ผู้เชี่ยวชาญชี้ธนาคารจีนมีปัญหา แต่ไม่ก่อความเสี่ยงเชิงระบบเหมือนวิกฤติ SVB SVB จีน ธนาคารจีน ธนาคารล้ม เศรษฐกิจระหว่างประเทศ อินโฟเควสท์
นายจู หมิน รองประธานศูนย์แลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนเปิดเผยว่า ธนาคารขนาดเล็กของจีนประสบปัญหา แต่ไม่ได้มีความเสี่ยงเหมือนกับธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ หรือ SVB ของสหรัฐที่ล่มสลายลงแต่อย่างใด
นายจูกล่าวว่า ปัญหาของธนาคารเหล่านั้นสะท้อนถึงปัญหาในระดับท้องถิ่น โดยชี้ให้เห็นว่าแม้ว่าโครงสร้างและการดำเนินงานของธนาคารเหล่านั้นจะไม่ชัดเจน แต่ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง และหลังจากที่หน่วยงานกำกับดูแลของจีนเข้ามาดำเนินการราว 3 – 4 ปี สถานการณ์ต่าง ๆ ก็ดีขึ้น
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
มูดี้ส์เตือนอันดับเครดิตสหรัฐมีความเสี่ยง หากวิกฤตภาคธนาคารยืดเยื้อ : อินโฟเควสท์มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส คาดการณ์ว่า ความเสี่ยงที่อันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารนั้น ยังคงอยู่ในกรอบจำกัด นอกเสียจากว่าวิกฤตการณ์ดังกล่าวยังคงยืดเยื้อ การล่มสลายของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) และซิกเนเจอร์ แบงก์ (SB) ได้ส่งผลให้ภาคธนาคารของสหรัฐเผชิญวิกฤตความเชื่อมั่น และนำไปสู่การแห่ถอนเงินฝาก หรือ bank run ในธนาคารระดับภูมิภาคหลายแห่งของสหรัฐ แม้ว่าหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินได้ออกมาตรการฉุกเฉินเพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่นของประชาชนก็ตาม “การดำเนินงานของธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐที่ถดถอยลงอย่างรวดเร็วในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้ภาคธนาคารสหรัฐเผชิญความเสี่ยงมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา โดยขณะนี้อันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐอยู่ที่ Aaa และแนวโน้มมีเสถียรภาพ” มูดี้ส์ระบุในแถลงการณ์ในวันพุธ (29 มี.ค.) ทั้งนี้ แม้มูดี้ส์ไม่คาดว่าวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนด้านการคลังของรัฐบาลสหรัฐ แต่หากวิกฤตการณ์ดังกล่าวยืดเยื้อยาวนาน ก็อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจและสถานะการคลังของสหรัฐอ่อนแอลง รัฐบาลสหรัฐสั่งปิดกิจการ SVB และ SB ในช่วงต้นเดือนมี.ค. พร้อมกับมอบหมายให้บรรษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) เข้าควบคุมกิจการและเป็นผู้ดูแลเงินฝากของ SVB และ SB หลังจากธนาคารทั้งสองแห่งประสบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากการที่ลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นสตาร์ตอัปในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีนั้นแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร สำหรับความคืบหน้าล่าสุดนั้น ธนาคารแฟลกสตาร์ แบงก์ (Flagstar Bank) ซึ่งเป็นธนาคารในเครือของนิวยอร์ก คอมมูนิตี้ […]
อ่านเพิ่มเติม »
'เยลเลน' ชี้มาตรการคุมภาคธนาคารสหรัฐหย่อนยานเกินไป แนะประเมินกฎเกณฑ์ใหม่ : อินโฟเควสท์นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐได้กล่าวในงานเสวนาซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมเศรษฐกิจธุรกิจแห่งชาติของสหรัฐในวันพฤหัสบดี (30 มี.ค.) ว่า กฎระเบียบด้านการควบคุมและกำกับดูแลภาคธนาคารของสหรัฐจำเป็นต้องได้รับการประเมินใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่ากฎระเบียบเหล่านี้จะสามารถป้องกันความเสี่ยงในระบบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้ หลังจากการล้มละลายของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) และซิกเนเจอร์ แบงก์ (SB) ทั้งนี้ นางเยลเลนได้เรียกร้องให้มีการกำกับดูแลภาคธนาคารเงา (shadow bank) หรือธุรกิจการเงินที่ไม่ได้จดทะเบียนในรูปธนาคารให้มีความเข้มงวดมากขึ้น พร้อมกับกล่าวว่า ควรมีการทบทวนข้อกำหนดด้านเงินทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงในปี 2561 อีกครั้ง โดยเฉพาะสำหรับธนาคารขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีสินทรัพย์ต่ำกว่า 2.50 แสนล้านดอลลาร์ “เมื่อใดก็ตามที่มีธนาคารล้มละลาย ก็จะส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลอย่างมาก ดิฉันมองว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้อกำหนดด้านการกำกับดูแลภาคธนาคารของสหรัฐมีความหย่อนยานมากเกินไป และดิฉันว่าเป็นเรื่องเหมาะสมที่เราจะประเมินผลกระทบของการตัดสินใจผ่อนคลายกฎระเบียบเหล่านี้ และหันมาใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อตอบสนองวิกฤตการณ์” นางเยลเลนกล่าว “การปฏิรูปกฎระเบียบภาคธนาคารถูกนำมาใช้หลังจากเกิดวิกฤตการเงินในปี 2551 ซึ่งช่วยให้ระบบการเงินของสหรัฐสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งรวมถึงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่การล้มละลายของธนาคาร SVB และ SB ในเดือนนี้แสดงให้เห็นว่าภารกิจของเรายังไม่จบ แม้ว่าระบบการเงินของเราจะมีความแข็งแกร่งมากกว่าเมื่อ 15 ปีที่แล้วก็ตาม” นางเยลเลนกล่าว การแสดงความเห็นของนางเยลเลนมีขึ้น ในขณะที่คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐพยายามผลักดันให้หน่วยงานกำกับดูแลภาคธนาคารใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นกับธนาคารขนาดกลาง โดยระบุว่าอาจมีการผลักดันกฎระเบียบดังกล่าวให้มีผลบังคับใช้โดยไม่ต้องผ่านการสนับสนุนจากสภาคองเกรส เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทำเนียบขาวกล่าวว่า […]
อ่านเพิ่มเติม »
หุ้นดีบีเอสร่วงเช้านี้ นักลงทุนผิดหวังหลังระบบธนาคารออนไลน์ล่มนานนับ 10 ชั่วโมง : อินโฟเควสท์ราคาหุ้นดีบีเอส กรุ๊ป (DBS Group) ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ ร่วงลง 1.4% ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากมีรายงานว่าระบบบริการดิจิทัลของธนาคารล่มเป็นเวลานานถึง 10 ชั่วโมง ธนาคารกลางสิงคโปร์ออกแถลงการณ์ว่า ระบบบริการดิจิทัลของดีบีเอสที่ประสบปัญหาล่มในครั้งนี้ ถือเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถยอมรับได้ และการดำเนินการของดีบีเอสไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ทั้งนี้ ธนาคารกลางสิงคโปร์ได้แนะนำให้ดีบีเอสดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา และขอให้ยื่นผลการตรวจสอบกับธนาคารกลางสิงคโปร์โดยเร็ว นอกจากนี้ ธนาคารกลางจะทำการรวบรวมข้อเท็จจริงทั้งหมด ก่อนที่จะพิจารณาใช้มาตรการต่าง ๆ เป็นลำดับต่อไป สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า ระบบบริการดิจิทัลของดีบีเอสล่มตั้งแต่เวลา 08.30 น.ของวันพุธ (29 มี.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น จนถึงเวลา 17.45 น. โดยผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าถึงการบริการธนาคารออนไลน์ และไม่สามารถทำการซื้อขายผ่านโบรเกอร์ของธนาคารได้ หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ดีบีเอสพยายามกอบกู้ความเชื่อมั่นของลูกค้าด้วยการแถลงว่า ระบบของธนาคารมีเสถียรภาพและเงินฝากของลูกค้ายังคงปลอดภัย “ธนาคารรู้สึกผิดหวังต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เราขอยืนยันว่าเรายังคงรักษาสถานะธนาคารที่มีมาตรฐานสูงเอาไว้ และเราให้ความสำคัญสูงสุดกับการประเมินสถานการณ์ดังกล่าว” นายไพยุช กุปตา ซีอีโอของดีบีเอสระบุในแถลงการณ์เมื่อวานนี้ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
ธปท.ระบุ เศรษฐกิจ ก.พ.66 ปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามส่งออก-บริโภคลงทุน-ท่องเที่ยว : อินโฟเควสท์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยเดือนก.พ. 66 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมและเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่ปรับดีขึ้น ด้านเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะหมวดสินค้าคงทน ส่วนภาคบริการปรับดีขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐ ขยายตัวจากรายจ่ายประจำของรัฐบาลกลาง และรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงจากผลของฐานสูงในปีก่อน ประกอบกับราคาผัก และผลไม้ที่ลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ด้านตลาดแรงงานโดยรวมทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลการดุลการค้าเป็นสำคัญ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (31 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
หุ้นไทยปิดเช้าลบ 8.03 จุด รับ Sell on fact แถมผิดหวังส่งออกยังหดต่อเนื่อง : อินโฟเควสท์SET ปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 1,602.49 จุด ลดลง 8.03 จุด (-0.50%) มูลค่าซื้อขายราว 22,112 ล้านบาท นักวิเคราะห์ฯ เผยตลาดหุ้นไทยช่วงเช้าแกว่งลงจาก Sell on fact หลังตอบรับปัจจัยต่างๆ ไปมากแล้ว และผิดหวังส่งออกไทยยังหดตัวต่อเนื่อง ประกอบกับมีแรงกดดันจากการปิดสัญญา TFEX ซีรีย์ H ครบอายุสิ้นมี.ค. ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้บวกและลบสลับกัน แนวโน้มช่วงบ่ายคาดแกว่งลบต่อเนื่อง ให้แนวต้าน 1,610 จุด แนวรับ 1,590 จุด ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปิดช่วงเช้าวันนี้ที่ระดับ 1,602.49 จุด ลดลง 8.03 จุด (-0.50%) มูลค่าซื้อขายราว 22,112 ล้านบาท การซื้อขายในช่วงเช้านี้ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดช่วงเช้า โดยขึ้นไปสูงสุดที่ 1,611.96 จุด และแตะจุดต่ำสุดที่ 1,601.03 จุด นายวีระวัฒน์ วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส […]
อ่านเพิ่มเติม »
สหรัฐเรียกร้อง EU คว่ำบาตร บ.ดาวเทียมจีนเหตุช่วยรัสเซียบุกยูเครน : อินโฟเควสท์สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า สหรัฐกำลังเรียกร้องให้สหภาพยุโรป (EU) และพันธมิตรชาติอื่น ๆ คว่ำบาตรบริษัทดาวเทียมจีนที่ถูกกล่าวหาว่าให้ความช่วยเหลือด้านการทหารแก่รัสเซียในสงครามยูเครน สเปซตี้ ไชน่า (Spacety China) ถูกสหรัฐคว่ำบาตรในเดือนม.ค.จากข้อกล่าวหาว่า จัดหาภาพถ่ายดาวเทียมของสถานที่ต่าง ๆ ในยูเครนเพื่อช่วยในปฏิบัติการรบของกลุ่มทหารรับจ้างวากเนอร์ กรุ๊ป (Wagner Group) ที่นำโดยพันธมิตรเก่าแก่ของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย โดยภาพถ่ายดาวเทียมดังกล่าวจะส่งให้กับบริษัทเทคโนโลยีเทอร์รา เทค (Terra Tech) ของรัสเซียก่อนที่จะส่งต่อไปยังวากเนอร์ กรุ๊ป ที่ผ่านมา EU ให้ความร่วมมือกับสหรัฐในการคว่ำบาตรหน่วยงานและบริษัทต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับรัสเซีย แต่ 2 เดือนที่ผ่านมา EU ก็ยังไม่ได้คว่ำบาตรสเปซตี้ ไชน่า “ถ้าบริษัทยังไม่ถูกคว่ำบาตรในตอนนี้ มันก็หมายความว่าไม่มีความต้องการ ไม่มีความจำเป็น หรือไม่มีหลักฐานเพียงพอที่กลุ่มชาติสมาชิก EU ทั้ง 27 ประเทศจะลงมติคว่ำบาตรบุคคลหรือองค์กรใด” นายปีเตอร์ สตาโน โฆษกฝ่ายนโยบายต่างประเทศของ EU กล่าว พร้อมเสริมว่า ถ้าบริษัทยังไม่ถูกคว่ำบาตรในตอนนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ถูกคว่ำบาตรในอนาคต นายสตาโนระบุว่า การคว่ำบาตรของ […]
อ่านเพิ่มเติม »