'ผมอยากจะขอเรียกปรากฎการณ์ในค่ำคืนวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ว่าเป็น “มหัศจรรย์การเมืองกรุงเทพ” และต้องถือว่าเป็น “หมุดหมายสำคัญ” ครั้งหนึ่งของการเมืองไทยอย่างไม่คาดคิด... ' บทความโดย สุรชาติ บำรุงสุข คลิกอ่านต่อ via MatichonOnline
ผมอยากจะขอเรียกปรากฎการณ์ในค่ำคืนวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ว่าเป็น “มหัศจรรย์การเมืองกรุงเทพ” และต้องถือว่าเป็น “หมุดหมายสำคัญ” ครั้งหนึ่งของการเมืองไทยอย่างไม่คาดคิด
แม้ผู้นำรัฐประหารและกลุ่มขวาจัดที่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจอาจจะโต้แย้งได้ว่า ผลการเลือกตั้งเป็นเพียงเรื่องของการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น เพราะเป็นเลือกตั้งกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่ทุกคนรู้ดีว่า ผลการเลือกตั้งกรุงเทพคือ คำตัดสินอนาคตของรัฐบาล และคำกล่าวที่ยังเป็นจริงเสมอคือ “การเมืองกรุงเทพคือการเมืองของประเทศไทย” ฉะนั้น การแพ้ที่กรุงเทพ จึงมีนัยในตัวเองถึง การแพ้ของรัฐบาล และถ้าชนะที่กรุงเทพ...
แต่ในวันครบรอบ 8 ปีของการรัฐประหาร กลับเกิด “ความมหัศจรรย์ทางการเมือง” อย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยการที่อดีตรัฐมนตรีที่ถูกกลุ่มทหารจับกุมในวันยึดอำนาจ ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่ากรุงเทพ ด้วยคะแนนอย่างถล่มทลายเกิน 1 ล้าน 3 แสนเสียง และด้วยตัวเลขของชัยชนะที่เกินหลักล้านเช่นนี้ แม้จะเอาคะแนนของผู้แข่งขันที่ได้ในลำดับที่ 2 3 4 และ 5 มารวมกันก็ยังน้อยกว่าผู้ชนะ และที่นั่งของ สก.
แต่ถ้าปีกขวาสุดโต่งตัดสินใจใช้รัฐประหารเป็นเครื่องมือในการเอาชนะทางการเมืองอีกครั้งแล้ว พวกเขาควรต้องตระหนักว่า รัฐประหารครั้งใหม่ที่กรุงเทพจะทำให้ไทยเป็น “เมียนมา 2” อย่างแน่นอน ซึ่งราคาของการรัฐประหารไทยครั้งใหม่จะมีค่าใช้จ่าย “สูงมาก” แม้ปีกขวาจัดอาจจะ “ไร้สติทางการเมือง” จากความพ่ายแพ้ครั้งนี้ แต่นายทหารที่คุมกำลังอาจจะต้องคิดด้วยสติมากกว่า เพราะถ้ารัฐประหารแพ้ต่อการต่อสู้ของฝ่ายประชาธิปไตยแล้ว อนาคตทหารจะไม่จบลงอย่างในพฤษภาคม 2535 ที่ทุกอย่างผ่านไปแบบ...
แต่วันนี้การสื่อสารทางการเมืองของประชาชนได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน และเป็นการสื่อสารที่อาจจะทำให้ค่ำคืนของวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ไม่ใช่เวลาแห่งความสุขเหมือนกันกับคืนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่อำนาจตกอยู่ในมือของผู้นำทหารชุดนี้อย่างง่ายดายด้วยการยึดอำนาจ จนบางทีอยากถามว่า เมื่อคืนวันอาทิตย์ ผู้นำ 3 ป.