เปิดรายงาน Air Quality Life Index ล่าสุด ระบุปัญหามลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้นมีส่วนทำให้อายุคาดเฉลี่ย (Life Expectancy) ของผู้ที่อาศัยในเอเชียใต้สั้นลงราว 5 ปี ขณะที่กรุงนิวเดลี มหานครที่ขึ้นชื่อว่ามีมลพิษมากที่สุดอาจลดลงมากกว่า 10 ปี
สถาบันนโยบายพลังงาน แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกในสหรัฐ เปิดเผยรายงาน Air Quality Life Index ฉบับล่าสุด ระบุแม้ว่าในจีนจะได้รับการปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้น แต่มลพิษทางอากาศทั่วโลกยังคงเป็นความเสี่ยงภายนอกที่ใหญ่ที่สุดต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือประเทศต่างๆ ในเอเชียและแอฟริกา ซึ่งผลของปัญหามลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้นมีส่วนทำให้อายุคาดเฉลี่ย ของผู้ที่อาศัยอยู่ในเอเชียสั้นลงได้มากกว่า 5...
รายงานระบุว่า ประมาณ 3 ใน 4 ของผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากมลพิษทางอากาศกระจุกตัวอยู่ที่เพียง 6 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ซึ่งเอเชียใต้ประกอบด้วย 8 ประเทศ อันได้แก่ อัฟกานิสถาน, บังกลาเทศ, ภูฏาน, อินเดีย, มัลดีฟส์, เนปาล, ปากีสถาน และศรีลังกา โดยสาเหตุหลักมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรม รวมถึงการขยายตัวของจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้คุณภาพอากาศในเอเชียใต้ย่ำแย่ลงต่อเนื่อง
ปัจจุบันระดับฝุ่นละอองในอากาศของเอเชียใต้สูงทะลุช่วงต้นศตวรรษไปแล้วกว่า 50% ซึ่งถือเป็นสัญญาณอันตรายว่าภูมิภาคแห่งนี้อาจเผชิญกับวิกฤตด้านสุขภาพที่รุนแรงได้ในอนาคต "ฝุ่น PM2.5 ในเอเชียใต้เพิ่มขึ้นเกือบ 10% นับตั้งแต่ปี 2556 ส่งผลให้อายุขัยเฉลี่ยของประชากรในภูมิภาคลดลงประมาณ 5 ปี นอกจากนี้ การใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้นในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ยังส่งผลให้มลพิษจากฝุ่นละอองกลายเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น เทียบเท่าได้กับโรคเอชไอวี หรือโรคเอดส์ และโรคมาลาเรีย"