นักวิเคราะห์ของฟิทช์ เรทติ้งส์ คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องแม้ว่าเศรษฐกิจอื่นในต่างประเทศจะเผชิญกับการชะลอตัว เนื่องจากประเทศไทยยังมีกันชนในส่วนของภาคการเงินต่างประเทศ (external finance) ที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง
คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องแม้ว่าเศรษฐกิจอื่นในต่างประเทศจะเผชิญกับการชะลอตัว เนื่องจากประเทศไทยยังมีกันชนในส่วนของภาคการเงินต่างประเทศ ที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง รวมทั้งการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผลการดำเนินงานโดยรวมของภาคธนาคารและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมน่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามการเติบโตอาจจะถูกจำกัดโดยต้นทุนพลังงานที่สูง
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้จัดงานสัมมนาประจำปีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา ความเห็นของ เจมส์ แมคคอร์แมค กรรมการผู้จัดการและหัวหน้ากลุ่มจัดอันดับเครดิตประเทศของฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับแรงต้านที่รุนแรงในช่วงที่เหลือของปีนี้ และแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2566 ยังคงมีความท้าทายต่อเนื่อง ฟิทช์คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปได้เริ่มเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยตั้งแต่ในช่วงปี 2565 นี้ โดยเศรษฐกิจของประเทศเยอรมนี อิตาลี และ สเปน จะมีการหดตัวลงอย่างชัดเจนในปี 2566 เนื่องจากวิกฤติด้านพลังงาน...
สำหรับประเทศไทยในฐานะผู้นำเข้าสุทธิของน้ำมัน ได้รับผลกระทบอย่างมากในด้านดุลการค้า รวมทั้งผลกระทบจากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยังคงอ่อนแอ และส่งผลให้ประเทศไทยมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงมีภาคการเงินต่างประเทศที่ค่อนข้างแข็งแกร่งเทียบกับอันดับเครดิตของประเทศ และยังเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในปีหน้า การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง...
ขณะที่คาดว่า รายได้ของภาคธนาคารไทยน่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลง ฟิทช์คาดว่าสินเชื่อด้อยคุณภาพน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก หลังจากมาตรการผ่านปรนในช่วงโรคระบาดโควิดหมดอายุลง และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นยังส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์น่าจะอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้...
บริษัทในภาคอุตสาหกรรมที่ฟิทช์มีการจัดอันดับเครดิตในประเทศไทย ได้แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการกระแสเงินสดในช่วงการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส ได้เป็นอย่างดี จากการใช้เงินลงทุนอย่างระมัดระวัง และลดการจ่ายเงินปันผล อย่างไรก็ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนและการเข้าซื้อกิจการ โดยเฉพาะในธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และธุรกิจไฟฟ้า เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวของความต้องการใช้พลังงาน ตามแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และการปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ฟิทช์ มองเศรษฐกิจไทยฟื้นต่อเนื่องจากอุปสงค์ภายใน-ท่องเที่ยวหนุนแม้ตปท.ชะลอ : อินโฟเควสท์นายเจมส์ แมคคอร์แมค กรรมการผู้จัดการและหัวหน้ากลุ่มจัดอันดับเครดิตประเทศของฟิทช์ เรทติ้งส์ คาดว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องแม้ว่าเศรษฐกิจอื่นในต่างประเทศจะเผชิญกับการชะลอตัว เนื่องจากประเทศไทยยังมีกันชนในส่วนของภาคการเงินต่างประเทศ (external finance) ที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง รวมทั้งการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผลการดำเนินงานโดยรวมของภาคธนาคารและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมน่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามการเติบโตอาจจะถูกจำกัดโดยต้นทุนพลังงานที่สูง ทั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะผู้นำเข้าสุทธิของน้ำมัน ได้รับผลกระทบอย่างมากในด้านดุลการค้า รวมทั้งผลกระทบจากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยังคงอ่อนแอ และส่งผลให้ประเทศไทยมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงมีภาคการเงินต่างประเทศที่ค่อนข้างแข็งแกร่งเทียบกับอันดับเครดิตของประเทศ และยังเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในปีหน้า การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และฟิทช์ประมาณการว่าอัตราการเติบโตของเศษฐกิจ (GDP) ที่ 3.1% ในปี 65 และ 4.2% ในปี 66 นายโอบบุญ ถิรจิต ผู้อำนวยการฝ่ายจัดอันดับเครดิตภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศไทย กล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้กำไรของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมที่ฟิทช์มีการจัดอันดับเครดิตในประเทศไทย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2566 โดยอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ซึ่งได้แก่ ธุรกิจอาหารและค้าปลีก โทรคมนาคม และซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง จะมีกำไรในปี 2566 ที่เติบโตไปอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันและพลังงานที่อยู่ในระดับสูง สร้างแรงกดดันต่อการเติบโตของกำไรในธุรกิจปิโตรเคมีและสาธารณูปโภค เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาขายได้ทั้งหมด บริษัทในภาคอุตสาหกรรมที่ฟิทช์มีการจัดอันดับเครดิตในประเทศไทย ได้แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการกระแสเงินสดในช่วงการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส ได้เป็นอย่างดี จากการใช้เงินลงทุนอย่างระมัดระวัง และลดการจ่ายเงินปันผล …
อ่านเพิ่มเติม »
'ลิซ ทรัสส์' ขอโทษกับความผิดพลาด แต่ยืนยันไม่ลาออกจากตำแหน่งนายกฯอังกฤษ : อินโฟเควสท์นางลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้กล่าวคำขอโทษสำหรับความผิดพลาดที่เธอประกาศมาตรการปรับลดภาษีวงเงิน 4.5 หมื่นล้านปอนด์ซึ่งสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดการเงินทั่วโลก อีกทั้งยังบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนและทำให้คะแนนนิยมของเธอลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ดี เธอยืนยันว่าจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง “ดิฉันขอรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และขอกล่าวคำขอโทษต่อความผิดพลาดที่ผ่านมา การที่ดิฉันประกาศแผนการปรับลดภาษีเมื่อไม่นานมานี้ มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อจะช่วยเหลือประชาชนในเรื่องการใช้จ่ายด้านพลังงาน แต่เราผลักดันในเรื่องนี้มากเกินไปและเร็วเกินไป” นางทรัสส์กล่าวกับสำนักข่าวบีบีซี นายเจเรมี ฮันท์ รัฐมนตรีคลังคนใหม่ของอังกฤษซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันศุกร์ (14 ต.ค.) หลังจากนางทรัสส์ได้ปลดนายควาซี ควาร์เต็ง พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลังอังกฤษนั้น แถลงเมื่อวานนี้ว่า รัฐบาลได้ตัดสินใจยกเลิกมาตรการปรับลดภาษีเกือบทั้งหมดที่นางทรัสส์ได้ประกาศก่อนหน้านี้ ซึ่งรวมถึงการยกเลิกมาตรการสนับสนุนด้านพลังงานครั้งใหญ่ เมื่อผู้สื่อข่าวบีบีซีถามนางทรัสส์ว่า ขณะนี้เธอเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงแค่ในนามหรือไม่ โดยนางทรัสส์ตอบว่า การที่เธอแต่งตั้งนายฮันท์ก็เพราะเธอจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแนวทาง “สำหรับดิฉันแล้ว การไม่ดำเนินการใด ๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติถือเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบอย่างสิ้นเชิง และเป็นเรื่องถูกต้องที่เราจะต้องเปลี่ยนนโยบาย” เมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา นายควาซี ควาร์เต็ง อดีตคลังอังกฤษประกาศมาตรการปรับลดภาษีราว 4.5 หมื่นล้านปอนด์ (5.0 หมื่นล้านดอลลาร์) รวมถึงมาตรการให้เงินช่วยเหลือด้านค่าพลังงานชั่วคราวต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ซึ่งการประกาศมาตรการดังกล่าวได้สร้างความปั่นป่วนต่อตลาดการเงินทั่วโลก และส่งผลให้ฟิทช์ เรทติ้งส์ ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของอังกฤษลงสู่ระดับ “เชิงลบ” จาก “มีเสถียรภาพ” โดยระบุว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ของรัฐบาลมีความเสี่ยงที่จะทำให้ตัวเลขขาดดุลงบประมาณของอังกฤษปรับตัวสูงขึ้น สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า …
อ่านเพิ่มเติม »
ฟิทช์ มองเศรษฐกิจไทยฟื้นต่อเนื่องจากอุปสงค์ภายใน-ท่องเที่ยวหนุนแม้ตปท.ชะลอ : อินโฟเควสท์นายเจมส์ แมคคอร์แมค กรรมการผู้จัดการและหัวหน้ากลุ่มจัดอันดับเครดิตประเทศของฟิทช์ เรทติ้งส์ คาดว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องแม้ว่าเศรษฐกิจอื่นในต่างประเทศจะเผชิญกับการชะลอตัว เนื่องจากประเทศไทยยังมีกันชนในส่วนของภาคการเงินต่างประเทศ (external finance) ที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง รวมทั้งการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผลการดำเนินงานโดยรวมของภาคธนาคารและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมน่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามการเติบโตอาจจะถูกจำกัดโดยต้นทุนพลังงานที่สูง ทั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะผู้นำเข้าสุทธิของน้ำมัน ได้รับผลกระทบอย่างมากในด้านดุลการค้า รวมทั้งผลกระทบจากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยังคงอ่อนแอ และส่งผลให้ประเทศไทยมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงมีภาคการเงินต่างประเทศที่ค่อนข้างแข็งแกร่งเทียบกับอันดับเครดิตของประเทศ และยังเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในปีหน้า การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และฟิทช์ประมาณการว่าอัตราการเติบโตของเศษฐกิจ (GDP) ที่ 3.1% ในปี 65 และ 4.2% ในปี 66 นายโอบบุญ ถิรจิต ผู้อำนวยการฝ่ายจัดอันดับเครดิตภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศไทย กล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้กำไรของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมที่ฟิทช์มีการจัดอันดับเครดิตในประเทศไทย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2566 โดยอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ซึ่งได้แก่ ธุรกิจอาหารและค้าปลีก โทรคมนาคม และซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง จะมีกำไรในปี 2566 ที่เติบโตไปอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันและพลังงานที่อยู่ในระดับสูง สร้างแรงกดดันต่อการเติบโตของกำไรในธุรกิจปิโตรเคมีและสาธารณูปโภค เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาขายได้ทั้งหมด บริษัทในภาคอุตสาหกรรมที่ฟิทช์มีการจัดอันดับเครดิตในประเทศไทย ได้แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการกระแสเงินสดในช่วงการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส ได้เป็นอย่างดี จากการใช้เงินลงทุนอย่างระมัดระวัง และลดการจ่ายเงินปันผล …
อ่านเพิ่มเติม »
ก.ล.ต.ไทยเข้าร่วมประชุมเวที IOSCO Annual Meeting 17-19 ต.ค.ที่โมร็อกโก : อินโฟเควสท์นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พร้อมด้วยผู้บริหาร ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Asia-Pacific Regional Committee (APRC) เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกในประเด็นที่หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุน APRC และทั่วโลกให้ความสำคัญ ได้แก่ (1) ข้อกำหนดมาตรฐานด้านการเงินที่ยั่งยืน (sustainable finance) (2) แนวทางการกำกับดูแลและออกกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศให้มีความสอดคล้องกันเพื่อป้องกัน market fragmentation และ (3) Fintech ในการประชุม APRC สมาชิกหลายประเทศให้ความสนใจในเรื่องการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุน โดยเฉพาะผู้ลงทุนรายย่อยที่ทำการซื้อขาย crypto โดยเลขาธิการได้แลกเปลี่ยนพัฒนาการด้านการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งล่าสุดได้มีการทำ public hearing เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนมูลค่าขั้นต่ำของการซื้อสินทรัพย์ดิจิทัล (minimum purchase) ในแต่ละธุรกรรม และมีการยกระดับกฎเกณฑ์การกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล อีกทั้งสำนักงาน ก.ล.ต. และหน่วยงานสมาชิกรวม 12 หน่วยงาน ยังได้มีการลงนามใน APRC Supervisory MMoU ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือใหม่ในภูมิภาคที่มีความสำคัญ และจะเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อการยกระดับการกำกับดูแลระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เลขาธิการและผู้บริหาร ยังเข้าร่วมประชุม Growth …
อ่านเพิ่มเติม »
ธปท.จัดมหกรรม BOT Digital Finance งานนี้ฟรี! 27-29 ต.ค.นี้ ณ แบงก์ชาติสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -18 ต.ค. 65 15:27 น. งานฟรีและดีมาแล้ว! ธปท.จัดสัมมนาใหญ่ส่งท้ายปี “BOT Digital Finance Conference 2022” ดึงผู้เชี่ย...
อ่านเพิ่มเติม »
'ลิซ ทรัสส์' ขอโทษกับความผิดพลาด แต่ยืนยันไม่ลาออกจากตำแหน่งนายกฯอังกฤษ : อินโฟเควสท์นางลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้กล่าวคำขอโทษสำหรับความผิดพลาดที่เธอประกาศมาตรการปรับลดภาษีวงเงิน 4.5 หมื่นล้านปอนด์ซึ่งสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดการเงินทั่วโลก อีกทั้งยังบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนและทำให้คะแนนนิยมของเธอลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ดี เธอยืนยันว่าจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง “ดิฉันขอรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และขอกล่าวคำขอโทษต่อความผิดพลาดที่ผ่านมา การที่ดิฉันประกาศแผนการปรับลดภาษีเมื่อไม่นานมานี้ มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อจะช่วยเหลือประชาชนในเรื่องการใช้จ่ายด้านพลังงาน แต่เราผลักดันในเรื่องนี้มากเกินไปและเร็วเกินไป” นางทรัสส์กล่าวกับสำนักข่าวบีบีซี นายเจเรมี ฮันท์ รัฐมนตรีคลังคนใหม่ของอังกฤษซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันศุกร์ (14 ต.ค.) หลังจากนางทรัสส์ได้ปลดนายควาซี ควาร์เต็ง พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลังอังกฤษนั้น แถลงเมื่อวานนี้ว่า รัฐบาลได้ตัดสินใจยกเลิกมาตรการปรับลดภาษีเกือบทั้งหมดที่นางทรัสส์ได้ประกาศก่อนหน้านี้ ซึ่งรวมถึงการยกเลิกมาตรการสนับสนุนด้านพลังงานครั้งใหญ่ เมื่อผู้สื่อข่าวบีบีซีถามนางทรัสส์ว่า ขณะนี้เธอเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงแค่ในนามหรือไม่ โดยนางทรัสส์ตอบว่า การที่เธอแต่งตั้งนายฮันท์ก็เพราะเธอจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแนวทาง “สำหรับดิฉันแล้ว การไม่ดำเนินการใด ๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติถือเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบอย่างสิ้นเชิง และเป็นเรื่องถูกต้องที่เราจะต้องเปลี่ยนนโยบาย” เมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา นายควาซี ควาร์เต็ง อดีตคลังอังกฤษประกาศมาตรการปรับลดภาษีราว 4.5 หมื่นล้านปอนด์ (5.0 หมื่นล้านดอลลาร์) รวมถึงมาตรการให้เงินช่วยเหลือด้านค่าพลังงานชั่วคราวต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ซึ่งการประกาศมาตรการดังกล่าวได้สร้างความปั่นป่วนต่อตลาดการเงินทั่วโลก และส่งผลให้ฟิทช์ เรทติ้งส์ ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของอังกฤษลงสู่ระดับ “เชิงลบ” จาก “มีเสถียรภาพ” โดยระบุว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ของรัฐบาลมีความเสี่ยงที่จะทำให้ตัวเลขขาดดุลงบประมาณของอังกฤษปรับตัวสูงขึ้น สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า …
อ่านเพิ่มเติม »