พบซากลูกช้างแมมมอธขนยาว สภาพเกือบสมบูรณ์ ต่อยอดฟื้นคืนชีพสัตว์สูญพันธุ์ TNN TNNThailand TNNช่อง16 TNNONLINE
นักวิทยาศาสตร์เร่งดำเนินโครงการฟื้นคืนชีพ "ช้างแมมมอธ"ซึ่ง ถือเป็นสัตว์ในโลกดึกดำบรรพ์ ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งในโลกปัจจุบัน หลังพบว่ามีดีเอ็นเอ ที่เหมือนกับช้างในปัจจุบันถึงร้อยละ 99.4
รัฐบาลประจำดินแดนยูคอน ของแคนาดา ร่วมกับทีมนักวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น ออกมาประกาศเรื่องการค้นพบซากลูก “แมมมอธขนยาว” เพศเมีย มีความยาวตั้งแต่หัวถึงหาง ประมาณ 140 เซนติเมตร อายุประมาณ 30 – 35 วัน สำนักข่าวบีบีซี รายงานอ้างอิงถึงงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม็กมาสเตอร์ ที่เผยแพร่เมื่อปี 2564 ซึ่ง วิเคราะห์ดีเอ็นเอ ของสิ่งมีชีวิตโบราณ ที่หลงเหลืออยู่ในชั้นดินเยือกแข็งคงตัว พบว่า"แมมมอธขนยาว" มีชีวิตอยู่ร่วมสมัย กับม้าป่า สิงโตถ้ำ และควายไบซันยักษ์
เนื่องจากแมมมอธ มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับช้างในปัจจุบันมาก มีดีเอ็นเอที่เหมือนกันถึงร้อยละ 99.4 นักวิทยาศาสตร์จึงมีความคิด ที่จะทำให้พวกมันฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง โดยใช้เทคนิคการโคลน หรือ ดัดแปลงพันธุกรรมหลากหลายวิธี แต่ยังไม่มีใครทำได้สำเร็จ สำหรับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการชุบชีวิตแมมมอธ มีตั้งแต่การสร้าง “มดลูกเทียม” ไปจนถึง “สเต็ม เซลล์” ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า จะใช้ยีนพันธุกรรมที่นำมาจากซากแมมมอธแช่แข็งที่ค้นพบ ไปคัดดีเอ็นเอของแมมมอธ ที่เก็บจากชิ้นส่วนที่ได้รับการรักษาอย่างดี ภายใต้ชั้นดินเยือกแข็ง