มอเตอร์เวย์เชื่อมอู่ตะเภาส่อเลื่อน หลังงบปี 67 สะดุด เข้าสภาไม่ทัน กดอ่าน
19 มิ.ย. 2566 – รายงานข่าวจากกรมทางหลวงเปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเข้าสนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 4,508 ล้านบาท ระยะทางรวม 1.92 กิโลเมตร แบ่งเป็น ค่าก่อสร้าง ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงาน และเงินเผื่อเหลือเผื่อขาดรวม 4,400 ล้านบาท ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามแผนบริหารหนี้สาธารณะปีงบประมาณ 2565 และเงินกู้ตามแผนบริหารหนี้สาธารณะแก้ไขปรับปรุงปีงบประมาณ 2566 ค่าจัดสรรงบประมาณสำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในกรอบวงเงิน 108 ล้านบาท ใช้พื้นที่รวม 75 ไร่ 3 งาน 48.4 ตร.
ทั้งนี้จากเดิมในส่วนของงบประมาณสมทบ 20% ได้เสนอจัดตั้งในร่างงบประมาณปี 2567 เนื่องจากก่อนหน้านี้คาดว่าจะมีการเสนอไปยังสภาฯวาระแรกในเดือนพฤษภาคมนี้ แต่เนื่องจากมีการยุบสภาทำให้ต้องรอรัฐบาลใหม่มาพิจารณา โดยข้อมูลของโครงการทางสำนักแผนงานของกรมทางหลวงได้ส่งให้สำนักงบประมาณแล้ว คาดว่าหลังจากเดือนส.ค. นี้ หากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เสร็จแล้ว ทางสำนักงบฯก็จะเสนอให้ ครม.ชุดใหม่พิจารณาอีกครั้ง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการประกาศประกวดราคาและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ปลายต.ค.
“ปัจจุบันเมื่อร่างงบประมาณปี2567 ยังไม่ได้รับการพิจารณา จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ เนื่องจากเป็นงบประมาณผูกพัน 3 ปี ซึ่งรัฐบาลรักษาการก็ไม่มีอำนาจในการอนุมัติเรื่องงบประมาณผูกพันข้ามปี จากเดิมจะแบ่งตอนในการก่อสร้าง และงานก่อสร้างใช้เวลาประมาณ 3 ปี แต่หลังเกิดจากความล่าช้าเรื่องงบประมาณ นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง ได้ให้นโยบายได้เร่งในส่วนของงานก่อสร้างต้องใช้เวลา 30 เดือน หรือ 2ปีครึ่ง...
สำหรับโครงการส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการจราจรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตบริเวณสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งสนามบินอู่ตะเภาจะเปิดให้บริการเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ในปี 2569 โดยจะเป็นการก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมต่อจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ถัดจากด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอู่ตะเภาเข้าสู่อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ของสนามบินอู่ตะเภาโดยตรง ซึ่งจะช่วยลดระยะทางสู่สนามบินอู่ตะเภาจากเดิม 5 กิโลเมตร เหลือ 1.
ส่วนรูปแบบการก่อสร้างของโครงการฯ เป็นการก่อสร้างทางยกระดับแนวใหม่ขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมต่อทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ระยะทาง 1.920 กิโลเมตร และมีทางบริการระดับพื้นเพื่อรองรับการสัญจรบริเวณใต้ทางยกระดับโดยก่อสร้างช่องทางเลี้ยวและทางแยกต่างระดับบริเวณจุดตัดกับ ทล. 3 และปรับปรุง ทล.
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ติดหล่มงบเวนคืนปี 67 สร้างถนนเชื่อมนครอินทร์-ศาลายา 4.4 พันล้าน“ทางหลวงชนบท” ลุยของบเวนคืนปี 67 แตะ 900 ล้านบาท สร้างถนนเชื่อมนครอินทร์-ศาลายา 4.4 พันล้านบาท เผยโครงการฯดีเลย์ เหตุงบประมาณถูกตัด ลุ้นรัฐบาลใหม่ไฟเขียวภายในปีนี้ เล็งตอกเสาเข็มภายในปี 68-69 ฐานเศรษฐกิจ
อ่านเพิ่มเติม »
นักวิชาการคาดรัฐบาลใหม่อาจมีงบปี 67 ไม่พอสนองรัฐสวัสดิการ แนะทยอยทำช่วงปี 68-70 : อินโฟเควสท์นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังเปิดเผยว่า คาดรัฐบาลใหม่ปรับงบประมาณปี 2567 สนองรัฐสวัสดิการได้แค่ 2 แสนล้านบาท โดยต้องไปปรับลดงบประมาณในส่วนที่สามารถพอปรับลดได้ในกระทรวงและส่วนราชการต่างๆ ขาดอีกอย่างน้อย 4.5 แสนล้านบาท หากต้องการจัดสรรให้ครบถ้วนตามนโยบายรัฐสวัสดิการที่หาเสียงเอาไว้ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินประมาณ 6.5 แสนล้านบาท ต้องปรับลดงบกลางฉุกเฉินลงมาอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ปรับลดงบหมวดป้องกันประเทศและหมวดความสงบภายในประเทศ อีก 30% จะได้เม็ดเงินอีกประมาณ 1.06 แสนล้านบาท (46.5 พันล้านบาท + 59.568 พันล้านบาท) ในการดูแลสวัสดิการประชาชนเพิ่มเติม ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอตามนโยบายรัฐสวัสดิการ จึงควรทยอยจัดสวัสดิการให้ตามลำดับความจำเป็นในปีต่อๆไป โดยหลีกเลี่ยงการก่อหนี้เพิ่ม หรือ เพิ่มภาษีใหม่ แต่เน้นเก็บภาษีที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นปรับปรุงประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจให้สามารถส่งเงินเข้ารัฐได้มากขึ้นหากไม่สามารถปรับลดในส่วนที่เกี่ยวกับหมวดป้องกันประเทศ หรืองบกลางฉุกเฉินหากต้องการทำให้เป้าหมายการดูแลสวัสดิการประชาชนบรรลุตามที่หาเสียงเอาไว้ก็อาจใช้วิธีขยายวงเงินงบประมาณจาก 3.35 ล้านล้านบาท เป็น 3.45-3.8 ล้านล้านบาท ด้วยเพิ่มการขาดดุลงบประมาณและก่อหนี้มาชดเชย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพียังคงต่ำกว่าเพดาน 70% หรือ เพิ่มรายได้และเก็บภาษีให้สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ในกรอบงบประมาณปี 67 ไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท หากเร่งทำนโยบายรัฐสวัสดิการปี 67 ต้องขยายฐานภาษีและเพิ่มอัตราภาษีหรือก่อหนี้สาธารณะเพิ่มอย่างแน่นอนการก่อหนี้สาธารณะแม้นยังอยู่ภายในเพดานสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี 70%แต่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงวิกฤติฐานะการคลังในอนาคตได้ และ นอกจากนี้เมื่อรัฐบาลเพิ่มรายจ่ายสาธารณะมากเกินพอดีอาจทำให้การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาคเอกชนลดลงก็ได้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยแท้จริงปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนค่าเสียโอกาสในการกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนของเอกชนสูงขึ้น จนก่อให้เกิดการชะลอการลงทุนโดยรวมได้ผ่านการลงทุนของเอกชนทางด้านทุนด้านสวัสดิการสังคมและโครงสร้างพื้นฐานอาจลดลงได้ […]
อ่านเพิ่มเติม »
พาณิชย์เผยเจรจา FTA ไทย-EFTA คืบตามเป้า คาดสรุปผลกลางปี 67 : อินโฟเควสท์นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตนได้นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA) รอบที่ 5 ระหว่างวันที่ 13-16 มิ.ย.66 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ โดยการประชุมครั้งนี้มีความคืบหน้าเกินครึ่งทางแล้ว สามารถเดินหน้าหาข้อสรุปการเจรจาให้ได้ภายในกลางปี 2567 ตามที่ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าไว้ การประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย การประชุมระดับหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจา และการประชุมกลุ่มย่อย 12 คณะ ได้แก่ (1) การค้าสินค้า (2) กฎว่าด้วยถิ่นกาเนิดสินค้า (3) มาตรการอุปสรรค เทคนิคต่อการค้า (4) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (5) การค้าบริการ (6) การลงทุน (7) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (8) ทรัพย์สินทางปัญญา (9) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (10) การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน (11) […]
อ่านเพิ่มเติม »
คาด เอลนีโญระดับรุนแรง ช่วง ส.ค. 66-มี.ค. 67 เตือนระวังน้ำท่วม ก.ค.-ก.ย. 66มีรายงานระบุว่า เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ถือเป็นเดือนที่ร้อนสุดในรอบ 174 ปี และสถานการณ์ล่าสุด 'เอลนีโญเร่งเครื่อง' มาแล้ว โดยกำลังเอลนีโญอยู่ระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก ช่วง ส.ค. 2566-มี.ค. 2567 บางส่วนของภาคกลางและอีสานตอนล่าง ระวังน้ำท่วม ก.ค.-ก.ย. 2566
อ่านเพิ่มเติม »