มวลน้ำไม่เท่ามหาอุทกภัย แต่ถึงเวลาทำแผนจัดการเฉพาะพื้นที่ กดอ่าน
จากข้อมูลสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำองค์การมหาชน ปริมาณฝนยังส่งผลให้ช่วงวันที่ 4-10 ต.ค.2565 มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรวมทั้งประเทศ 5,194 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสูงสุด 1,078 ล้านลูกบาศก์เมตร รองลงมาเขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ขณะที่การเร่งระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยเพื่อลดกระทบพบอุปสรรคจากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงต่อเนื่องตั้งแต่ 6 ต.ค.2565 ทำให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนเพิ่มสูงขึ้นบริเวณ จ.
หากเปรียบเทียบข้อมูลสถิติปริมาณน้ำปี 2565 และปี 2554 ใน 2 จุดใหญ่ ได้แก่ สถานีตรวจวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ 3,059 ลบ.ม.ต่อวินาที ขณะที่ปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีตรวจวัด C.29A อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เฉลี่ยอยู่ที่ 3,100 ลบ.ม.ต่อวินาที แหล่งข่าวจากศูนย์ส่วนหน้า อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ระบุว่า จากการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำอยุธยา โดยหน่วยวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำเคลื่อนที่ ขณะนี้ น้ำไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ 3,048 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยลดลงอย่างช้า ส่วนน้ำที่ระบายจากเขื่อนเจ้าพระยา เพราะยังมีน้ำไหลมาเติมจากแม่น้ำสะแกกรัง ทำให้ระดับน้ำหน้าเขื่อนยังอยู่สูงจนเป็นอันตรายต่อบานประตู ทำให้ยังคงระบายน้ำที่ 3,159 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับน้ำเจ้าพระยาท้ายเขื่อนบริเวณ จ.สิงห์บุรี จ.
แม้กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์จะะไม่มีพายุเข้าใกล้ประเทศไทยซ้ำเติมพื้นที่น้ำท่วม แต่สถานการณ์ยังไม่น่าวางใจ เพราะช่วงวันที่ 14-16 ต.ค.นี้ มีการประกาศเตือนพายุดีเปรสชั่น TWENTY-TWO บริเวณทะเลจีนใต้มีแนวโน้มเคลื่อนตัวสู่ชายฝั่งเวียดนาม ส่งผลให้อีสานตอนล่างมีจะมีฝนเพิ่มขึ้น “ โจทย์ใหญ่ต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมหนัก จ.