ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิต้านทานมหิดลแจงยิบใครที่ได้SVเข็ม1ควรดีใจที่จะได้ AZ เข็ม2 เพราะกระตุ้นภูมิได้ดีขึ้น ประภาพรพิสิษฐ์กุล มหิดล ฉีดวัคซีนไขว้
สถานการณ์การติดเชื้อโควิดในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยังระบาดกันต่อเนื่องอย่างที่ทุกคนได้เห็นข่าวตัวเลขของผู้ติดเชื้อที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและข่าวของโรงพยาบาลต่างๆที่แทบจะไม่เหลือเตียงรับผู้ป่วยแล้ว
เมื่อร่างกายเจอเชื้อโรคครั้งแรกจากการฉีดวัคซีน ระบบภูมิคุ้มกันหลายตำแหน่งจะถูกกระตุ้น และเพื่อที่ร่างกายจะได้มีภูมิป้องกันต่อการติดเชื้อครั้งหน้าร่างกายจะสร้างเซลล์ที่มีความทรงจำ หรือสร้างแอนติบอดีขึ้นมา โดยจะเริ่มมีการสร้างในปริมาณไม่มากในช่วงสัปดาห์ที่ 1-2 และถ้าไม่มีตัวกระตุ้นอีกระดับของภูมิคุ้มกันจะลดลง
Q2: ระบบภูมิคุ้มกันจะงงไหม ถ้าให้เข็มแรกเป็นชนิดหนึ่งแล้วเข็มสองเป็นอีกชนิดหนึ่ง ระบบภูมิคุ้มกันเราจะรู้ไหมว่าอันนี้เป็นเข็มสอง วัคซีนแต่ละชนิดหรือคนละเทคโนโลยีเป็นเพียงวิธีการที่แตกต่างกันในการที่จะส่งชิ้นส่วนของเชื้อโรคเข้าไปให้เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันให้รู้จัก โดยจุดหมายปลายทางที่วัคซีนทุกชนิดจะจัดส่งข้อมูลของเชื้อโรคไปที่เซลล์ชนิดเดียวกันซึ่งก็คือ Antigen-presenting cells หรือ APC และเมื่อ APC รู้จักหน้าตาของเชื้อโรคก็จะไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันด่านหลังทั้ง B และ T เซลล์...
สำหรับบุคคลทั่วไปอาจดูรูปกราฟแล้วงงๆ หมอจะสรุปให้ฟังง่ายๆคือการฉีดวัคซีนสลับกันระหว่างเชื้อตายและ adenoviral vector สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดี้ได้มากกว่าการฉีดวัคซีนเชื้อตายอย่างเดียว หรือ adenoviral vector โดยพบว่าไม่มีความแตกต่างกันของระดับ neutralizing antibody ระหว่างกลุ่มที่ฉีดเชื้อตายก่อนแล้วตามด้วย adenovirus vector เมื่อเปรียบเทียบกับ adenovirus vector...