สภาฯพิจารณาร่าง พ.ร.บ. อำนาจเรียกของคณะกรรมาธิการ
วันที่ 18 ธ.ค.2567 เวลา 11.45 น. ที่ รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีการประชุมสภาฯได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ. อำนาจเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ.... ซึ่งคณะกรรมาธิการ ( กมธ. ) ที่มีนายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย เป็นประธาน กมธ.
พิจารณาเสร็จแล้ว ทั้งนี้ในสาระสำคัญเพื่อให้กรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการวิสามัญของ สภาฯ หรือ วุฒิสภา มีอำนาจเรียกบุคคลเข้ามาชี้แจงต่อกรรมาธิการ รวมถึงเรียกเอกสาร ข้อมูลให้ตรวจสอบ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการพิจารณาในวาระสอง เรียงตามลำดับมาตรานั้น มีการถกเถียงกันอย่างหนักในส่วนของมาตรา 4 ว่าด้วยคำนิยาม ที่ กมธ.แก้ไข ให้คำว่าคณะกรรมาธิการ หมายรวมถึง กรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภา ที่อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ โดยนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย รรวมถึง สส.ของพรรคเพื่อไทยบางส่วนโต้แย้งว่าการแก้ไขของกรรมาธิการนั้นสุ่มเสี่ยงที่ถูกยื่นตีความต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะรัฐสภาไม่เคยมีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ อย่างไรก็ดีกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ได้ชี้แจงรายละเอียดว่าไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่รัฐสภาจะตั้งกรรมาธิการสามัญได้ แต่ได้เขียนเพื่อรองรับไว้เท่านั้น ก่อนที่ที่ประชุมจะลงมติเห็นด้วยกับกรรมาธิการ นอกจากนั้นแล้ว ในการพิจารณามาตรา 13 ว่าด้วยข้อกำหนดหน้าที่ให้ นายกฯ หรือรัฐมนตรี รับผิดชอบต่อกรณีที่ที่ไม่สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในกำกับ ส่งเอกสารหรือแถลงข้อเท็จจริงตามหนังสือเรียยกของต่อคณะกรรมาธิการ ซึ่งกำหนดให้นายกฯหรือรัฐมนตรีต้องมาแถลงหรือชี้แจงให้เหตุผลต่อที่ประชุมสภาฯ วุฒิสภา หรือรัฐสภา ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่าจะเป็นบทบังคับได้จริงหรือไม่ เนื่องจากไม่พบการกำหนดโทษหากไม่ปฏิบัติตามไว้ พร้อมเปรียบเทียบกับการตอบกระทู้ถามสดหรือกระทู้ถามทั่วไปที่นายกฯหรือรัฐมนตรีส่งตัวแทนได้ โดยยนายรังสิมันต์ โรม สส
พ.ร.บ.อำนาจเรียก กมธ. รัฐสภา มาตรา 4 มาตรา 13 นายกฯ รัฐมนตรี
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
'นิกร' ยอมรับสภาพ พรบ.ประชามติ แก้รธน.ล่าช้าไป 1 ปี คาดทำครั้งแรกต้นปี 69นายนิกร จำนง ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่ากฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อลดเวลาพักร่างกฎหมาย 180 วัน
อ่านเพิ่มเติม »
'ชูศักดิ์' รับเลือกตั้งครั้งหน้า คงต้องใช้ รธน.ฉบับเดิม ขอแค่ตั้ง ส.ส.ร. ทันรัฐบาลนี้นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.
อ่านเพิ่มเติม »
สว.พันธุ์ใหม่ อ้างต่างประเทศใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น ทำผลประชามติบิดเบือนน.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว.กลุ่มพันธุ์ใหม่ แถลงจุดยืนถึงร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ว่า ไม่ว่ามติของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ จะออกมาเป็นอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม »
วุฒิสภา ตั้ง กมธ.สอบประวัติว่าที่ 6 คตง.-ลงมติ พ.ร.บ.ประชามติพรุ่งนี้ 17 ธ.ค.วุฒิสภา ตั้ง กมธ.สอบประวัติ “ว่าที่ 6 คตง.” ป้ายแดง – เตรียมพิจารณาลงมติร่าง พ.ร.บ.ประชามติหลัง กมธ.ร่วมยืนมติตามวุฒิสภาพรุ่งนี้ (17 ธ.ค.)
อ่านเพิ่มเติม »
“จาตุรนต์” ชี้ สว.ส่อเจตนา ไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ ห่วงอนาคต เสียง สว.ไม่ครบ 1 ใน 3วันที่ 21 พ.ย. 67 นายจาตุรนต์ ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.
อ่านเพิ่มเติม »
“ชูศักดิ์” เลิกเถียง “นิกร” หลังฟันธงกม.ประชามติแปลงเป็นกฎหมายการเงินไม่ได้ รับแก้รธน.ทั้งฉบับไม่ทันรัฐบาลนี้ ขอแค่ได้สสร.วันที่ 25 พ.ย.67 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.
อ่านเพิ่มเติม »