ยลตามช่องมองข้ามช็อต ฉากที่ 10 ฐานเศรษฐกิจ
มีแฟนคลับคาใจขอให้ผมถอดรูปให้หน่อยว่า เป็นคนมีนิสัยอย่างไร ขอตอบแบบผ่อนคลายว่า ครู เขียนจดหมายส่งถึง ผู้ปกครอง ของ ด.ช.
คำว่า “ยถา” แปลว่า “ฉันใด” หรือ “อย่างไร” คำว่า “กรรม” คือ “กระทำ” นำคำทั้งสองมาหมั้นกัน เรียกว่า “ยถากรรม” แปลว่า “กระทำอย่างไรชะตาก็จะเป็นอย่างนั้น ปฏิบัติฉันใดชีวิตคนผู้นั้นก็ย่อมจะเป็นไปฉันนั้น” ทั้งนี้ การที่ไลฟ์สไตล์ใครจะอยู่กับสภาพที่สุขบ้างทุกข์บ้างช่างมัน ขอแบ่งอุปนิสัยเป็นสองแบบ แบบแรก “วางเฉย” เพราะว่า “รู้แจ้ง” แบบที่สอง “เมินเฉย” เพราะว่า “ไม่เอาใจใส่” ใครที่เผลอหลุดเข้ามาในแบบที่สองเขาจะกลายเป็นพวก “ยถากรรมด้อยพัฒนา” ชีวิตจะตกอับหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับ หนึ่ง...
กาลครั้งหนึ่งไม่นานนักแต่หลายคนอาจจะลืมไปแล้ว เหตุเกิดขึ้นในแว่นแคว้นไทยซึ่งเป็นแดนแล้งน้ำ ที่นั่นมี โรงน้ำแข็ง ตั้งอยู่ 3 โรง เขาทำน้ำแข็งก้อนสี่เหลี่ยมผินผ้ายุคป้าตะบันหมาก ราคาก้อนละ 50 ตังค์ หรือ 50 สตางค์ นักการเมืองขาใหญ่สไตล์อุ้มฆ่ารายหนึ่ง ไปจับเข่าคุยกับ เจ้าของโรงน้ำแข็ง 3 ราย ขาใหญ่รายนั้นบอกว่า “อั๊วะจะตั้งโรงน้ำแข็งและขอความร่วมมือให้ลื้อทั้งสามโรงช่วยกันร่วมใจขาย ก้อนละ 1 บาท ลื้อ โอ.เค. เลยนะ” เจ้าของโรงน้ำแข็ง 3 ราย ปรึกษากันแล้วปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่า “ราคาเดิมก็ได้กำไรดีพอแล้วนะเฮีย ชาวบ้านเขาเบี้ยน้อยหอยน้อย เราจะขึ้นราคาพรวดเดียว 100% มันจะเยอะไปนะเฮีย”
ขาใหญ่ได้สดับแล้วเคืองปรี๊ด หลังจากตั้งโรงน้ำแข็งเสร็จ ก็ทดลองทำความเลวด้วยการผลิตแจกมันไปเรื่อยๆ ลูกค้า คือ ชาวบ้านผู้หลงใหลของฟรี ก็กระดี๊กระด๊า เลิกซื้อ หันไปรับน้ำแข็งจากซาตานกันอุตลุต เรื่องนี้มันก็ต้องจบแบบโรงน้ำแข็ง 3 เจ้า กลายเป็น โรงน้ำแข็ง 3 เฉา ต้องจำใจฮั้วขึ้นราคาเท่าตัวตามที่ขาใหญ่ไล่บี้ ถ้าชาวบ้านสงสัยสักนิดว่า ทำไมแจกน้ำแข็งฟรีข้ามเดือน ก็น่าจะช่วยกันเบรคเฮียได้บ้าง เล่าเรื่องนี้ก็ชวนให้นึกถึงคอลัมน์ขอดเกล็ดสังคมของเว็บไซต์ต่างประเทศ อ่านแล้วแอบสาแก่ใจอยู่เงียบๆ ถ้ามันดูเหมือนๆ...