ผู้นำยูเครนหารือผอ. IMF วันนี้ หวังขอเงินกู้วงเงิน 1.5-2 หมื่นล้านดอลล์ : อินโฟเควสท์

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

ผู้นำยูเครนหารือผอ. IMF วันนี้ หวังขอเงินกู้วงเงิน 1.5-2 หมื่นล้านดอลล์ : อินโฟเควสท์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 InfoQuestNews
  • ⏱ Reading Time:
  • 41 sec. here
  • 2 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 20%
  • Publisher: 68%

ผู้นำยูเครนหารือผอ. IMF วันนี้ หวังขอเงินกู้วงเงิน 1.5-2 หมื่นล้านดอลล์ IMF ยูเครน เงินกู้ อินโฟเควสท์

ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน จะหารือกับนางคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในวันนี้ ขณะที่ยูเครนยังคงเดินหน้าเรียกร้องให้ IMF ปล่อยเงินกู้ยืมให้กับยูเครนอย่างเต็มที่

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวว่า เจ้าหน้าที่ยูเครนเปิดเผยว่า พวกเขากำลังรอโครงการเงินกู้ของ IMF ที่มีมูลค่าสูงถึง 1.5-2 หมื่นล้านดอลลาร์ แม้มีการคาดกันว่า วงเงินกู้จำนวนมากดังกล่าวไม่มีแนวโน้มที่จะได้รับการอนุมัติจาก IMF ก็ตาม ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ คณะกรรมการบริหาร IMF ได้จัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ โดยได้หารือเกี่ยวกับแผนการที่จะจัดหาเงินกู้ฉุกเฉินมูลค่า 1.4 พันล้านดอลลาร์แก่ยูเครนผ่านกองทุนเงินช่วยเหลือเร่งด่วน

ก่อนหน้านี้ นายเดนิส ชไมฮาล นายกรัฐมนตรียูเครนได้วิพากษ์วิจารณ์ IMF ว่า ให้เงินกู้เพื่อการช่วยเหลือแก่ยูเครนอย่างล่าช้า นายชไมฮาลระบุว่า ในเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ยูเครนได้ยื่นคำขอในโครงการเงินกู้รอบใหม่จาก IMF อย่างเป็นทางการ และหวังว่าจะสามารถเบิกจ่ายเงินกู้เบื้องต้นได้เร็วที่สุดในเดือนพ.ย. แต่ IMF กลับดำเนินการอย่างล่าช้าเมื่อเทียบกับผู้ให้กู้ยืมรายอื่น ๆ

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

InfoQuestNews /  🏆 7. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

น้ำมัน WTI ร่วง 1.5% เช้านี้ กังวลดอกเบี้ยขาขึ้น-จีนล็อกดาวน์กระทบดีมานด์ : อินโฟเควสท์น้ำมัน WTI ร่วง 1.5% เช้านี้ กังวลดอกเบี้ยขาขึ้น-จีนล็อกดาวน์กระทบดีมานด์ : อินโฟเควสท์ราคาน้ำมัน WTI ร่วงลงในช่วงเช้าวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก และการที่จีนใช้มาตรการล็อกดาวน์เมืองสำคัญเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน ณ เวลา 09.14 น.ตามเวลาไทย สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 1.30 ดอลลาร์ หรือ 1.50% แตะที่ 85.49 ดอลลาร์/บาร์เรล นักวิเคราะห์จากคอมมมอนเวลธ์ แบงก์ ออฟ ออสเตรเลียกล่าวว่า นักลงทุนมีความกังวลว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารต่าง ๆ เพื่อสกัดเงินเฟ้อ และการที่จีนยังคงยึดมั่นในนโยบายเป็นศูนย์ด้วยการล็อกดาวน์เมืองสำคัญนั้น จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ ข้อมูลจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 90% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย.นี้ …
อ่านเพิ่มเติม »

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวกตามทิศทางดาวโจนส์ จับตาสหรัฐเผย CPI วันนี้ : อินโฟเควสท์ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวกตามทิศทางดาวโจนส์ จับตาสหรัฐเผย CPI วันนี้ : อินโฟเควสท์ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวกในวันนี้ตามทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดพุ่งขึ้นในวันจันทร์ (12 ก.ย.) ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่าตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐจะชะลอตัวลง และจะช่วยลดแรงกดดันในการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดที่ระดับ 28,556.21 จุด เพิ่มขึ้น 14.10 จุด หรือ +0.05%, ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดที่ระดับ 3,272.05 จุด เพิ่มขึ้น 10 จุด หรือ +0.31% และ ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดที่ระดับ 19,404.64 จุด เพิ่มขึ้น 42.39 จุด หรือ +0.22% นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย.นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนี CPI เดือนส.ค.จะปรับตัวขึ้น 8.1% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ 8.5% ในเดือนก.ค. สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.ของออสเตรเลียจากเวสต์แพค, อัตราเงินเฟ้อเดือนส.ค.ของเยอรมนี, อัตราว่างงานเดือนก.ค.ของอังกฤษ และดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนก.ย.ของยูโรโซนจากสถาบัน ZEW โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ …
อ่านเพิ่มเติม »

นายกฯ ยูเครนวิจารณ์ IMF ให้เงินกู้เพื่อการช่วยเหลือล่าช้า : อินโฟเควสท์นายกฯ ยูเครนวิจารณ์ IMF ให้เงินกู้เพื่อการช่วยเหลือล่าช้า : อินโฟเควสท์นายเดนิส ชไมฮาล นายกรัฐมนตรียูเครน วิพากษ์วิจารณ์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ว่า ให้เงินกู้เพื่อการช่วยเหลือแก่ยูเครนอย่างล่าช้า สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า นายชไมฮาลยกย่อง IMF สำหรับการสนับสนุนยูเครนอย่างมากในอดีต รวมถึงในปี 2557-2558 หลังจากที่รัสเซียผนวกดินแดนคาบสมุทรไครเมียและจุดชนวนความขัดแย้งทางทหารในภาคตะวันออกของยูเครน อย่างไรก็ตาม นายชไมฮาลระบุว่า IMF ดำเนินการช้าเกินไปสำหรับการบรรลุข้อตกลงฉบับใหม่ ขณะที่การต่อสู้ระหว่างยูเครนกับกองทัพรัสเซียดำเนินเข้าสู่เดือนที่ 7 แล้ว นายชไมฮาลเสริมว่า เมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ยูเครนได้ยื่นคำขอในโครงการเงินกู้รอบใหม่จาก IMF อย่างเป็นทางการ และหวังว่าจะสามารถเบิกจ่ายเบื้องต้นได้เร็วที่สุดในเดือนพ.ย. แต่ IMF กลับดำเนินการล่าช้าเมื่อเทียบกับผู้ให้กู้ยืมรายอื่น ในระหว่างการประชุมยุทธศาสตร์ยุโรปยัลตา ณ กรุงเคียฟ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (10 ก.ย.) นายชไมฮาลระบุว่า “หลังได้เห็นความเป็นผู้นำจากสหรัฐและชาติยุโรป เรากลับได้เห็นความนิ่งเฉยจาก IMF แต่เรากำลังพยายามอย่างเต็มที่โดยได้ส่งเอกสารที่จำเป็นทั้งหมดไปยัง IMF แล้ว และเราวอนขอให้พันธมิตรของเราช่วยเร่งการดำเนินการดังกล่าว” อนึ่ง IMF ได้อนุมัติเงินทุนฉุกเฉินจำนวน 1.4 พันล้านดอลลาร์แก่ยูเครนเพื่อช่วยหนุนการคลังสาธารณะเมื่อเดือนมี.ค.ในช่วงไม่กี่สัปดาห์หลังการบุกรุกของรัสเซีย อย่างไรก็ดี ยูเครนต้องการเงินมากกว่านั้นเนื่องจากต้องเผชิญกับช่องว่างทางการคลังมากถึง 5 พันล้านดอลลาร์ต่อเดือน ตามประมาณการจากรัฐบาลยูเครน นอกจากนี้ …
อ่านเพิ่มเติม »

IMF เล็งจัดหาเงินทุนฉุกเฉินช่วยเหลือประเทศที่เผชิญวิกฤตอาหาร : อินโฟเควสท์IMF เล็งจัดหาเงินทุนฉุกเฉินช่วยเหลือประเทศที่เผชิญวิกฤตอาหาร : อินโฟเควสท์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กำลังพิจารณาจัดหางินทุนฉุกเฉินให้กับประเทศที่เผชิญกับวิกฤตราคาอาหารแพงอันเนื่องมาจากสงคราม และจะหารือกันเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร IMF ในวันนี้ (12 ก.ย.) สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า แผนการดังกล่าวจะมีการหารือกันในการประชุมคณะกรรมการ IMF ซึ่งจะเปิดทางให้ IMF สามารถช่วยเหลือยูเครนและประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย อย่างไรก็ดี ขนาดและขอบเขตของมาตรการดังกล่าวยังไม่ชัดเจนในขณะนี้ รายงานระบุว่า หากได้รับการอนุมัติ มาตรการดังกล่าวจะเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์อาหาร และจะช่วยให้ประเทศสมาชิก IMF สามารถกู้ยืมเงินเพิ่มอีก 50% จากโควต้าที่กำหนดขึ้นภายใต้กองทุน RFI (Rapid Financing Instrument) และ RCF (Rapid Credit Facility) ที่มอบให้แก่ประเทศที่มีรายได้ต่ำ ทั้งนี้ สงครามยูเครนส่งผลให้ราคาอาหารปรับตัวขึ้นทั่วโลก เนื่องจากเส้นทางกำลังลำเลียงขนส่งถูกปิดกั้น รวมทั้งการใช้มาตรการคว่ำบาตร และข้อจำกัดทางการค้าอื่นๆ แม้ว่าข้อตกลงส่งออกธัญพืชที่มีองค์การสหประชาชาติ (UN) เป็นคนกลางในการร่วมเจรจาจะมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนที่ผ่านมาเพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตการณ์อาหารก็ตาม โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (12 ก.ย. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »

PIN จ่อเปิดบริการบำบัดน้ำเสียต้นปี 66 พร้อมเปิดโซลาร์รูฟท็อป-ลอยน้ำหนุนรายได้ประจำ : อินโฟเควสท์PIN จ่อเปิดบริการบำบัดน้ำเสียต้นปี 66 พร้อมเปิดโซลาร์รูฟท็อป-ลอยน้ำหนุนรายได้ประจำ : อินโฟเควสท์นายพีระ ปัทมวรกุลชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค จำกัด (มหาชน) หรือ PIN เปิดเผยว่า งนี้ บริษัทจะมุ่งเพิ่มการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคที่เอื้อต่อขีดความสามารถการแข่งขันให้แก่ลูกค้าที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทองและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยรอบ เช่น โครงการบำบัดน้ำเสีย ที่มีการให้บริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำแก่ลูกค้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนห้อง Lab กับหน่วยงานภาครัฐ คาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ภายในต้นปี 66 รวมทั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่อยู่ระหว่างการลงทุนติดตั้งระบบ Solar Rooftop บนหลังคาโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 1-5 พื้นที่รวม 1.3 ล้านตารางเมตร และโครงการติดตั้ง Solar Floating บนบ่อน้ำของนิคมอุตสาหกรรม เนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ เป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 80 เมกะวัตต์ ภายใต้งบลงทุน 1,600 ล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าแก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม โดยจะแล้วเสร็จเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการดังกล่าวตั้งแต่ไตรมาส 1/66 “นโยบายการดำเนินธุรกิจของ PIN จะมุ่งสร้างรายได้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน จากการมุ่งสร้างพอร์ตรายได้ประจำและสม่ำเสมอ (Recurring Income) ให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ …
อ่านเพิ่มเติม »

กอบศักดิ์ แนะเกาะติด 7 ปัจจัยตปท. อาจส่งผลกระทบค่าเงินบาท-ส่งออกไทย : อินโฟเควสท์กอบศักดิ์ แนะเกาะติด 7 ปัจจัยตปท. อาจส่งผลกระทบค่าเงินบาท-ส่งออกไทย : อินโฟเควสท์นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กล่าวอภิปราย เรื่อง วิกฤตเศรษฐกิจและพลังงานโลก ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี Energy Symposium 2022 ว่า มองการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 66 จะขยายตัวได้ 3-4% จากปี 65 ที่คาดขยายตัวได้ราว 3% โดยจะมีเรื่องที่ต้องติดตาม ด้วยกัน 7 เรื่องจากต่างประเทศ คือ 1.ความขัดแย้งระหว่างประเทศเดินหน้าต่อเนื่อง ทั้งสหรัฐ รัสเซีย และจีน 2.การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางต่างๆ 3.การลดลงของเงินเฟ้อโลก 4.การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ 5.การเริ่มของ Global Recessions 6.การอ่อนตัวของเศรษฐกิจจีนที่จะชัดเจนขึ้น 7.การก่อตัวของ Emerging Market Crisis ทั้งนี้สิ่งที่จะกระทบกับผู้ประกอบการในช่วงต่อไป คือ โอกาสของการส่งออกที่จะน้อยลงจากเดิม, ต้นทุนสินค้าที่จะยังผันผวนไปอีกระยะ, ค่าเงินโลกจะยังคงผันผวนและค่าเงินบาทที่จะมีแรงกดดันไปอีกระยะ, ผู้ประกอบการไทยจะได้รับผลกระทบจากสินค้าจีนเมื่อวิกฤตจีนลุกลาม, วิกฤต Emerging Market จะมีหางเลขกระทบมาไทยช่วงหนึ่งเช่นกัน, …
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-24 02:38:03