สถานทูตจีนในคาซัคสถานเตือนพบเชื้อไวรัสปริศนาทำให้เกิดโรคปอดอักเสบกำลังระบาด ยังไม่รู้เป็นเชื้อชนิดใด แต่รุนแรงกว่า โควิด19 ต่างประเทศไทยรัฐออนไลน์ ไทยรัฐออนไลน์
เมื่อ 10 ก.ค.63 สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงอัสตานา เมืองหลวงประเทศคาซัคสถาน ออกคำเตือนพบการระบาดของเชื้อไวรัสมรณะปริศนาที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ ที่มีความรุนแรงกว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 กำลังระบาดทั่วประเทศคาซัคสถาน หลังจากทางการคาซัคสถานเผยแพร่รายงานต่อสาธารณชนพบผู้ติดเชื้อไวรัสปริศนาที่ทำให้ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบพุ่งสูงขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา
ที่น่าหวั่นวิตก คือ ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขของคาซัคสถานยังไม่สามารถระบุได้ว่า เชื้อไวรัสปริศนาที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบนี้เป็นเชื้อไวรัสชนิดใด ในขณะที่พบว่าผู้ติดเชื้อไวรัสนี้มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อสูงกว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 เว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตจีนในคาซัคสถาน ได้รายงานอ้างสื่อในประเทศคาซัคสถานด้วยว่า จังหวัดอะตีราอู และจังหวัดอักเตอเบ รวมทั้งเมืองไชม์เคนท์ พบผู้ติดเชื้อไวรัสปริศนาพุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน 2563 ดังนั้นจึงขอให้พลเมืองจีนที่พำนักอยู่ในคาซัคสถานจงตระหนักถึงสถานการณ์นี้และเพิ่มระดับป้องกันถึงความเสี่ยงในการติดเชื้อด้วย
สถานทูตจีนฯ ยังระบุว่า จนถึงขณะนี้มีผู้ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบใน 3 พื้นที่ดังกล่าวแล้วเกือบ 500 ราย และในจำนวนนี้ 30 รายอาการป่วยขั้นวิกฤติ ขณะที่มีรายงาน ในครึ่งปีแรกของปี 2563 มีผู้ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบเสียชีวิตในคาซัคสถานแล้ว 1,772 ศพ และในจำนวนนี้ 628 ศพ เสียชีวิตในเดือนมิถุนายน ด้านรัฐบาลคาซัคสถานได้ประกาศกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์คุมโควิด-19 ในบางพื้นที่ของประเทศอีกครั้ง หลังจากพบผู้ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบพุ่งสูงขึ้น หลังจากรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม และได้ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 11 พฤษภาคม 2563
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
คาซัคสถานโต้ จีนเตือนเชื้อไวรัสปริศนาปอดอักเสบ แรงกว่าโควิด กำลังระบาดยันไม่ใช่โรคระบาดใหม่!! คาซัคสถานปฏิเสธรายงานของสถานทูตจีน เตือนกำลังเกิดไวรัสปริศนาปอดอักเสบ แรงกว่าโควิดระบาดในคาซัคสถาน ไทยรัฐออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม »