่งเขตการเลือกตั้งจากเดิมที่มี 350 เขต เพิ่มเป็น 400 เขต ที่สำคัญมีบางจังหวัดที่มีประชากรเพิ่มและลดไม่เท่าเดิม ซึ่ง กกต.กลางจะต้องส่งให้ กกต.จังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและพรรคการเมืองในแต่ละจังหวัดด้วย ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน โดยถือเอาเดือนก.พ.ทั้งเดือน คือ 28 วัน อาจจะเร็วกว่านั้นก็ได้ หลังจากนั้นจะยุบสภาเมื่อไหร่ก็ได้ “จะให้เร็วอย่างที่หลายคนคิด ว่านี่ไงกฎหมายลูกประกาศใช้แล้วยุบสภาได้แล้ว บางคนก็บอกว่ารัฐบาลยื้อเวลา […]
อ่านเพิ่มเติม »
อินโดนีเซียเล็งส่งออกถ่านหินเกิน 500 ล้านตันในปี 2566 : อินโฟเควสท์นายอาริฟิน ตัซริฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและทรัพยากรแร่ของอินโดนีเซียเปิดเผยวันนี้ (30 ม.ค.) ว่า อินโดนีเซียมีแผนการผลิตถ่านหิน 695 ล้านตันในปีนี้ โดยตั้งเป้าการส่งออกที่ 518 ล้านตัน ซึ่งจะเป็นระดับการส่งออกถ่านหินไปยังต่างประเทศสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ นายตัซริฟ ระบุว่า ในปี 2565 อินโดนีเซียสามารถผลิตถ่านหินได้ 687 ล้านตันและส่งออกทั้งหมด 494 ล้านตัน ทั้งนี้ การผลิตถ่านหินเมื่อปีก่อนสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ที่ 663 ล้านตัน แม้ว่าจะมีการสั่งห้ามส่งออกในช่วงต้นปี ซึ่งทำให้ผู้ขุดเหมืองบางรายต้องระงับการผลิต ตลอดจนปัญหาฝนตกหนักที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน ข้อมูลด้านการส่งออกของบริษัทเคปเลอร์ (Kpler) ระบุว่า การส่งออกของอินโดนีเซียไปยังอินเดีย, เกาหลีใต้, ไต้หวัน และฟิลิปปินส์เมื่อปีที่แล้วมีการปรับตัวขึ้น ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดที่ใหญ่ที่สุดอย่างจีนหดตัวลงในปี 2565 การส่งออกถ่านหินของอินโดนีเซียไปยังอินเดีย, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน และไทย เพิ่มขึ้นในปี 2565 เมื่อเทียบกับปี 2564 ทั้งนี้ นายตัซริฟคาดว่า ราคาถ่านหินจะยังคงปรับตัวขึ้นในปีนี้ หลังราคาทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อปี 2565 อันเป็นผลมาจากอุปทานที่หยุดชะงักเนื่องจากสงครามในยูเครน […]
อ่านเพิ่มเติม »
ซัพพลายเออร์ของแอปเปิ้ลเริ่มผลิตชิ้นส่วน AirPods ในอินเดีย หวังลดการพึ่งพาจีน : อินโฟเควสท์บริษัทจาบิล อิงค์ ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์รายสำคัญของแอปเปิ้ล อิงค์ เริ่มต้นผลิตชิ้นส่วนสำหรับ AirPods ในอินเดียแล้ว โดยถือเป็นก้าวสำคัญของแอปเปิ้ลในการผลักดันให้มีการขยายการผลิตในอินเดีย ทั้งนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข่าวว่า บริษัทในเครือของจาบิลได้เริ่มจัดส่งส่วนลำตัวของ AirPods ซึ่งผลิตจากพลาสติก ไปยังจีนและเวียดนามแล้ว เพื่อดำเนินการประกอบเป็น AirPods ต่อไป ปัจจุบันแอปเปิ้ลเร่งเดินหน้าขยายการผลิตในอินเดียเพื่อลดการพึ่งพาจีน หลังสหรัฐออกมาตรการจำกัดทางการค้ากับจีนและเกิดภาวะติดขัดด้านห่วงโซ่อุปทานจากผลพวงของโรคโควิด-19 ในจีน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงด้านการผลิตให้กับแอปเปิ้ลมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตสินค้าให้กับแอปเปิ้ลในอินเดียนั้นยังคงจำกัดอยู่ที่ iPhone เป็นหลัก และขณะนี้เริ่มผลิตส่วนประกอบ AirPods เป็นบางส่วน อนึ่ง นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี แห่งอินเดียพยายามเร่งผลักดันการขยายตัวของภาคการผลิตในอินเดียผ่านการจูงใจทางการเงินและการสนับสนุนด้านการขยายโครงการของบริษัทต่าง ๆ จากภาครัฐ โดยแอปเปิ้ลมีบทบาทสำคัญในความพยายามดังกล่าวร่วมกับพันธมิตรหลายราย เช่น ฟ็อกซ์คอนน์ หรือหงไห่ พรีซิชั่น อินดัสทรีย์ โค ด้วยการผลิต iPhone รุ่นล่าสุดในอินเดียมากกว่าที่เคยเป็นมา โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 ม.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
พลังงาน เทียบค่าไฟไทย-เวียดนาม ชี้ต้นทุนต่าง : อินโฟเควสท์นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน ชี้แจงความแตกต่างค่าไฟฟ้าระหว่างไทยและเวียดนามว่า กรณีของประเทศเวียดนาม ซึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงในขณะนี้ มีสัดส่วนหลักของการผลิตไฟฟ้ามาจากถ่านหิน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติที่ประเทศไทยใช้อยู่เป็นหลัก โดยราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่เผยแพร่โดยสื่อของประเทศเวียดนามคาดการณ์ว่าอาจมีการพิจารณาปรับค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และไม่ได้มีการปรับอัตราค่าไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 ทำให้ EVN ที่เป็นรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าประสบภาวะขาดทุนและได้ยื่นขอความเห็นชอบในการปรับค่าไฟฟ้าจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ทั้งนี้ อัตราค่าไฟฟ้าแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน มีอัตราค่าไฟฟ้าหลากหลายตามประเภทผู้ใช้ ปริมาณการใช้ และช่วงเวลา โดยภาพรวมเป็นผลมาจากปัจจัยที่ต่างกัน อาทิ เรื่องความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน เสถียรภาพของระบบไฟฟ้า และทรัพยากรที่มีในประเทศ ซึ่งส่งผลต่อประเภทของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ตลอดจนทิศทางนโยบายของภาครัฐโดยเฉพาะหากพิจารณาในมิติความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของไทย ซึ่งธนาคารโลก (World Bank) ได้สำรวจคุณภาพการบริการไฟฟ้าของกลุ่มอาเซียน ซึ่งหมายถึงค่าเฉลี่ยความถี่ที่ระบบเกิดไฟฟ้าขัดข้อง และค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ระบบเกิดไฟฟ้าขัดข้อง โดยพบว่าประเทศไทยมีดัชนีคุณภาพการบริการไฟฟ้าอยู่ในลำดับต้นๆ และดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศอาเซียนหลายเท่าตัว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีเสถียรภาพและคุณภาพของระบบไฟฟ้า ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมทำได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุน นอกจากนี้ ในมิติด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสะอาด และมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าตามแผนพลังงานชาติ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ.2065 ซึ่งถือเป็นวาระระดับสากลที่สอดรับกับทิศทางความต้องการของภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกที่มุ่งไปสู่การใช้เชื้อเพลิงสะอาด “ทั้งเรื่องคุณภาพของการบริการไฟฟ้า และส
อ่านเพิ่มเติม »