อินเดียและปากีสถานมีปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับดินแดนแคชเมียร์มายาวนาน หนึ่งในมิติของการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ที่ผู้คนไม่ค่อยถูกพูดถึงนักคือ การกำหนดวันที่เรียกว่า Black Day หรือ ‘วันทมิฬ’ มีความเป็นมาอย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้ TheStandardNews
ปัญหาระหว่างอินเดียกับปากีสถานดำเนินมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ที่สองประเทศได้รับเอกราชจากอังกฤษ และก่อตั้งประเทศขึ้นมาในปี 1947 ถือเป็นมหากาพย์ความขัดแย้งอันเป็นผลมาจากแผนการแบ่งแยกประเทศ ด้วยทฤษฎีสองชาติ โดยเป็นการแบ่งแยกประเทศกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางด้านศาสนา ปากีสถานถูกออกแบบให้เป็นประเทศของมุสลิมในเอเชียใต้ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง รัฐสภาอังกฤษผ่านกฎหมายมอบเอกราชแก่อินเดีย ในเดือนกรกฎาคม 1947 โดยกำหนดให้แบ่งอนุทวีปออกเป็นประเทศอินเดียและปากีสถาน...
ข้อตกลงดังกล่าวก่อให้เกิดปฏิกิริยาและความไม่พอใจอย่างรุนแรงต่อปากีสถานและชาวแคชเมียร์ จนนำไปสู่สงครามระหว่างปากีสถานและอินเดียอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1947 ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของวันทมิฬในความขัดแย้งแคชเมียร์ อินเดีย และปากีสถาน โดยปากีสถานได้กำหนดให้วันที่ 27 ตุลาคมของทุกปีเป็นวัน Black Day สำหรับชาวแคชเมียร์ เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับคนแคชเมียร์ และเพื่อให้เกิดการรำลึกพร้อมกับการเคลื่อนไหวประณามอินเดียที่ส่งทหารเข้าไปและผนวกแคชเมียร์เข้ากับอินเดีย...
หรือ ‘จัมมูและแคชเมียร์ที่อินเดียยึดครองอย่างผิดกฎหมาย’ และเป็นวันเริ่มต้นที่นำไปสู่การกดขี่ การละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวแคชเมียร์จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นในวันที่ 27 ตุลาคมของทุกปี ชาวปากีสถานทั่วโลกก็จะจัดกิจกรรมรำลึกนี้ขึ้นเป็นประจำ ส่วนอินเดียภายใต้นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ได้ตอบโต้ปากีสถานด้วยกิจกรรมในลักษณะเดียวกัน โดยริเริ่มในปี 2020 ที่กำหนดให้วันที่ 22 ตุลาคมของทุกปีเป็นวัน Black Day เพื่อที่จะชี้ว่าปากีสถานใช้กำลังสนับสนุนกลุ่มกองกำลังชาวปาทานรุกเข้ามาในแคชเมียร์...