ผู้ค้าไทยคว้าโอกาสต่อยอดธุรกิจจากงานแสดงสินค้าในฮาร์บิน งานแสดงสินค้า ฮาร์บิน อินโฟเควสท์
ไม่กี่วันที่ผ่านมา งานจับคู่ธุรกิจด้านเศรษฐกิจและการค้านานาชาติ ฮาร์บิน ครั้งที่ 32 ได้เปิดม่านขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการและกีฬานานาชาติ ฮาร์บิน โดยมีบริษัทไทยหลายแห่งนำสินค้าต่าง ๆ อาทิ หมอนยางพารา ทุเรียน เครื่องประดับ กระเป๋าหนัง ร่วมออกบูธในโซนสินค้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมีผู้เข้าชมแวะเวียนเข้ามาสอบถามและหาซื้อสินค้าอย่างไม่ขาดสาย
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า งานครั้งนี้จัดขึ้นโดยหอการค้านานาชาติแห่งประเทศจีน รัฐบาลนครฮาร์บิน สำนักงานพาณิชย์มณฑลเฮยหลงเจียง และสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สาขามณฑลเฮยหลงเจียง โดยมีพื้นที่จัดแสดงรวม 360,000 ตารางเมตร สำหรับพื้นที่จัดแสดงหลักประกอบด้วยโซนผู้ประกอบการจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เขตบริหารพิเศษมาเก๊า และเกาะไต้หวัน และผู้ประกอบการต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีโซนความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและเครื่องจักร ซึ่งคาดว่าจะดึงดูดผู้จัดซื้อมืออาชีพกว่า 7,000 ราย และผู้เยี่ยมชมมืออาชีพกว่า 200,000...
บูธของบริษัท ที.ที.เอส.ลาเท็คซ์โปรดักส์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายชุดเครื่องนอนจากยางพารา มีเจ้าหน้าที่ชาวไทยแต่งกายด้วยชุดไทยคอยอธิบายถึงสรรพคุณและราคาของผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้า โดยผู้รับผิดชอบบูธกล่าวว่า เป็นครั้งที่ 4 แล้วที่ตนเข้าร่วมงานนี้ ซึ่งเป็นเวทีสำคัญในการเชื่อมต่อจีนกับตลาดโลก รวมถึงแบ่งปันความสำเร็จในการพัฒนาของจีน
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ไทย-ชิลีเร่งปรับ FTA อำนวยความสะดวกการค้าเพิ่มภายในปลายปีนี้ : อินโฟเควสท์นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการการค้าเสรีไทย-ชิลี (FTC) ครั้งที่ 4 ภายใต้ FTA ไทย-ชิลี (Thailand-Chile Free Trade Agreement: TCFTA) เพื่อหารือการปรับแก้ไขข้อบทของ FTA ไทย-ชิลี เกี่ยวกับการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin : C/O) โดยไทยและชิลีได้เห็นชอบการยอมรับ C/O ภายใต้ FTA ไทย-ชิลี หรือ Form TC ที่พิมพ์จากไฟล์รูปแบบ PDF เป็นหนังสือรับรองต้นฉบับที่ใช้ทดแทนฉบับจริงในการขอใช้สิทธิฯได้ จากเดิมที่ผู้นำเข้าปลายทางจะต้องใช้ Form TC ฉบับจริงแบบกระดาษจากผู้ส่งออกเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้ส่งออกไทยได้รับ Form TC จากกรมการค้าต่างประเทศแล้วไม่จำเป็นต้องส่งฟอร์มกระดาษให้ผู้นำเข้าปลายทางที่ชิลีอีก แต่สามารถสแกนเป็นไฟล์ PDF ส่งไปให้ผู้นำเข้าพิมพ์เอง เพื่อยื่นต่อศุลกากรเพื่อขอใช้สิทธิฯ ได้ นับเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศในการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA ไทย-ชิลีที่เพิ่มเติมจากการใช้ลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature […]
อ่านเพิ่มเติม »
นายกฯ หนุนยกระดับผ้าไหมไทยร่วมสมัยเข้าถึงความต้องการตลาดโลก : อินโฟเควสท์นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม สนับสนุนการใช้ผ้าไหมไทยร่วมสมัยผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยการออกแบบเชิงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสู่อีสานแฟชั่น มุ่งเน้นการพัฒนาเทคนิคการผลิตผ้าไหมรูปแบบใหม่ให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่และวัยทำงาน สร้างภาพลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์มีความหรูหราและคุณภาพสูง มีลวดลายที่ประณีตสวยงาม พร้อมผลักดันให้เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (สสท.) กระทรวงอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมยกระดับอุตสาหกรรมสิ่งทอและผ้าพื้นเมืองให้เติบโตและเข้มแข็ง ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยการออกแบบเชิงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสู่อีสานแฟชั่นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 ส่งผลให้มีผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายใหม่กว่า 122 ลาย รวมทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับ (Accessories) อีกกว่า 108 ผลิตภัณฑ์ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ เป็นการสร้างโอกาสทางการตลาด และขยายกลุ่มตลาดใหม่ ทั้งนี้ยังมีการพัฒนาผู้ประกอบการผ้าไหม และผู้ที่เกี่ยวข้องธุรกิจผ้าพื้นเมืองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกว่า 1,618 คน เพื่อสร้างรายได้ สร้างงานให้ชุมชน รวมถึงสร้างโอกาสทางการตลาด และยอดขายในประเทศกว่า 6,635,456 บาท (เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่) ในปี 2566 โครงการพัฒนาผ้าไหมไทยร่วมสมัย (Premium Thai Silk) เป็นความร่วมมือของ สสท.กับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู สุรินทร์ […]
อ่านเพิ่มเติม »
STARK ส่งงบปี 65 ขาดทุนยับกว่า 6 พันล้าน พร้อมแก้งบปี 64 พลิกเป็นติดลบพบกลโกงแทบทุกจุด : อินโฟเควสท์ในที่สุด บมจ.สตาร์ค คอร์ปอเรชั่น (STARK) ก็ส่งงบปี 65 ได้ตามกำหนด แจ้งขาดทุนหนักกว่า 6.6 พันล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 0.5393 บาท พร้อมทั้งแก้งบปี 64 เปลี่ยนเป็นขาดทุน 5,965 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 0.501 บาท จากเดิมที่เคยแจ้งว่ากำไร 2.8 พันล้านบาท หลังจากผู้สอบบัญชีพบความผิดปกติหลายจุด ขณะที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินโดยไม่แสดงความเห็น ด้วยเหตุที่ได้พิจารณาถึงสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความไม่แน่นอนต่อความสามารถในการเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง (Going Concern) ของกลุ่มบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธ.ค.65 กลุ่มบริษัทมีหนี้สินหมุนเวียนรวมสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนรวม 6,628 ล้านบาท และมีส่วนของเจ้าของติดลบ 4,404 ล้านบาท โดยหนี้สินหมุนเวียนส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืมระยะสั้น เงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี ซึ่งหนี้สินระยะสั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการจัดประเภทเงินกู้ยืมระยะยาวเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้น เนื่องจากอัตราส่วนทางการเงินบางรายการไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาเงินกู้ระยะยาวและหนังสือชี้ชวนหุ้นกู้ นอกจากนี้ ในเดือน พ.ค.66 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ หมายเลข STARK239A และ STARK249A […]
อ่านเพิ่มเติม »
คู่ค้ารายใหญ่สหรัฐเฮ รอดพ้นถูกขึ้นบัญชีรายชื่อประเทศปั่นค่าเงิน : อินโฟเควสท์กระทรวงการคลังสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ (16 มิ.ย.) ว่า สหรัฐไม่พบว่ามีคู่ค้ารายใหญ่ใด ๆ ที่ทำการปั่นค่าเงินเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในด้านการส่งออก และสหรัฐยังได้ยุติการตรวจสอบเชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติด้านสกุลเงินของสวิตเซอร์แลนด์แล้ว เนื่องจากสวิตเซอร์แลนด์สามารถผ่าน 1 ใน 3 เกณฑ์เกี่ยวกับการปั่นค่าเงิน สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในรายงานด้านสกุลเงินรอบครึ่งปีนั้น กระทรวงการคลังสหรัฐระบุว่า สวิตเซอร์แลนด์ยังคงอยู่ใน “รายชื่อประเทศที่ต้องจับตา” อย่างใกล้ชิดในด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและนโยบายเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับประเทศคู่ค้าอีก 6 รายได้แก่ จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ เยอรมนี มาเลเซีย และสิงคโปร์ รายงานดังกล่าวครอบคลุมถึงกิจกรรมด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสำหรับ 4 ไตรมาสที่สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2565 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเป็นพิเศษ ซึ่งทำให้หลายประเทศต้องเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อป้องกันไม่ให้สกุลเงินของตนร่วงลง และเป็นความพยายามที่จะสกัดกั้นเงินเฟ้อ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังสหรัฐมีความวิตกว่า จะมีการจงใจทำให้สกุลเงินอ่อนค่าลงเพื่อความได้เปรียบทางการค้า นางเจเน็ต เยลเลน รมว.คลังสหรัฐระบุในแถลงการณ์ว่า “การแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่โดยคู่ค้าของสหรัฐในปีที่แล้วนั้นอยู่ในรูปแบบของการขายเงินดอลลาร์ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสกุลเงินของพวกเขา” “อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังยังคงเฝ้าระวังการปฏิบัติด้านสกุลเงินและการกำหนดนโยบายของประเทศต่าง ๆ รวมถึงความสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่งอย่างยั่งยืนและสมดุล” นางเยลเลนกล่าว ในรายงานครั้งก่อนในเดือนพ.ย. 2565 นั้น […]
อ่านเพิ่มเติม »
รัฐบาลหนุนยกมาตรฐานะกำจัดขยะ ไม่รายงานปรับ 2 หมื่น/เพิกถอนใบอนุญาต : อินโฟเควสท์นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม สนับสนุนการออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พ.ย.66 เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากการประกอบกิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งสำหรับผู้ก่อกำเนิดของเสีย และผู้รับบำบัดกำจัดของเสียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งปราบปรามการทิ้งกากอุตสาหกรรมอย่างผิดกฎหมาย สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฯ ฉบับปรับปรุงล่าสุดได้อ้างอิงตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายหรือเป็นผู้รับผิดชอบ (Polluter Pays Principle: PPP) โดยติดตามความรับผิดชอบของโรงงานอุตสาหกรรมผู้ผลิตของเสียไปจนกว่าของเสียหรือสิ่งปฏิกูลจะถูกกำจัดอย่างถูกต้องจนเสร็จสิ้นกระบวนการ นอกจากนี้ต้องส่งรายงานประจำปีเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และรายงานประจำเดือนเกี่ยวกับการจัดการวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ผ่านระบบการรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม iSingle Form (https://isingleform.go.th/home) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 พ.ค.66 และจะมีผลนับถัดจากวันที่ประกาศ โดยผู้ก่อกำเนิดของเสีย (Waste Generator: WG) ที่เป็นโรงงาน 60,638 แห่งทั่วประเทศ ต้องส่งรายงานประจำปี (สก.3) ภายในวันที่ 1เม.ย.ของปีถัดไป ในส่วนของผู้รับบำบัดกำจัดของเสีย (Waste Processor: WP) คือโรงงานลำดับประเภท […]
อ่านเพิ่มเติม »
พาณิชย์เผยเจรจา FTA ไทย-EFTA คืบตามเป้า คาดสรุปผลกลางปี 67 : อินโฟเควสท์นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตนได้นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA) รอบที่ 5 ระหว่างวันที่ 13-16 มิ.ย.66 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ โดยการประชุมครั้งนี้มีความคืบหน้าเกินครึ่งทางแล้ว สามารถเดินหน้าหาข้อสรุปการเจรจาให้ได้ภายในกลางปี 2567 ตามที่ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าไว้ การประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย การประชุมระดับหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจา และการประชุมกลุ่มย่อย 12 คณะ ได้แก่ (1) การค้าสินค้า (2) กฎว่าด้วยถิ่นกาเนิดสินค้า (3) มาตรการอุปสรรค เทคนิคต่อการค้า (4) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (5) การค้าบริการ (6) การลงทุน (7) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (8) ทรัพย์สินทางปัญญา (9) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (10) การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน (11) […]
อ่านเพิ่มเติม »