“ส.ว.ประพันธุ์”โพสต์มติของรัฐสภาในญัตติการเสนอชื่อ “ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เป็นนายกฯ ซ้ำกับญัตติเดิม ขัดต่อข้อบังคับการประชุมข้อ ที่ 41 นั้น ถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โหวตนายก โหวตนายกฯ
สมาชิกวุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ภายหลังการประชุมรัฐสภาครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เพื่อพิจารณาญัตติการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้เป็นบุคคลที่สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเรื่องในญัตติเดิมที่รัฐสภาเคยพิจารณาและลงมติไปแล้ว ในการประชุมรัฐสภาครั้งที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 นั้น โดยที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบไม่มากกว่ากึ่งหนึ่ง จึงถือว่า นายพิธาฯ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม...
จากกรณีดังกล่าว ได้ปรากฏว่ามีนักกฎหมายบางท่าน ผู้ตั้งตนเป็นปรมาจารย์บางคน นักวิชาการหิวแสง ออกมาให้ความเห็นทำนองว่า "การพิจารณาตีความตามข้อบังคับ และมีมติเช่นนั้นของสมาชิกรัฐสภา ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่าเป็นการตีความข้อบังคับมาพิจารณาให้มีผลเหนือกว่ารัฐธรรมนูญ และเสนอให้ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย" ไปโน้นเลย เพื่อให้ท้ายพวกแพ้ญัตติแล้วไม่ยอมแพ้ ดึงดันดื้อด้านจะเสนอชื่อ นายพิธา...
ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อบังคับเป็นกฎที่มีรายละเอียดและวิธีปฎิบัติขยายสิ่งที่รัฐธรรมนูญไม่สามารถกำหนดรายละเอียดได้ เพราะตัวกฎหมายรัฐธรรมนูญสามารถกำหนดและบัญญัติได้แต่เฉพาะหลักการสำคัญๆ เท่านั้น จึงมิได้บัญญัติให้รายละเอียดและวิธีปฎิบัติ เพื่อให้หลักการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สามารถปฎิบัติให้เกิดผลนั้นได้ ต้องถูกบรรจุไว้ในการตราข้อบังคับการประชุมของสมาชิกรัฐสภา ดังจะปรากฏในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังนี้
แต่นั่นย่อมหมายความแต่เพียงเฉพาะไม่ขัดต่อหลักการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เท่านั้น รายละเอียดและวิธีปฎิบัติทั้งหลายต้องยึดถือตามข้อบังคับ ซึ่งข้อเท็จจริงในการประชุมและการลงมติเมื่อ 19 ก.ค.2566 ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ จำต้องพิจารณารายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 157 วรรคสองยังบัญญัติให้นำบทที่ใช้บังคับแก่ทั้งสองสภามาใช้บังคับโดยอนุโลม ในการประชุมร่วมกันของทั้งสองสภาด้วย ซึ่งบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้อบังคับนี้ในบทที่บังคับแก่ทั้งสองสภา มีบัญญัติไว้ในมาตรา 128 วรรคหนึ่ง ว่า
รวมถึงเรื่องการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159,160 และมาตรา 272 รัฐธรรมนูญก็มิได้บัญญัติไว้เป็นรายละเอียดว่าให้ปฎิบัติอย่างไร คงให้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับที่รัฐสภาจะได้ตราขึ้น เป็นวิธีปฎิบัติเป็นสำคัญ จึงไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าให้เสนอขื่อบุคคลคนเดิมซ้ำกันกี่ครั้งก็ได้
มาตรา 160 รัฐมนตรีต้อง มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี ........... ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 .............. ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 หรือไม่ก็ได้ "
ไม่ว่าจะพิจารณาจากคำอธิบายความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ก็ให้ความหมายของคำว่า "ญัตติ" ว่าคือ "ข้อเสนอเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในกิจการของสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ หรือข้อเสนอเพื่อให้ลงมติ" ญัตติที่เสนอชื่อ นายพิธา ใหม่นี้ ก็ปรากฎข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่า เป็นการเสนอญัตติเดิมโดยไม่มีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงใดๆ ซึ่งหากพิจารณาในข้อเท็จจริงดังกล่าว ย่อมเป็นกรณีที่ประธานรัฐสภา ไม่สมควรบรรจุเป็นญัตติเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาด้วยซ้ำไป
"ญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ผู้รับรองญัตติแสดงการรับรองโดยวิธียกมือขึ้นพ้นศรีษะ เว้นแต่การรับรองการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามข้อ 136" จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะพิจารณาให้เห็นว่า การเสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกฯ มิใช่การเสนอญัตติให้ที่ประชุมสภาพิจารณามีมติ
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
“ประพันธุ์ คูณมี” แซะ “อีแอบ” ระวังรับฟังความเห็น ย้ำมติรัฐสภาห้ามเสนอชื่อ “พิธา” ซ้ำเห็นชอบด้วยรธน.นายประพันธู์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา โพสต์เฟสบุ๊กระบุข้อความว่า มติของรัฐสภาใน'ญัตติการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯ ซ้ำกับญัตติเดิม ขัดต่อข้อบังคับการประชุมข้อ.ที่ 41' นั้น ถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ภายหลังการประชุมรัฐสภาครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เพื่อพิจารณาญัตติการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้เป็นบุคคลที่สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเรื่องในญัตติเดิมที่รัฐสภาเคยพิจารณาและลงมติไปแล้ว ในการประชุมรัฐสภาครั้งที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 นั้น โดยที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบไม่มากกว่ากึ่งหนึ่ง จึงถือว่านายพิธาฯ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม
อ่านเพิ่มเติม »
'สว.ประพันธุ์' ชำแหละยิบ มติรัฐสภาห้ามเสนอชื่อ 'พิธา' ซ้ำ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่นายประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า มติของรัฐสภาใน'ญัตติการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯ ซ้ำกับญัตติเดิม ขัดต่อข้อบังคับการประชุม
อ่านเพิ่มเติม »
'สมาคมทนายความฯ' เผยเสนอชื่อ 'พิธา' เป็นนายกฯซ้ำได้ คาดไม่ขัดรธน.-ร้องต่อศาลได้ | เดลินิวส์“สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย” เผยเสนอชื่อ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เป็นนายกฯ ซ้ำได้ เหตุรัฐธรรมนูญมิได้จำกัดไว้ ย้ำสมาชิกรัฐสภามีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญกรณีญัตติดังกล่าวได้ เดลินิวส์ พิธา
อ่านเพิ่มเติม »
“วันนอร์” เปิดประชุมรัฐสภาโหวตนายกฯ รอบ 2 เพื่อไทยเสนอชื่อ “พิธา” ส.ส.รวมไทยสร้างชาติลุกท้วงขัดข้อบังคับ 41'วันนอร์' เปิดประชุมรัฐสภาโหวตนายกฯ รอบ 2 เพื่อไทยเสนอชื่อ 'พิธา ลิ้มเจริญรัตน์' ส.ส.รวมไทยสร้างชาติลุกประท้วง ขัดข้อบังคับ 41
อ่านเพิ่มเติม »