ปธ.เฟดเซนต์หลุยส์หนุนขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมี.ค. หวังสกัดเงินเฟ้อ ธนาคารกลางสหรัฐ นโยบายการเงิน สหรัฐ อัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ เฟด อินโฟเควสท์
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐ ยังคงสนับสนุนให้คณะกรรมการเฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยล่าสุดนายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์กล่าวว่า เขาไม่ปฏิเสธว่าเขาจะสนับสนุนให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนมี.ค.นี้ แทนที่จะเป็นการปรับขึ้น 0.25% ตามที่เจ้าหน้าที่เฟดคนอื่น ๆ มองว่าเป็นระดับที่เหมาะสม
“ในภาพรวมนั้น ผมมองว่าการต่อสู้กับเงินเฟ้อจะต้องใช้เวลาที่ยาวนาน และมีความเป็นไปได้ว่าตลอดปี 2566 นี้ เฟดจะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อฉุดเงินเฟ้อให้ชะลอตัวลง” นายบูลลาร์ดกล่าวกับผู้สื่อข่าวในวันพฤหัสบดี หลังจากเข้าร่วมงานเสวนาซึ่งจัดขึ้นที่หอการค้าเกรทเทอร์ แจ็กสัน ในรัฐเทนเนสซี พร้อมกับกล่าวว่า เขาต้องการให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดปรับตัวขึ้นจนถึงระดับ 5.
นอกจากนี้ นายบูลลาร์ดยังยอมรับว่า ในการประชุมเมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา เขาเสนอให้คณะกรรมการเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% โดยเขาเชื่อว่าการเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เงินเฟ้อชะลอตัวลง แม้จะทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอลงด้วยก็ตาม ด้านนางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์กล่าวว่า ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐยังคงอยู่ในระดับสูงเกินไป พร้อมกับเปิดเผยว่า ในการประชุมครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา เธอเป็นผู้เสนอให้คณะกรรมการเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่เจ้าหน้าที่เฟดคนอื่น ๆ ต้องการ
“เฟดได้ดำเนินการอย่างเหมาะสมแล้ว ในการปรับเปลี่ยนนโยบายจากเดิมที่มีการผ่อนปรนอย่างมาก มาเป็นการคุมเข้มนโยบายการเงิน แต่ดิฉันเชื่อว่าเฟดยังต้องดำเนินการอีกมาก เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจในขณะนี้ไม่ได้ทำให้มุมมองของดิฉันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ว่า เฟดควรจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงระดับสูงกว่า 5% และตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า เงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน”ในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 1 ก.พ.
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
แบงก์ชาติฟิลิปปินส์ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 6% ตามคาด : อินโฟเควสท์ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 6% ในการประชุมวันนี้ (16 ก.พ.) เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดย BSP เริ่มต้นวงจรคุมเข้มทางการเงินตั้งแต่ปีที่ผ่านมาและจนถึงขณะนี้ปรับขึ้นดอกเบี้ยรวมทั้งหมด 4% แล้ว เงินเฟ้อของฟิลิปปินส์พุ่งแตะ 8.7% ในเดือนม.ค. ซึ่งเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2551 เนื่องจากต้นทุนที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค และอาหารที่พุ่งสูงขึ้น ขณะที่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของ BSP อยู่ที่ 2% – 4 % ด้านประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ของฟิลิปปินส์ได้เห็นชอบให้นำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้น เช่น น้ำตาลและหัวหอมใหญ่ ท่ามกลางปัญหาขาดแคลนอุปทานภายในประเทศ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (16 ก.พ. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
'ชัชชาติ' ลั่นเดินหน้าปรับโหมด กทม.สู่ยุค EV เล็งเปลี่ยนรถเมล์-รถขยะ ลดมลภาวะ-ฝุ่น PM2.5 : อินโฟเควสท์นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงเรื่องรถโดยสารสาธารณะไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ว่า กทม. มีญัตติเรื่องการเปลี่ยนรถโดยสารสาธารณะ เป็นรถโดยสาร EV อย่างไรก็ดี ยังต้องมีการรับฟังความเห็นหลายๆ ด้าน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องของสภา แต่ในฐานะที่กทม. เป็นผู้ให้ความเห็น อาจต้องให้ความเห็นกับสำนักกฎหมายว่ามีอำนาจหรือไม่ โดยมีพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้อง ทั้งพ.ร.บ.ของกทม., พ.ร.บ.มลภาวะ และพ.ร.บ.ขนส่ง ซึ่งขณะนี้บรรจุในวาระแล้ว แต่ยังไม่เข้าพิจารณา ทั้งนี้ ในเรื่องการแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในระยะยาว คือการลดการใช้รถโดยสารที่ปล่อยมลภาวะ แต่สุดท้ายต้องดูว่าอำนาจการควบคุมอยู่ที่ใคร อย่างประเทศอังกฤษ เมืองลอนดอน มีอำนาจควบคุมรถเข้าเมืองว่ามีมลภาวะเท่าไร ถ้ามาตรฐานต่ำก็มีการเก็บเงิน อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาการกำหนดเรื่องมลพิษต่างๆ ของไทย เป็นหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน้าที่ของตำรวจในการกำหนดค่าไอเสีย “เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่เราจะคำนึงถึงการแก้ปัญหาระยะยาว สุดท้ายต้องกำจัดฝุ่นที่แหล่งกำเนิด และการแก้ปัญหาเรื่อง PM 2.5 จะทำแค่หน่วยงานเดียวไม่ได้ ต้องเป็นวาระแห่งชาติ ร่วมมือกันหลายหน่วยงาน เพราะประเทศไทยมีการแบ่งอำนาจหลายส่วน ไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จที่เมือง” ผู้ว่าฯ กทม. กล่าว […]
อ่านเพิ่มเติม »
สำนักงบประมาณคองเกรสเตือนสหรัฐจ่อผิดนัดชำระหนี้เดือนก.ค.-ก.ย.ปีนี้ : อินโฟเควสท์สำนักงานงบประมาณแห่งสภาคองเกรสสหรัฐ (CBO) เตือนว่า กระทรวงการคลังสหรัฐอาจจะไม่สามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้ในช่วงเดือนก.ค.-ก.ย.ปีนี้ นอกเสียจากว่ากระทรวงการคลังจะสามารถตกลงกับสภาคองเกรสเพื่ออนุมัติการปรับเพิ่มเพดานหนี้หรือยกเลิกเพดานหนี้ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์ CBO เปิดเผยรายงานควบคู่กับรายงานแนวโน้มงบประมาณประจำปีในวันพุธ (15 ก.พ.) ระบุว่า CBO มีความกังวลว่าการผิดนัดชำระหนี้ครั้งประวัติศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐอาจจะเกิดขึ้นก่อนเดือนก.ค.ปีนี้ หากรายได้ที่ไหลเข้าสู่กระทรวงการคลังในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นเดือนที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะต้องยื่นแบบชำระภาษีประจำปีนั้น อยู่ต่ำกว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ เมื่อพิจารณาจากขนาดของรายได้ที่กำลังจะได้รับ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนแอลงในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ทำให้เป็นเรื่องยากที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐจะสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำว่ากระทรวงการคลังจะเริ่มผิดนัดชำระหนี้หลายรายการเมื่อใด “หากไม่มีการปรับเพิ่มเพดานหนี้หรือยกเลิกเพดานหนี้ก่อนที่มาตรการพิเศษจะหมดอายุ รัฐบาลก็จะไม่สามารถชำระหนี้ตามภาระผูกพันได้ทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลจำเป็นต้องเลื่อนการจ่ายงบประมาณสำหรับกิจกรรมบางอย่าง และนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้” CBO ระบุในรายงาน นอกจากนี้ CBO ระบุว่า ยอดขาดดุลงบประมาณประจำปีของรัฐบาลสหรัฐโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปี 2567- 2576 ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวอาจจะส่งผลให้สมาชิกพรรครีพับลิกันเรียกร้องให้รัฐบาลปรับลดการใช้จ่าย ขณะเดียวกัน CBO คาดว่าอัตราว่างงานในปี 2566 จะอยู่ที่ 4.7% ซึ่งสูงกว่าระดับปัจจุบันที่ 3.4% โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (16 ก.พ. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
จีนเผยจำนวนผู้โดยสารเครื่องบินเดือนม.ค.พุ่ง 34.8% หลังยกเลิกคุมโควิด : อินโฟเควสท์สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีรายงานโดยอ้างข้อมูลจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน (CAAC) ว่า จำนวนผู้โดยสารเครื่องบินของจีนในเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 34.8% เมื่อเทียบรายปี หลังยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์ (zero-COVID policy) รายงานยังระบุด้วยว่า จีนกลับมาให้บริการเที่ยวบินโดยสารกับอีก 58 ประเทศนับตั้งแต่เปิดพรมแดนในวันที่ 8 ม.ค. สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีรายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีสายการบินจีนและสายการบินต่างชาติทั้งหมด 98 สายการบินให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ 795 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 65% จากสัปดาห์ก่อนที่จีนจะยกเลิกข้อกำหนดกักตัวนักเดินทางขาเข้า สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า จีนถือเป็นตลาดการท่องเที่ยวขาออกที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อนจะเกิดโควิด-19 ที่ทำให้การเดินทางทั่วโลกหยุดชะงัก โดยนักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายเงินรวมประมาณ 2.55 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2562 CAAC ระบุว่า จำนวนผู้โดยสารเครื่องบินในช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีน 7 ม.ค.- 15 ก.พ. เพิ่มขึ้น 39% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ด้านเจ้าหน้าที่ CAAC กล่าวว่า การเดินทางทางอากาศฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในเดือนม.ค. โดยได้แรงหนุนจากความต้องการเดินทางระหว่างเมืองต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลตรุษจีน เช่น ปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้, กว่างโจว, เซินเจิ้น และแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างซานย่าบนเกาะไหหลำ […]
อ่านเพิ่มเติม »
เงินเฟ้ออังกฤษลดลงติดต่อกันเดือนที่ 3 สู่ 10.1% ในม.ค. : อินโฟเควสท์สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยในวันนี้ (15 ก.พ.) ว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อของอังกฤษ ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ในเดือนม.ค. สู่ระดับ 10.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ แต่ราคาอาหารและพลังงานที่อยู่ในระดับสูงยังคงสร้างแรงกดดันต่อภาคครัวเรือนอังกฤษอย่างต่อเนื่อง นักเศรษฐศาสตร์ในผลสำรวจที่จัดทำโดยสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI จะลดลงแตะ 10.3% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังลดลงแตะ 10.5% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยดัชนี CPI ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่แตะระดับสูงสุดในรอบ 41 ปีที่ 11.1% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ด้านดัชนี CPI พื้นฐาน หรือ Core CPI ซึ่งไม่รวมราคาอาหาร พลังงาน แอลกอฮอร์ หรือยาสูบ อยู่ที่ 5.3% ในเดือนม.ค. เทียบกับ 5.8% ในเดือนธ.ค. โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (15 […]
อ่านเพิ่มเติม »