กบน.อัดเงินอุดหนุนดีเซลเพิ่มอีก 3.11 บาทเป็น 9.61 บาท/ลิตร กองทุนฯ วิกฤติ หวังรัฐนำงบฯ มาอุดหนุน หากยังใช้นโยบายดีเซลไม่เกิน 30 บาท นักวิชาการหนุนภาครัฐดูแลพลังงาน แนะไม่ควรขึ้นราคาแอลพีจี ด้าน กกพ.วอนร่วมประหยัดพลังงานลดผลกระทบแอลเอ็นจีราคาแพง
กรุงเทพฯ 8 มี.ค.- กบน.อัดเงินอุดหนุนดีเซลเพิ่มอีก 3.11 บาท เป็น 9.61 บาท/ลิตร กองทุนฯ วิกฤติ หวังรัฐนำงบฯ มาอุดหนุน หากยังใช้นโยบายดีเซลไม่เกิน 30 บาท นักวิชาการหนุนภาครัฐดูแลพลังงาน แนะไม่ควรขึ้นราคาแอลพีจี ด้าน กกพ.วอนร่วมประหยัดพลังงานลดผลกระทบแอลเอ็นจีราคาแพง
รายงานข่าว จากกระทรวงพลังงานแจ้งว่าหนึ่งในแนวทางหารือรือคือจะแก้ไขกฎหมายกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้กู้ยืมเงินได้เพิ่มขึ้น จากขณะนี้แก้ไขไป 1 รอบ ให้กู้เกิน 2 หมื่น เป็น 3 หมื่นล้านบาท โดยจะแก้ในส่วนมาตรา 26 ให้กองทุนมีเงินอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อรวมกับเงินกู้แล้วจะไม่จำกัดแค่ 4 หมื่นล้านบาท และกระทรวงฯจะขอหารือว่า เมื่อสถานการณ์ราคาเกินคาดหมายและถือว่าเป็นวิกฤติ เพราะขณะนี้ราคาดีเซลขึ้นเกิน 5 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ต่อสัปดาห์ นอกจากกู้เพิ่มแล้ว จะขอให้ภาครัฐนำงบกลางมาสนับสนุน) ตามมาตรา 6...
วิกฤติรอบนี้ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบแตะ 130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากสถิติน้ำมันดิบตลาดโลกเคยสูงสุดปี 2551 ที่ 147 เหรียญต่อบาร์เรล ช่วงนั้นราคาดีเซลสิงคโปร์พุ่งสูงถึง 183 เหรียญ วานนี้ ราคาดีเซลแตะ 158 เหรียญ/บาร์เรลแล้ว คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มี รมว.พลังงาน จึงประชุมต่อเนื่อง วันนี้ กบน.ประชุมและมีมติอุดหนุนดีเซลเพิ่มเติม จากอุดหนุนแล้ว 6.50 บาท/ลิตร เป็น 9.
จึงเป็นที่มาที่ มาที่ ครม. 8 มี.ค.65 เห็นชอบให้ลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเป็นอัตราศูนย์สำหรับการนำเข้าดีเซลและน้ำมันเตาไปผลิตกระแสไฟฟ้า จากเดิมอัตราอยู่ที่ 3.44 บาทต่อลิตร และ 0.64 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ให้มีผลหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงวันที่ 15 กันยายน 2565 รวมระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงเวลาที่สถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกจะปรับตัวลง ช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลง นอกจากนี้ ครม.