การส่งออกผลไม้ไทยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้เผชิญวิกฤติโควิด-19 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงมากถึง 5.7 พันล้านดอลลาร์ (6 เท่าของการส่งออกผลไม้ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา) และครองส่วนแบ่งตลาดสินค้าเกษตรส่งออกสูงที่สุดถึงร้อยละ 29 อ่านต่อ: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ปี 2564 มีมูลค่าส่งออกสูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์ อัตราการขยายตัวของการส่งออกสูงร้อยละ 68 รองลงมาได้แก่ ลำไย และมังคุด ได้รับความนิยมสูงต่อเนื่องในต่างประเทศ แต่มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างคงที่
ผลไม้ส่งออกทั้งสามชนิดนี้กินส่วนแบ่งการส่งออกผลไม้สูงถึงร้อยละ 84 ซึ่งมีตลาดสำคัญกระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคเอเชีย จากข้อมูล Trade Map ของ International Trade Center พบว่าในตลาดนำเข้าทุเรียนทั้งโลก ทุเรียนไทยได้รับความนิยมสูงสุด รองลงมาคือทุเรียนจากฮ่องกง และเวียดนาม ตามลำดับ นอกจากนี้แล้ว มังคุดไทยก็ยังได้รับความนิยมในตลาดโลกสูงที่สุดเช่นเดียวกัน ไทยยังคงเป็นรองลำไยจากเวียดนามอยู่ และพบว่าทั้งฮ่องกงและเวียดนามต่างนำเข้าทุเรียนไทย เพื่อไปการขายต่ออีกทอดหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคชาวจีน ซึ่งก็คือผู้บริโภคทุเรียนไทยรายใหญ่ที่สุดของโลกจากเหตุการณ์ความไม่แน่นอนของโรคระบาดโควิด-19 ที่เริ่มส่งผลตั้งแต่ปลายปี 2562...
อย่างไรก็ตาม แม้ความต้องการสินค้าในช่วงโควิด-19 ยังคงสูง แต่ผู้ส่งออกก็เผชิญกับข้อจำกัดด้านกระบวนการส่งออกหลายประการ เช่น มาตรการขนส่งระหว่างประเทศ ข้อจำกัดเรื่องการปิดช่องทางการขนส่งในบางจุด การควบคุมสินค้าปลอดเชื้อ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการไทยปรับตัวสามารถดำเนินกิจการในช่วงที่เกิดโรคระบาดได้ดีรัฐบาลจีนที่เข้มงวดต่อสินค้านำเข้า โดยหากมีการตรวจพบการติดโควิดก็จะสั่งปิดด่านทันที 15 วัน ทำให้การขนส่งทางบก ติดขัดในหลายด่าน ผลคือ ผู้ส่งออกผลไม้ไทยได้เปลี่ยนจากการขนส่งจากทางบกมาเป็นทางเรือมากขึ้น อาทิ...