ปท.ส่วนใหญ่ใน EU คัดค้านการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเครือข่ายสื่อสารจากบิ๊กเทค EU โทรคมนาคม อินโฟเควสท์
ประเทศในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่ปฏิเสธการผลักดันของผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของยุโรปในการบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่หรือบิ๊กเทคต้องช่วยเหลือด้านเงินทุนในการเปิดตัวเครือข่าย 5G และบรอดแบนด์ในภูมิภาคยุโรป
แหล่งข่าวเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า รัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมจาก 18 ประเทศปฏิเสธหรือวิจารณ์การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเครือข่ายของบริษัทเทคโนโลยีในการประชุมกับนายเทียร์รี เบรตัน หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรปในลักเซมเบิร์กเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดอยซ์เทเลคอม, ออเรนจ์, เทเลโฟนิกา และเทเลคอม อิตาเลียเป็นบริษัทด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของยุโรปที่ต้องการให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่หรือบิ๊กเทค ร่วมรับผิดชอบต้นทุนในการดูแลรักษาและขยายโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายสื่อสาร
อย่างไรก็ตาม กูเกิลซึ่งเป็นของอัลฟาเบท, แอปเปิ้ล, เมตา แพลตฟอร์ม, เน็ตฟลิกซ์, อะเมซอน.คอม และไมโครซอฟท์ คอร์ป ได้ปฏิเสธแนวคิดในการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว โดยระบุว่า พวกเขาได้ทำการลงทุนในระบบนิเวศดิจิทัล
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
EU แนะอังกฤษร่วมข้อตกลงการค้ายุโรป เลี่ยงภาษีศุลกากรหลังเบร็กซิต : อินโฟเควสท์เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหภาพยุโรป (EU) แนะอังกฤษควรเข้าร่วมในข้อตกลงการค้าขายสินค้าทั่วยุโรป เพื่อจำกัดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมรถยนต์ของอังกฤษ ผลจากภาษีศุลกากรหลังการเบร็กซิต (Brexit) แทนที่จะแสวงหาแนวทางในการชะลอการเก็บภาษี นับตั้งแต่เดือนม.ค. 2567 เป็นต้นไป รถยนต์ไฟฟ้าที่จัดส่งระหว่างอังกฤษและ EU จำเป็นต้องมีชิ้นส่วนประกอบรถยนต์อย่างน้อย 45% ที่มาจากทั้งสองภูมิภาค มิเช่นนั้นจะถูกเรียกเก็บภาษีศุลกากร 10% ภายใต้ “กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ที่ถูกกำหนดไว้ในข้อตกลงการค้าภายหลังการเบร็กซิต ขณะที่เกณฑ์ข้อจำกัดดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเป็น 60% สำหรับแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของมูลค่าของรถยนต์ไฟฟ้า และเป็นปัญหาอย่างยิ่ง เนื่องจากอังกฤษและ EU ยังคงนำเข้าแบตเตอรี่จำนวนมากจากจีน เกาหลีใต้ หรือญี่ปุ่น ทั้งนี้ อังกฤษต้องการให้ EU ชะลอการเก็บภาษีจนถึงปี 2570 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ทั้งในอังกฤษและ EU ซึ่งได้ออกมาเตือนว่าพวกเขาไม่อาจปฏิบัติตาม “กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า” ได้ทัน ภายในเดือนม.ค.ปีหน้า เนื่องจากขีดความสามารถในการผลิตแบตเตอรี่ในยุโรปไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่อาวุโสของ EU 2 คน ระบุว่า พวกเขาสนับสนุนให้อังกฤษลงนามในข้อตกลงที่มีอยู่แล้วในกลุ่มประเทศยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ อีกกว่า 20 ประเทศ ซึ่งถือว่าสินค้าที่ประกอบในประเทศหนึ่ง […]
อ่านเพิ่มเติม »
‘สันติ’ลั่น เวลานี้ยังไม่ใช่เวลา ‘รัฐบาลแห่งชาติ’ | เดลินิวส์‘สันติ’ ชี้ ปท.ไทยยังไม่มีอะไรวิกฤติ ไม่ใช่เวลารัฐบาลแห่งชาติ ปัด พปชร. รอส้มหล่น ยันไม่มีแน่นอน สันติ พปชร รัฐบาลเเห่งชาติ เดลินิวส์
อ่านเพิ่มเติม »
“สันติ” ลั่น ไม่ใช่เวลาตั้ง ”รัฐบาลแห่งชาติ” เหตุ ปท.ไม่วิกฤติ ชี้ เรื่องบ้านเมืองไม่มีส้มหล่น“สันติ” ลั่น ไม่ใช่เวลาตั้ง ”รัฐบาลแห่งชาติ” เหตุ ปท.ไม่วิกฤติ ชี้ เรื่องบ้านเมืองไม่มีส้มหล่น siamrath สยามรัฐ siamrathonline สยามรัฐออนไลน์ ข่าววันนี้ ข่าวการเมือง การเมือง สันติ รัฐบาลแห่งชาติ ส้มหล่น
อ่านเพิ่มเติม »
ฮุนเซนค้านนโยบายก้าวไกล ส่งแรงงานกลับ ปท.-ชี้หัวหน้าพรรคชนะเลือกตั้งใช่ว่าจะได้เป็นนายกฯ'ฮุนเซน' ค้านนโยบายแรงงานต่างด้าวพรรคก้าวไกล เชื่อหากส่งกลับประเทศส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย-เพื่อนบ้านแน่ ชี้การเมืองไทย หัวหน้าพรรคชนะเลือกตั้ง ใช่ว่าจะได้เป็นนายกฯ แต่เป็นพรรคที่ได้เสียงเกิน 376 เสียง
อ่านเพิ่มเติม »
'บิ๊กตู่'บอกคนเป็นนายกฯห่วงบ้านเมืองทุกวัน ฉุนคนกดดันเก็บของออกทำเนียบฯ : อินโฟเควสท์พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ห่วงอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ว่า เป็นห่วงทุกวัน บ้านเมืองน่าเป็นห่วงทุกวันไหมเล่า นายกฯต้องเป็นห่วงบ้านเมืองทุกวันไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต้องห่วงทุกวัน ต้องมีความพร้อมในการทำงานให้ประเทศและประชาชนปลอดภัยแข็งแรง ก็เท่านั้นแหละหน้าที่นายกฯ เมื่อถามว่า มองอย่างไรมีคนกดดันให้นายกฯเก็บของออกจากทำเนียบรัฐบาล นายกฯ กล่าวว่า ไม่ได้มอง มองว่าเขาไม่ได้คิด ไม่เข้าใจอะไรมั้ง เมื่อถามว่าการกดดันแบบนี้ทำได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คิดเอาเอง โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (03 มิ.ย. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
นักวิเคราะห์ชี้ เศรษฐกิจเวียดนามยังไม่ถึงจุดต่ำสุด : อินโฟเควสท์หนังสือพิมพ์เวียดนามนิวส์ รายงานวันนี้ (2 มิ.ย.) ว่า เศรษฐกิจเวียดนามยังไม่ตกต่ำถึงขีดสุด แม้ว่าจะมีการออกมาตรการกระตุ้นมากมายเพื่อผลักดันความเชื่อมั่นทางธุรกิจก็ตาม สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนามระบุว่า ยอดการส่งออกของเวียดนามในเดือนพ.ค.ปรับตัวลดลง 5.86% เมื่อเทียบรายปี แม้จะหดตัวน้อยกว่าระดับ 17.2% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี ก็ตาม นักวิเคราะห์ระบุว่า การส่งออกของเวียดนามซบเซาลงนับตั้งแต่เดือนพ.ย. โดยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงช่วงสั้น ๆ เมื่อเดือนก.พ. เนื่องจากดีมานด์จากต่างประเทศที่อ่อนแอลง ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องออกมาตรการสนับสนุนอย่างเร่งด่วน ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ระบุในรายงานว่า “ไม่มีสัญญาณชัดเจนที่บ่งชี้ว่าเวียดนามถึงจุดต่ำสุดแล้ว ท่ามกลางอุปสรรคขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่หนักหน่วงขึ้น” และเสริมว่า “แน่นอนว่า ข้อมูลเศรษฐกิจภายนอกประเทศที่ซบเซายังคงเป็นความเสี่ยงด้านลบที่ใหญ่ที่สุดต่อการเติบโต” ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ยอดเกินดุลการค้าของเวียดนามกับสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ลดลง 22% สู่ระดับ 3.12 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 5 เดือนแรกเมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่ร่วงลงอย่างหนัก ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์, อาหารทะเล, เสื้อผ้า, รองเท้า และสมาร์ตโฟน ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นตัวสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดให้กับเวียดนาม ขณะเดียวกัน การนำเข้าของเวียดนามทรุดลง 18.4% ในเดือนพ.ค. ตอกย้ำแนวโน้มขาลงตลอดช่วง […]
อ่านเพิ่มเติม »